Page 198 -
P. 198
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
2) การดําเนินงานในลักษณะของภาคเอกชน โดยผู้นํากลุ่มอาจจะเป็นเกษตรกรในพื้นที่ ในกรณีนี้
สมาชิกเกษตรกรในกลุ่มจะทําหน้าที่เพียงแค่ผลิตผลผลิตและส่งให้กับผู้นําหรือคนที่ทําหน้าที่
รวบรวมและขาย (อาจจะมีการแปรรูปด้วย) การรวมกลุ่มระหว่างเกษตรกรอาจจะเป็นไปใน
ลักษณะไม่เป็นทางการ คือเกษตรกรจะรู้ว่าตนเองจะต้องขายสินค้าให้กับใคร และกลุ่มก็มักจะมี
รูปแบบในการแบ่งปันผลประโยชน์คืนให้กับสมาชิก เช่น การให้เงินปันผล การรับซื้อสมาชิกใน
ราคาที่สูงกว่า หรือการขายปัจจัยการผลิตให้ในราคาที่ต่ํากว่า แม้ว่าในทางทฤษฎีแล้วกลุ่มใน
ลักษณะนี้จะเหมือนกับการมีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อผลผลิตในพื้นที่ แต่ในทางปฏิบัติกลุ่มจะมี
ลักษณะการดําเนินงานคล้ายกับสหกรณ์มากกว่า กล่าวคือเกษตรกรรู้ชัดเจนว่าจะขายผลผลิต
อย่างไร และมีการแบ่งปันผลประโยชน์ให้กับสมาชิกมากกว่าการขายผ่านพ่อค้า แต่มีความ
แตกต่างตรงที่คนที่เป็นผู้นําเป็นเหมือนภาคเอกชนทําหน้าที่ตัดสินใจและกําหนดทิศทางในการ
ผลิตและการขาย โดยส่วนใหญ่กลุ่มลักษณะนี้จะมีความเอื้อเฟื้อและแบ่งปันผลประโยชน์ให้กับ
สมาชิกในกลุ่มมากว่าพ่อค้ารับซื้อแบบดั้งเดิม แต่น้อยกว่ากลุ่มในรูปของวิสาหกิจ แต่เกษตรกรก็
จะไม่ต้องกังวลกับการทําหน้าที่บริหารจัดการกลุ่มเลย เนื่องจากมีผู้นํามาบริหารจัดการการ
ดําเนินงานของกลุ่มโดยเฉพาะแทน (แบบที่ 2 ในรูปที่ 7.1)
ทั้งนี้ การช่วยเหลือจากองค์กรหรือหน่วยงานภายนอกในการจัดตั้งกลุ่มก็สามารถเกิดได้ในทั้ง 2
รูปแบบ คือหน่วยงานอาจจะสนับสนุนให้ชาวบ้านจัดตั้งกลุ่มหรือสหกรณ์ซึ่งดําเนินงานกันเองโดยหน่วยงานแค่
สนับสนุนองค์ความรู้และให้คําปรึกษา หรืออาจจะสนับสนุนบุคลากรและเข้ามาช่วยจัดการและดําเนินงานโดย
ทําหน้าที่เหมือนผู้นําก็ได้ โดยให้สมาชิกเกษตรกรมีหน้าที่ผลิตตามที่วางแผนไว้อย่างเดียวโดยไม่ต้องมีส่วนร่วม
ในการตัดสินใจหรือในด้านการบริหารจัดการกลุ่มมากนัก ทั้งนี้ การสนับสนุนช่วยเหลือจะต้องคํานึงถึงความ
พร้อมของทั้งชุมชนและหน่วยงานที่เข้ามาช่วยเหลือว่าสามารถมีบทบาทในส่วนใดได้บ้าง (แบบที่ 3 ในรูปที่
7.1)
7-4