Page 206 -
P. 206

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





                       3)  กลุ่มเกษตรกรบางกลุ่มที่อาจจะตั้งขึ้นมาใหม่เพื่อให้การดําเนินงานตอบสนองความต้องการบาง

                          ด้านที่กลุ่มเดิมไม่สามารถดําเนินการให้ได้ เช่น การจัดตั้งกลุ่มเพื่อการกระจายผลประโยชน์ในบาง
                          ลักษณะให้ตรงตามที่สมาชิกต้องการ

                       โดยพัฒนาการและการเกิดกลุ่มใหม่อาจจะเกิดได้ในหลายรูปแบบ เช่น ในบางพื้นที่อาจจะเริ่มจาก

               กลุ่มสหกรณ์และวิสาหกิจชุมชนและเมื่อผลผลิตของเกษตรกรมีปริมาณมากขึ้นแล้วจึงมีกลุ่มใหม่เกิดขึ้นเพื่อ
               ขายผลผลิตที่เหมือนหรือต่างจากกลุ่มสหกรณ์และวิสาหกิจที่มีอยู่เดิม โดยกลุ่มใหม่ที่เกิดขึ้นมักจะเป็นการ

               ดําเนินงานโดยการรับซื้อผลผลิตโดยเกษตรกรในพื้นที่ที่มองเห็นช่องว่างของตลาดและมีลู่ทางในการขาย
               เพิ่มเติมจากกลุ่มเดิม ในขณะที่ในบางพื้นที่อาจจะเริ่มจากกลุ่มการรับซื้อของเกษตรกรหรือคนในพื้นที่บางคน

               และเมื่อเกษตรกรเริ่มมีการผลิตมากขึ้นจึงมีการรวมกลุ่มในรูปของสหกรณ์หรือวิสาหกิจชุมชนในภายหลัง

                       ทั้งนี้ ในพื้นที่ที่เกิดกลุ่มเกษตรกรขึ้นมากกว่า 1 กลุ่ม และ/หรือมากกว่า 1 ลักษณะ จะทําให้รูปแบบ
               ธุรกิจและความสัมพันธ์ระหว่างผู้เล่นต่างๆ มีความซับซ้อนมากขึ้น โดยมีข้อดีคือเกิดการแข่งขันในพื้นที่ทําให้

               โดยส่วนใหญ่แล้วเกษตรกรจะได้รับประโยชน์จากการแข่งขันผ่านราคารับซื้อผลผลิตที่เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้
               การเกิดกลุ่มที่เพิ่มขึ้นหมายความว่ามีกําลังการรับซื้อที่เพิ่มขึ้น ทําให้เกษตรกรเกิดความมั่นใจว่าจะขายผลผลิต

               ได้เพิ่มขึ้นด้วยทั้งนี้ กลุ่มใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นมักจะต้องหาตลาดใหม่ของตนเอง ซึ่งอาจจะเป็นสินค้าที่มีความ

               แตกต่างจากกลุ่มเดิมหรือสินค้าที่เหมือนกับกลุ่มเดิม โดยจะมีส่วนในการกระจายความเสี่ยงมากขึ้นในระดับ
               ชุมชน นอกจากนี้ ในบางพื้นที่พบว่า เกษตรกรหนึ่งรายสามารถเป็นสมาชิกและขายผลผลิตให้กับกลุ่มได้

               มากกว่า 1 กลุ่ม ซึ่งก็จะเป็นกลไกหนึ่งที่ทําให้เกษตรกรกระจายความเสี่ยงในระดับครัวเรือนได้ด้วย

                       อย่างไรก็ตาม การแข่งขันระหว่างกลุ่มที่เพิ่มขึ้นก็มีข้อเสียในบางด้าน เช่น การแข่งขันที่เกิดขึ้นอาจจะ
               ทําให้กลุ่มเดิมนั้นอ่อนแอลงและประสบปัญหาในการดําเนินงานมากขึ้น โดยเฉพาะในกรณีที่กลุ่มใหม่ไม่มีการ

               คํานึงถึงสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างเพียงพอ อาจจะทําให้สามารถตัดราคารับซื้อจากกลุ่มอื่นๆ และทําให้กลุ่มที่
               ดําเนินการโดยคํานึงถึงสังคมและสิ่งแวดล้อมอ่อนแอลงได้ ดังนั้นการส่งเสริมการแข่งขันระหว่างกลุ่มในพื้นที่

               จะต้องคํานึงถึงประเด็นความเข้มแข็งทางสังคมและสิ่งแวดล้อมของชุมชนในพื้นที่ด้วย ไม่ใช่คํานึงถึงแต่

               ประเด็นทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว โดยจะต้องส่งเสริมการแข่งขันที่เป็นธรรมและมีความยั่งยืนต่อทั้ง
               เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม นอกจากการปัญหาในการดําเนินงานของกลุ่มที่คํานึงถึงสิ่งแวดล้อมและ

               สังคมแล้ว ยังอาจจะเกิดปัญหาในด้านการรักษาคุณภาพและชื่อเสียงของผลผลิต เนื่องจากกลุ่มต่างๆ อาจจะมี
               ระดับมาตรฐานคุณภาพสินค้าและการตรวจสอบที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ในบางกรณี การเกิดกลุ่มใหม่อาจจะ

               ทําให้เกิดข้อขัดแย้งในชุมชนขึ้นได้ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีการใช้ทรัพยากรบางอย่างของหมู่บ้านร่วมกัน เช่น

               ถนน ไฟฟ้า ป่าไม้ ในขณะที่แต่ละกลุ่มอาจจะมีแนวทางการใช้ทรัพยากรที่แตกต่างกันไป ทั้งนี้ ในการแก้ปัญหา
               ดังกล่าวต้องมีการตั้งกฎระเบียบรวมที่บังคับใช้กับทุกกลุ่มในพื้นที่ อาจจะเป็นในลักษณะของกฎหมู่บ้านหรือ

               บัญญัติท้องถิ่น เป็นต้น

                       โดยสรุปแล้ว พัฒนาการเติบโตของกลุ่ม การเกิดกลุ่มใหม่ในแต่ละพื้นที่นับเป็นเหตุการณ์และ
               วิวัฒนาการตามปกติ การเกิดกลุ่มใหม่เกิดได้ในหลายลักษณะและจะมีส่วนช่วยในการแข่งขันในพื้นที่เพิ่มสูงขึ้น

               ซึ่งเป็นผลดีต่อเกษตรกรรายย่อย อย่างไรก็ตาม รัฐควรเข้ามามีบทบาทสนับสนุนให้การแข่งขันระหว่างกลุ่ม


                                                           7-12
   201   202   203   204   205   206   207   208   209   210   211