Page 197 -
P. 197

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





               ช่วยเหลือให้กับเกษตรกรในกลุ่ม บางกลุ่มอาจจะมีการให้เงินปันผลด้วยเช่นกัน และมีส่วนอย่างมากในการ

               สร้างการแข่งขันทางราคาในพื้นที่ทําให้ราคารับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรเพิ่มสูงขึ้นและมีความผันผวนน้อยลง
               ทั้งนี้ เกษตรกรบางรายจะขายให้กลุ่มย่อยของตนอย่างเดียว ในขณะที่บางรายจะแบ่งสินค้าส่วนหนึ่งขายให้กับ

               กลุ่มวิสาหกิจและขายอีกส่วนให้กับกลุ่มย่อย

                       ในขณะที่บ้านมณีพฤกษ์มีผู้รับซื้อเอกชนทั้งที่รับซื้อและขายต่อให้พ่อค้าอื่น (ในลักษณะดั้งเดิม) และที่
               รับซื้อและแปรรูปเอง โดยมีลักษณะการดําเนินงานคล้ายกับวิสาหกิจเพื่อสังคมมากกว่าธุรกิจแสวงหากําไร และ

               มีบทบาทหลักในการสร้างเสถียรภาพทางราคาและปริมาณการรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกร สนับสนุนเกษตรกร
               ให้ลดการใช้สารเคมี และเพิ่มการใช้สารบํารุงดินที่ถูกต้องและรักษาสภาพสิ่งแวดล้อม โดยให้การสนับสนุน

               โดยตรงกับเกษตรกร ซึ่งก็เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่า ภาคธุรกิจสามารถเข้ามามีบทบาทในการพัฒนา

               รูปแบบธุรกิจได้แตกต่างกันออกไป มีความยืดหยุ่นในการดําเนินงานตามลักษณะผลผลิตและเกษตรกรที่
               แตกต่างกัน และเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่สําคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรหากมีการสนับสนุน

               ส่งเสริม และดูแลอย่างเหมาะสม
                       ทั้งนี้จะเห็นได้ว่า การรวมกลุ่มเกษตรกรอยู่ในรูปแบบที่หลากหลาย และแม้ว่าจะอยู่ภายใต้รูปแบบ

               หรือชื่อเดียวกันก็ยังมีบทบาทและการดําเนินงานที่แตกต่างกันไปตามลักษณะของผลผลิตและความต้องการ

               ของเกษตรกร ในหลายพื้นที่ การดําเนินงานของภาคธุรกิจหรือพ่อค้ารายย่อยอย่างเหมาะสมก็สามารถเข้ามามี
               บทบาทสําคัญในการพัฒนาความเป็นอยู่ของเกษตรกรในพื้นที่ได้เช่นกัน และในบางกรณียังเป็นจุดตั้งต้นที่

               สําคัญที่ทําให้เกิดการพัฒนารูปแบบธุรกิจแบบอื่นๆ ตามมาในภายหลัง ดังนั้น การสนับสนุนการรวมกลุ่มของ

               เกษตรกรควรให้ความสําคัญกับโครงสร้างและบทบาทของกลุ่มมากกว่าที่จะเน้นไปที่การรวมกลุ่มลักษณะใด
               ลักษณะหนึ่งเป็นพิเศษ

                       7.1.2  การวิเคราะห์โครงสร้างกลุ่ม
                       ทั้งนี้ หากพิจารณาโครงสร้างของการรวมกลุ่ม สามารถแบ่งโครงสร้างของกลุ่มได้เป็น 2 รูปแบบหลัก

               ได้แก่

                       1)  การรวมกลุ่มและดําเนินการโดยชาวบ้านเองทั้งหมด เช่น การดําเนินงานในรูปแบบของวิสาหกิจ
                          ชุมชน หรือสหกรณ์ เป็นต้น การรวมกลุ่มในลักษณะนี้ เกษตรกรจะดําเนินงานเองในเกือบทุก

                          ขั้นตอน ตั้งแต่การปลูกและดูแลผลผลิต การเก็บเกี่ยว รวมไปถึงการติดต่อตลาดและการขาย โดย
                          ส่วนใหญ่แล้วเกษตรกรจะมีตัวแทนที่ทําหน้าที่เป็นหัวหน้ากลุ่มและติดต่อตลาด (อาจจะเป็นคนละ

                          คนกันก็ได้) การรวมกลุ่มในลักษณะนี้มีข้อดีคือเกษตรกรจะได้เรียนรู้และมีความเข้มแข็งมาก

                          เนื่องจากเกษตรกรมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน เกษตรกรมีส่วนร่วมในการกําหนดทิศทางผลผลิตและ
                          การขายของกลุ่มอย่างเต็มที่ มีส่วนร่วมในการตรวจสอบและการกระจายผลตอบแทน อย่างไรก็

                          ตาม การที่เกษตรกรต้องมีส่วนร่วมมากเช่นนี้ก็เป็นจุดอ่อนของการรวมกลุ่มในลักษณะนี้เช่นกัน

                          เนื่องจากเกษตรกรโดยส่วนใหญ่มักจะขาดทักษะในการบริหารจัดการ ทักษะในด้านการตลาด
                          รวมทั้งไม่มีเวลาที่จะดําเนินงานในด้านการตลาด ทําให้การรวมกลุ่มในลักษณะนี้เกิดขึ้นได้ยาก

                          (แบบที่ 1 ในรูปที่ 7.1)


                                                           7-3
   192   193   194   195   196   197   198   199   200   201   202