Page 221 -
P. 221

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





                          มณีพฤกษ์ (Gem Forest) ที่ผันรายได้จากธุรกิจส่วนหนึ่งมาจัดการกับเรื่องสิ่งแวดล้อมโดยจัดสรร

                          กําไรส่วนหนึ่งจากการคั่วเมล็ดกาแฟมาจัดหาแร่ธาตุบํารุงดินแจกให้เกษตรกรเพื่อใช้ในการรักษา
                          ดินโดยตรง การให้ธาตุบํารุงดินเป็นช่องทางที่ชัดเจนและเห็นได้ว่าเงินที่ลงทุนจะลงไปที่ด้านการ

                          รักษาสิ่งแวดล้อมจริง หรือในธุรกิจกาแฟมีวนา ที่จัดสรรเงินจํานวนหนึ่งที่เรียกว่า Fair  Trade

                          Premium ให้กับชุมชน โดยชุมชนจะตัดสินใจว่าจะนําเงินจํานวนนี้ไปใช้อย่างไร เช่น กิจกรรม
                          ด้านสิ่งแวดล้อมหรือการพัฒนาชุมชนด้านอื่นๆ เช่น การศึกษา สวัสดิการผู้สูงอายุ

                       8.1.2.3 เงื่อนไขด้านสิ่งแวดล้อมกําหนดจากชุมชน
                       นอกจากเงื่อนไขที่เกิดจากระบบเกษตรและธุรกิจแล้ว เงื่อนไขที่ชุมชนเป็นผู้กําหนดเองก็มีความสําคัญ

               ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในพื้นที่ที่ผลตอบแทนต่อพื้นที่ยังไม่เพียงพอและมีวิธีการกระจาย

               ความเสี่ยงที่ค่อนข้างจํากัดทําให้เกษตรกรคิดว่าการขยายพื้นที่ปลูกยังเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ชุมชนที่มีความ
               เข้มแข็งอาจจะมีการกําหนดข้อตกลงต่างๆ ร่วมกันเพื่อสร้างเงื่อนไขให้เกิดความยั่งยืนในด้านต่างๆ โดยเฉพาะ

               ด้านสิ่งแวดล้อมขึ้น และร่วมกันบังคับใช้กฎดังกล่าวในชุมชน ตัวอย่างเครื่องมือที่ชุมชนนํามาใช้และส่งผล
               กระทบต่อความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม เช่น

                       1)  การจับพิกัดเพื่อแบ่งพื้นที่ป่า การจัดโซนนิ่งอย่างชัดเจนในพื้นที่ เช่น การจับพิกัดพื้นที่ป่าอนุรักษ์

                          ป่าใช้สอย และพื้นที่ทํากินอย่างชัดเจน ช่วยลดโอกาสการฉกฉวยผลประโยชน์จากความคลุมเครือ
                          เกษตรกรมีความมั่นใจกับการพัฒนาพื้นที่ถูกจัดให้เป็นพื้นที่ทํากิน การจับพิกัดเป็นเครื่องมือ

                          สําคัญในการลดความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่ที่คนอยู่กับป่า นอกจากนี้ การจับพิกัด

                       2)  บัญญัติท้องถิ่น การที่ชุมชนมีข้อกําหนดลักษณะการดูแลรักษาและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากร
                          ในพื้นที่ร่วมกันและมีบทลงโทษของชุมชนในกรณีที่มีผู้ฝ่าฝืนข้อกําหนดของท้องถิ่นไว้ จะช่วย

                          แก้ไขปัญหาของการบังคับใช้กฎหมายป่าไม้ในพื้นที่ที่มีความอ่อนไหวในเรื่องสิทธิถือครองดั้งเดิม
                          โดยในการออกบัญญัติท้องถิ่นจําเป็นต้องพึ่งพาอํานาจนิติบัญญัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

                          ที่มีอยู่เช่น สภาตําบล เทศบาล ปัจจุบันใน จ น่าน มีชุมชนที่ประสบความสําเร็จในการสร้าง

                          ข้อกําหนดหรือบัญญัติท้องถิ่น 22 ตําบล และข้อกําหนดท้องถิ่นในบางพื้นที่ได้รับการยอมรับว่ามี
                          ประสิทธิผลในการดูแลทรัพยากรป่าไม้อย่างแท้จริง เช่น พื้นที่ลุ่มน้ําน้ํามีด


                       รายละเอียดและความเชื่อมโยงระหว่างผลลัพธ์ที่ต้องการจากรูปแบบธุรกิจบนพื้นที่สูง หลักการ

               ดําเนินงานที่รูปแบบธุรกิจควรมีเพื่อสร้างความยั่งยืนทั้งด้านความเป็นอยู่และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนวิธีการต่างๆ

               ที่สามารถนํามาใช้ในการดําเนินหลักการดังกล่าว สามารถสรุปได้ดังรูปที่ 8.1














                                                           8-14
   216   217   218   219   220   221   222   223   224   225   226