Page 217 -
P. 217

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





                                 นอกจากนี้ ในบางกรณีแม้เกษตรพันธะสัญญาจะมาพร้อมกับการยืนยันการรับซื้อ

                          แน่นอน หากเกษตรกรไม่สามารถสร้างระบบตรวจสอบรับรองคุณภาพกันเองก่อนได้ และบริษัท
                          รับซื้อเป็นผู้ตรวจสอบคุณภาพแต่เพียงฝ่ายเดียว เกษตรกรจะขาดอํานาจการต่อรองในการวัด

                          คุณภาพสินค้าซึ่งอาจส่งผลต่อไปที่การโดนกดราคาเนื่องจากบริษัทรับซื้อระบุว่าสินค้าคุณภาพไม่

                          สูงพอ
                       8.1.1.3 การสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน

                       การสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนในที่นี้หมายความถึง การสร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกรมีความรู้และ
               ความพร้อมในการพัฒนาตนเองและสามารถรับมือกับปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น การสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนนี้

               สามารถทําได้ทั้งในระดับเกษตรกรรายย่อยและการสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มเกษตรกร ทั้งนี้ ระบบกลุ่ม

               เป็นความจําเป็นพื้นฐานที่เกษตรกรหรือชุมชนควรจะมีเพราะนอกจากจะช่วยเพิ่มอํานาจการต่อรอง ขยาย
               ตลาด ลดต้นทุนแล้วการรวมกลุ่มเป็นโครงสร้างรองรับที่เปิดโอกาสให้เกษตรกรรายย่อยสามารถเลือกใช้วิธีการ

               หรือเครื่องมืออื่นๆ เพื่อสร้างความยั่งยืนด้านความเป็นอยู่และสิ่งแวดล้อมในระยะยาว อย่างไรก็ตาม ในพื้นที่ที่
               การพัฒนากลุ่มเกษตรกรยังไม่ประสบความสําเร็จ การพัฒนาความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรรายย่อยก็เป็นสิ่ง

               สําคัญและจะเป็นจุดเริ่มต้นที่สําคัญที่ทําให้การรวมกลุ่มสําเร็จได้ การสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนสามารถทําได้

               หลายวิธีการ เช่น
                       1)  เสริมสร้างองค์ความรู้ให้เกษตรกร ผ่านการฝึกฝนอบรม การดูงาน การเป็นพี่เลี้ยงให้คําแนะนํา

                          เพื่อให้เกษตรกรมีความมั่นใจกับการแก้ปัญหาหรือตัดสินใจด้วยตนเอง มีการแลกเปลี่ยนความรู้

                          สร้างองค์ความรู้ของชุมชน เช่น เกษตรกรกลุ่มวิสาหกิจส่งออกป่ากลางส่วนใหญ่มีความมั่นใจมาก
                          ขึ้นในการแก้ปัญหา เนื่องจากกลุ่มมีระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูล สร้างองค์ความรู้ร่วมกันผ่าน

                          การประชุม เข้าอบรมและดูงาน
                       2)  ส่งเสริมการรวมกลุ่มของเกษตรกร โดยสามารถส่งเสริมได้ในหลายรูปแบบ เช่น

                       -  การส่งเสริมให้เกษตรกรรวมกลุ่มเองโดยเกษตรกรจะเป็นผู้ดําเนินการเองทุกขั้นตอนตั้งแต่ผลิต

                          จนถึงการขาย มีเกษตรกรในพื้นที่เป็นผู้นําเป็นหัวหน้ากลุ่มที่ทําหน้าที่ในการหาตลาดเอง ดูแล
                          ด้านการรวบรวมปริมาณ การตรวจสอบคุณภาพ รูปแบบธุรกิจที่จะเข้าไปในชุมชนต้องส่งเสริม

                          ความเข้มแข็งของกลุ่ม เช่น การสนับสนุนองค์ความรู้และให้คําปรึกษา การติดต่อประสานกับ
                          ตัวแทนกลุ่ม ไม่แยกทําเป็นรายเกษตรกร นอกจากนี้ เนื่องจากการรวมกลุ่มของเกษตรกรมีพลวัต

                          การเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จากการรวมกลุ่มเป็นกลุ่มวิสาหกิจขนาดใหญ่ ก็อาจแยกขยาย

                          ออกไปเป็นกลุ่มย่อยที่อาจเน้นเรื่องการพัฒนาคุณภาพมากขึ้น การหาวิธีการส่งเสริมการทํางาน
                          ของกลุ่มต้องคํานึงถึงวิวัฒนาการของกลุ่มและความเข้มแข็งของกลุ่มที่มีอยู่เดิมเพื่อให้การ

                          ช่วยเหลือหรือการช่วยแก้ข้อจํากัดทําได้ทุกจุด

                       -  เข้ามามีบทบาทเป็นผู้นําให้เกิดการรวมกลุ่ม เช่น ธุรกิจสนับสนุนบุคลากรเข้ามาดําเนินงานใน
                          ลักษณะผู้นําในการรวบรวมสินค้า วางแผนบริหารจัดการกลุ่ม รวมถึงการจัดสรรโควต้าการผลิต

                          ซึ่งจะเห็นตัวอย่างได้ชัดจากกรณีพื้นที่โครงการขยายผลฯ บ้านโป่งคํา บ้านแม่จริม และบ้านถ้ํา


                                                           8-10
   212   213   214   215   216   217   218   219   220   221   222