Page 195 -
P. 195
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
บทที่ 7
การเปรียบเทียบลักษณะการรวมกลุ่ม
จากเนื้อหาในบทที่ 6 ที่ได้แสดงการเปรียบเทียบและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่าง
ของรูปแบบธุรกิจแบบต่างๆ ทั้งในแง่ของผลต่อตัวแปรความยั่งยืน ความเห็นเกษตรกรต่อความช่วยเหลือ ข้อดี
ข้อจํากัดและองค์ประกอบที่จําเป็น และการพัฒนารูปแบบธุรกิจแบบต่างๆ โดยผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า
การรวมกลุ่มของเกษตรกรมีความสําคัญค่อนข้างมาก ทั้งในแง่ของการช่วยลดต้นทุน การเพิ่มปริมาณผลผลิต
ให้สามารถหาตลาดได้ง่ายขึ้น และเป็นพื้นฐานที่สําคัญในการพัฒนาต่อยอดไปยังรูปแบบธุรกิจอื่นๆ ที่มีการ
ดําเนินงานที่หลากหลายและพัฒนามากขึ้น เช่น การพัฒนาคุณภาพผลผลิตและการแปรรูปเป็นสินค้าอื่น
อย่างไรก็ตาม การรวมกลุ่มของเกษตรกรต้องการองค์ประกอบที่จําเป็นที่มากขึ้นกว่ารูปแบบธุรกิจแบบดั้งเดิม
มาก ทั้งในแง่ของทักษะและแรงงานที่ต้องเข้ามาดําเนินการบริหารจัดการกลุ่ม การจัดการและกลไกในการ
แบ่งปันผลประโยชน์ให้สมาชิกในกลุ่ม
ทั้งนี้ จากการลงพื้นที่พบว่า การรวมกลุ่มของเกษตรกรสามารถเกิดขึ้นได้ในหลายรูปแบบ เช่น
วิสาหกิจชุมชน สหกรณ์ การรวมกลุ่มที่เกิดจากพ่อค้าเอง การรวมกลุ่มภายใต้การสนับสนุนของหน่วยงาน
ภายนอกหรือธุรกิจ คําถามที่น่าสนใจต่อมาก็คือ การรวมกลุ่มแบบต่างๆ เหล่านี้มีความแตกต่างกันหรือไม่
อย่างไร และภาครัฐควรจะมีทิศทางและบทบาทในการสนับสนุนหรือส่งเสริมการรวมกลุ่มอย่างไร
เนื้อหาในบทที่ 7 นี้จะอธิบายและเปรียบเทียบลักษณะการรวมกลุ่มของเกษตรกรในแบบต่างๆ
ประกอบด้วยรายละเอียดได้แก่
1) ลักษณะการรวมกลุ่มแบบต่างๆ และการวิเคราะห์โครงสร้างของกลุ่ม ซึ่งความเข้าใจลักษณะ
ดังกล่าวนี้จะทําให้หน่วยงานภายนอกสามารถกําหนดแนวทางหรือรูปแบบในการให้ความ
ช่วยเหลือและสนับสนุนการดําเนินงานในพื้นที่อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับความพร้อมของพื้นที่
(7.1)
2) ความเห็นของเกษตรกรต่อความช่วยเหลือที่ได้รับภายใต้การรวมกลุ่มแบบต่างๆ และความ
ช่วยเหลือที่ต้องการได้รับเพิ่มเติมแบ่งตามการรวมกลุ่มแบบต่างๆ เพื่อแสดงให้เห็นถึงบทบาทใน
ปัจจุบันและช่องว่างในการดําเนินงานของกลุ่มแต่ละรูปแบบได้ (7.2)
3) วิวัฒนาการการพัฒนากลุ่มที่พบในพื้นที่ศึกษา ซึ่งอาจจะมีได้หลายแบบเช่นกัน โดยผลลัพธ์ใน
ส่วนนี้จะแสดงให้เห็นถึงสาเหตุ ลักษณะ ข้อดี และข้อเสียของการเกิดกลุ่มใหม่ในพื้นที่ และ
เชื่อมโยงถึงบทบาทของภาครัฐและหน่วยงานภายนอกในการเข้ามามีส่วนร่วมกํากับและส่งเสริม
การแข่งขันระหว่างกลุ่มหรือผู้เล่นต่างๆ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในพื้นที่ได้ (7.3)
7.1 ลักษณะการรวมกลุ่มของเกษตรกร
7.1.1 การรวมกลุ่มของเกษตรกร
7-1