Page 203 -
P. 203
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
สําหรับเกษตรกรที่ขายผลผลิตให้กับพ่อค้าในลักษณะกลุ่มย่อยในพื้นที่หรือหมู่บ้านตนเอง (พบใน
หมู่บ้านสันเจริญ) พบว่า จะได้รับความช่วยเหลือมากในด้านการตลาด (ร้อยละ 75) รองลงมาได้แก่ เงินปันผล
(ร้อยละ 50) และความรู้ (ร้อยละ 38) ในขณะที่เกษตรกรต้องการความช่วยเหลือด้านการต่อรองราคา (ร้อยละ
63) การปรับปรุงคุณภาพและการแปรรูป (ร้อยละ 25) และความรู้ (ร้อยละ 25) ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่ากลุ่มซื้อ
ผลผลิตรายย่อยในพื้นที่มีรูปแบบการดําเนินงานคล้ายกับวิสาหกิจชุมชน คือเกษตรกรรู้สึกมั่นใจในด้าน
การตลาดว่าสามารถขายผลผลิตได้แน่นอน มีการให้เงินปันผล แต่ไม่ได้ให้ความสําคัญกับการให้ความรู้มากนัก
เมื่อเทียบกับลักษณะกลุ่มแบบอื่นๆ แต่ปัญหาที่เกษตรกรเผชิญคือเรื่องราคาผลผลิต สะท้อนให้เห็นได้จาก
ความช่วยเหลือที่เกษตรกรต้องการในด้านการต่อรองราคา
100%
90%
80% 75%
70% 63%
60% 50%
50%
40% 38%
30% 25% 25% 25% 25% 25% 25%
20% 13% 13%
10% 0% 0% 0% 0%0% 0% 0% 0% 0% 0%
0%
ต่อรองราคา หาตลาด ปรับปรุงคุณภาพ/… ตรวจสอบคุณภาพ ปัจจัยการผลิต ขนส่ง การจัดการดิน/น้ํา ความรู้ สินเชื่อและเงินทุน เงินปันผล อื่นๆ
ความช่วยเหลือที่ได้รับ ความช่วยเหลือที่ต้องการ
รูปที่ 7.5 ความช่วยเหลือที่เกษตรกรได้รับและต้องการ (กลุ่มพ่อค้ารายย่อยในพื้นที่)
โดยสรุป เมื่อพิจารณาตามลักษณะของการรวมกลุ่มเกษตรกรพบว่า การรวมกลุ่มแบบวิสาหกิจชุมชน
โครงการขยายผลฯ และกลุ่มกิจการเพื่อสังคม มีการดําเนินงานช่วยเหลือและบทบาทความสําคัญในประเด็น
ใกล้เคียงกัน ได้แก่ การให้ความรู้และการหาตลาด ในขณะที่กลุ่มพ่อค้าเอกชนในพื้นที่จะให้ความช่วยเหลือ
เกษตรกรได้มากในประเด็นการหาตลาดและการให้เงินปันผล และให้ความสําคัญกับการให้ความรู้น้อยลงไป
และเมื่อพิจารณาจากสิ่งที่เกษตรกรต้องการแล้วพบว่าเกษตรกรในทุกลักษณะการรวมกลุ่มต้องการความ
ช่วยเหลือในด้านองค์ความรู้ เกษตรกรในวิสาหกิจชุมชนและพ่อค้ากลุ่มย่อยต้องการการต่อรองราคาเพิ่มขึ้น
ในขณะที่เกษตรกรในโครงการขยายผลฯ ต้องการการหาตลาด นอกจากนี้ เกษตรกรในโครงการขยายผลฯ
เป็นกลุ่มที่ให้ความสําคัญกับการจัดการดิน/น้ําเนื่องจากมีความสําคัญในการทําเกษตรผสมผสานซึ่งได้รับการ
สนับสนุนจากโครงการฯ
7-9