Page 190 -
P. 190

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





               พัฒนาคุณภาพมักจะประสบปัญหาในการบริหารจัดการและการจัดสรรการผลิตระหว่างสมาชิกในกลุ่ม โดย

               เกษตรกรในกลุ่มคุณภาพจะมีความเสี่ยงที่ผลผลิตไม่ผ่านเกณฑ์ที่ผู้รับซื้อกําหนดไว้และต้องมีระบบและกลไกใน
               การจัดการผลผลิตที่ไม่ผ่านเกณฑ์ดังกล่าว นอกจากนี้ ในบางพื้นที่มีปริมาณการรับซื้อมีน้อยกว่าปริมาณที่

               เกษตรกรสามารถผลิตได้ ทําให้ต้องมีการจัดสรรการผลิตกันอย่างเหมาะสมเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาความขัดแย้ง

               ระหว่างสมาชิกของกลุ่ม
                       ในส่วนของกลุ่มที่มีการแปรรูปผลผลิตมีบทบาทหลักในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิต และสามารถ

               ขายผลผลิตของตนเองได้ในตลาดที่หลากหลาย มีช่องทางในการรับความเสี่ยงจากตลาดสินค้าประเภทต่างๆ
               มากขึ้น แม้ว่าโดยส่วนใหญ่เกษตรกรยังคงประสบปัญหาความผันผวนของราคาสินค้าปลายทาง แต่จะสามารถ

               จัดการได้ดีขึ้นเนื่องจากสินค้าสามารถเก็บรักษาได้นานขึ้นและมีช่องทางในการขายสินค้าที่หลากหลายมากขึ้น

               อย่างไรก็ตาม การแปรรูปจะต้องการการลงทุน องค์ความรู้ และแรงงานในการดําเนินการที่สูงกว่าการพัฒนา
               คุณภาพด้วยเช่นกัน

                       ทั้งนี้ แม้ว่ารูปแบบธุรกิจการเกษตรแบบต่างๆ จะมีจุดเด่นและข้อจํากัดแตกต่างกันไป แต่รูปแบบ
               ธุรกิจทั้งหมดไม่สามารถแก้ปัญหาความเสี่ยงในแง่ของปริมาณผลผลิตที่สามารถขายได้ของเกษตรกรได้เลย

               เนื่องจากไม่มีระบบธุรกิจใดที่เข้าไปรับความเสี่ยงปริมาณผลผลิตแทนเกษตรกรได้ ในปัจจุบัน รัฐบาลเข้ามามี

               บทบาทในการช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงดังกล่าวผ่านนโยบายช่วยเหลือเกษตรกรในกรณีที่เกิดภัยพิบัติ
               เช่น ผลผลิตเสียหายจากลมพายุ หรือภัยแล้ง แต่นโยบายดังกล่าวก็ยังมีข้อจํากัดในทางปฏิบัติหลายด้าน เช่น

               การช่วยเหลือเฉพาะเกษตรกรที่ลงทะเบียนไว้ ในขณะที่เกษตรกรในพื้นที่สูงส่วนใหญ่ไม่มีเอกสารสิทธิ์จึงไม่มี

               สิทธิ์ในการลงทะเบียนเกษตรกรอย่างครบถ้วน และเงื่อนไขการให้เงินชดเชยที่จะสามารถจ่ายได้เฉพาะในกรณี
               ที่มีการประกาศภัยพิบัติ ในขณะที่การเกิดภัยธรรมชาติบางลักษณะ เช่น วาตภัยซึ่งทําให้พืชผลมีตําหนิเสียหาย

               จนไม่สามารถขายในราคาทั่วไปได้ เกษตรกรจําเป็นต้องขายในราคาสินค้าตกเกรดเท่านั้น แต่เนื่องจากต้นไม้ไม่
               หักโค่นจึงไม่ถือว่าอยู่ในข่ายของภัยพิบัติ ทั้งนี้ การดําเนินงานของรัฐในการช่วยบริหารความเสี่ยงด้านผลผลิต

               ของเกษตรกรมีความสําคัญมากและต้องดําเนินการด้วยความระมัดระวังและโปร่งใส และคํานึงถึงข้อจํากัดที่มี

               ต่อเกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่สูงด้วย


               ตารางที่ 6.18 เปรียบเทียบผลได้ของรูปแบบธุรกิจการเกษตรต่างๆ
                                                         1        2       3        4        5       6

                                ผลได้                  ดั้งเดิม   พันธะ  รวมกลุ่ม  กลุ่ม  กลุ่ม    กลุ่ม
                                                               สัญญา            คุณภาพ  แปรรูป  คุณภาพ
                                                                                                  แปรรูป

                เศรษฐกิจ     มีโอกาสได้ราคารับซื้อสูงกว่า  -     n/a      -        /        /       //
                             ตลาดทั่วไป
                             รู้ราคาผลผลิตล่วงหน้า       -       //       -        /        -       /

                             ราคารับซื้อผลผลิตมีความผัน  -        /       -        /       //       //

                             ผวนน้อย

                                                           6-50
   185   186   187   188   189   190   191   192   193   194   195