Page 209 -
P. 209

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





                                                                                     137
               จะยิ่งนําไปสู่ผลลัพธ์ที่เกิดความเสียหายต่อทั้ง 2 ประเด็น (Loss-Loss  Outcomes) โดยเฉพาะในขอบเขต
               การศึกษาพื้นที่สูงในงานวิจัยฉบับนี้ที่เน้นที่พื้นที่ป่าไม้ที่มีการบุกรุกเพื่อปลูกพืชไร่เชิงเดี่ยวและต้องการกลไก
               หรือการพัฒนาทางการตลาดในการแก้ปัญหาโดยให้ความสําคัญเป็นพิเศษกับผลลัพธ์ในแง่ของการปรับปรุง

               การใช้พื้นที่และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และลดปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้จากการปลูกพืชไร่เชิงเดี่ยว

               ดังนั้นการสนับสนุนให้เกิดความยั่งยืนทั้งด้านความเป็นอยู่และด้านนิเวศควบคู่กันไปจึงถือเป็นบรรทัดฐานของ
               การทําธุรกิจเกษตรบนพื้นที่สูงตามขอบเขตงานวิจัยฉบับนี้

                       8.1.1  ความยั่งยืนด้านความเป็นอยู่ (Livelihood sustainability)
                       ในการสร้างยั่งยืนด้านความเป็นอยู่ให้เกษตรกร รูปแบบธุรกิจในพื้นที่ต้องสามารถตอบโจทย์เกษตรกร

               ได้ทั้งในเชิงเศรษฐกิจและสังคม โดยหลักการการดําเนินธุรกิจที่จะสร้างความยั่งยืนด้านนี้ได้คือ 1)  การสร้าง

               ผลตอบแทนต่อไร่ให้สูงพอเพื่อให้เกษตรกรสามารถอยู่ได้โดยไม่ต้องเน้นการผลิตที่ให้ผลผลิตปริมาณมาก 2)
               การลดภาระการแบกรับความเสี่ยงของราคาผลผลิตและความเสี่ยงจากตลาดที่ไม่แน่นอน เพื่อนําไปสู่การ

               สะสมทุนและลดโอกาสการติดกับหนี้สิน และ 3)  การสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรมี
               ศักยภาพที่จะพัฒนาและมีความเข้มแข็งที่จะเผชิญหน้ากับปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต โดยการสร้าง

               ความเข้มแข็งนี้เกิดขึ้นได้ทั้งทั้งในแง่ของเกษตรกรรายย่อยและกลุ่มเกษตรกร การรวมกลุ่มเกษตรกรเป็น

               พื้นฐานเชิงโครงสร้างสําคัญที่นําไปสู่การขยายตลาด เพิ่มอํานาจต่อรอง ลดต้นทุน สร้างองค์ความรู้และ
               ความสามารถในการแก้ปัญหา และการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน รูปแบบธุรกิจที่เหมาะสมต้องไม่ทําลาย

               หรือทําให้เกษตรกรหรือกลุ่มอ่อนแอลง รายละเอียดวิธีการหรือแนวทางที่จะช่วยให้ธุรกิจสามารถยึดถือใน

               หลักการทั้ง 3 ข้างต้นมีดังต่อไปนี้
                       8.1.1.1 การสร้างผลตอบแทนต่อไร่ในระดับที่สูงมากพอ

                       การสร้างผลต่อแทนต่อไร่ในระดับที่สูงพอหรืออีกนัยหนึ่งคือ การพยายามรักษาส่วนต่างระหว่างรายได้
               และต้นทุนต่อพื้นที่ให้มากที่สุดเพื่อให้เกษตรกรอยู่ได้โดยไม่ต้องเน้นการผลิตในปริมาณมาก มีรายได้เพียงพอใน

               พื้นที่ขนาดเล็ก และมองเห็นความเป็นไปได้ของการออกจากวงจรการปลูกพืชไร่เชิงเดี่ยวโดยไม่ต้องพยายาม

               ขยายพื้นที่ทํากินของตนเองด้วยการบุกรุกพื้นที่ป่า
                       เครื่องมือในการสร้างผลตอบแทนต่อพื้นที่ให้สูงพอมี 4  แนวทาง คือ 1)  การสร้างอํานาจต่อรอง

               เกษตรกรให้เพิ่มขึ้น 2) การเลือกพืช เทคโนโลยี หรือวิธีการเพาะปลูกที่ลดให้ต้นทุนต่ําลง 3) การหาตลาดที่ให้
               คุณค่าเฉพาะกับพื้นที่นั้นด้วยเห็นความสําคัญของการเป็นพื้นที่เปราะบางหรือพื้นที่ที่มีคุณค่าทางนิเวศสูง และ

               4) แปรรูปสินค้าที่มีคุณสมบัติเอื้อต่อการแปรรูป 5) การให้แหล่งน้ําให้เกษตรกร

                       1)  การสร้างอํานาจต่อรองการสร้างอํานาจต่อรองสามารถทําได้ผ่านกลไกต่างๆ ได้หลายวิธี เช่น
                       -  การรวมกลุ่มเกษตรกรกลุ่มเกษตรกรสามารถเกิดได้ในหลายรูปแบบ เช่น กลุ่มวิสาหกิจชุมชน

                          กลุ่มสหกรณ์ หรือกลุ่มเกษตรกรรายย่อย โดยการรวมกลุ่มเกษตรกรจะมีบทบาทในหลายด้าน

                          เช่น ทําให้ผลผลิตมีปริมาณมากขึ้นซึ่งจะทําให้กลุ่มมีอํานาจการต่อรองกับพ่อค้าคนกลางมากกว่า



               137
                  Pongkijvorasin and Talerngsri-Teerasuwannajak, 2014
                                                           8-2
   204   205   206   207   208   209   210   211   212   213   214