Page 213 -
P. 213
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
การลดต้นทุนที่เกิดจากการขนส่งระยะไกลอาจทําได้ด้วยการเจาะตลาดท้องถิ่น เช่น
โรงเรียน หรือหน่วยราชการ หรือโรงแรม อย่างไรก็ดี ประเด็นการความเข้มแข็งของกลุ่มเพื่อให้ได้
ปริมาณขายที่สม่ําเสมอจะเป็นปัจจัยสําคัญ
3) การเจาะตลาดที่ให้คุณค่ากับสินค้าจากพื้นที่อ่อนไหวหรือพื้นที่ที่มีความพิเศษทางนิเวศ เกษตรกร
สามารถเลือกผลิตสินค้าและขายให้กับลูกค้าที่ให้คุณค่ากับสินค้าที่มาจากพื้นที่อ่อนไหวหรือพื้นที่
ที่มีความเฉพาะเจาะจงทางนิเวศ โดยมีจุดขายสําคัญคือเรื่องราวเฉพาะที่เกิดขึ้นกับพื้นที่หรือ
ภูมิศาสตร์นั้น และคุณค่าของการเลือกแนวทางการเกษตรที่เอื้อกับการรักษาสิ่งแวดล้อม โดย
ตลาดที่ให้ความสําคัญกับพื้นที่หรือนิเวศในลักษณะนี้มีส่วนช่วยทําให้เกษตรกรรายย่อยมีรายได้
เพียงพอจากการผลิตในพื้นที่ขนาดเล็ก
ตัวอย่างเช่น ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาแนวทางที่เรียกว่า landscape labeling ซึ่งเป็น
การต่อยอดและผสมผสานแนวคิดการจ่ายเงินค่าตอบแทนบริการระบบนิเวศ (Payment for
ecosystem services, PES) ระบบการติดฉลาก (Labeling) และสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
(Geographical identification, GI) เข้าด้วยกัน เพื่อให้เหมาะกับการนําไปใช้ในพื้นที่ที่
ความสําคัญเชิงนิเวศและเกษตรกรที่เกี่ยวข้องเป็นเกษตรกรรายย่อย โดยกลไก Landscape
labeling สามารถแก้ไขข้อจํากัดเดิมของ PES ที่เน้นไปที่การทําสัญญากับเจ้าของที่ดินรายใหญ่
เป็นรายๆ ไป ทําให้ PES ไม่สามารถแก้ปัญหาความยากจนในชุมชนได้ ในขณะที่ Landscape
labeling เน้นการดําเนินการผ่านองค์กรชุมชน สมาชิกทุกคนในชุมชนมีสิทธิ์เข้าร่วม เงิน
ค่าตอบแทนจะได้จากการให้บริการเชิงนิเวศและสินค้าที่ผลิตจากชุมชน และจ่ายค่าตอบแทนผ่าน
สถาบันชุมชน ใช้แนวทางการตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานจากภายในชุมชนเอง หรือ ระบบ
Participatory Guarantee System หรือ PGS ในปัจจุบัน มีการทดลองใช้แนวทางนี้กับ
เกษตรกรรายย่อยในบางพื้นที่ของประเทศเคนยาและแทนซาเนียเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในทาง
ปฏิบัติ โดยเริ่มจากขั้นตอนการให้ความรู้เกี่ยวกับหลักการ landscape labeling การวิเคราะห์
ตลาด การสร้างศักยภาพเกษตรกร การกําหนดมาตรฐานสินค้า การออกแบบฉลากเฉพาะของ
พื้นที่ การพัฒนาแผนธุรกิจ ตลอดจนการทดลองตลาด
บทเรียนสําคัญที่ได้จากการทดลอง (pilot) คือ แม้ Landscape labeling น่าจะ
สามารถสร้าง price premium ได้ในระยะยาวแต่ก็ไม่แน่นอน และต้องการต้นทุนในการเริ่ม
ก่อตั้งและความพยายามของเกษตรกรสูง แม้จะมีองค์กรภายนอกสนับสนุนทุนตั้งต้นให้ระดับหนึ่ง
แต่การที่เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่ได้มีเงินลงทุนมากนัก ทําให้เกษตรกรมุ่งหวังผลตอบแทนอย่าง
รวดเร็วจากการทํา landscape labeling จุดนี้จึงเป็นความท้าทายอย่างมากของการดําเนิน
แนวทางนี้ การพยายามให้เกษตรกรตระหนักถึงประโยชน์ทางอ้อมที่เกิดขึ้นในระยะสั้นจากการทํา
landscape labeling จึงมีความสําคัญ เช่น วิธีการนี้สามารถเชื่อมคนในชุมชนที่มีความเกี่ยวข้อง
ในสายห่วงโซ่การผลิตนําไปสู่โอกาสในการลดต้นทุนและแลกเปลี่ยนความรู้ในดําเนินการผลิตให้มี
ประสิทธิภาพมากขึ้น ต้นทุนต่ําลง landscape labeling ยังเปิดโอกาสให้สินค้าหรือบริการที่
8-6