Page 186 -
P. 186

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





                       3)  การพัฒนาการรวมกลุ่มเพื่อขายไปสู่กลุ่มเพื่อพัฒนาคุณภาพหรือแปรรูป ในขั้นตอนนี้ ความ

                          ช่วยเหลือและสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอกก็ยังคงมีความสําคัญแต่ในระดับที่น้อยกว่าในตอน
                          เริ่มต้นรวมกลุ่ม โดยกลุ่มจะต้องเลือกทิศทางในการพัฒนาที่เหมาะสม การพัฒนาคุณภาพ

                          จําเป็นต้องให้ความสําคัญกับการตลาดเป็นหลัก ในขณะที่การพัฒนาไปสู่การแปรรูปจะต้องให้

                          ความสําคัญกับองค์ความรู้ เทคโนโลยี เงินทุน และปัจจัยการผลิตที่เหมาะสมและเพียงพอ
                          เพิ่มเติมขึ้นมากจากการเข้าถึงตลาดด้วย โดยการพัฒนาทั้ง 2 แนวทางสามารถดําเนินงานได้ใน

                          หลายลักษณะ เช่น อาจจะส่งเสริมให้เกษตรกรในพื้นที่ดําเนินงานกันเองในรูปแบบต่างๆ หรือการ
                          ส่งเสริมให้เกิดการจับคู่กันระหว่างกลุ่มเกษตรกรและตลาดที่ต้องการซื้อผลผลิต

                       4)  การพัฒนาต่อยอดจากกลุ่มพัฒนาคุณภาพหรือกลุ่มแปรรูปไปยังกลุ่มที่มีทั้งการพัฒนาคุณภาพ

                          และการแปรรูปจะต้องคํานึงถึงองค์ประกอบที่จําเป็นและความพร้อมของพื้นที่ โดยความ
                          ช่วยเหลือจากหน่วยงานภายนอกจะมีบทบาทน้อยลงกว่าใน 2 ขั้นแรกเนื่องจากกลุ่มเกษตรกร

                          มักจะมีความเข้มแข็งมากแล้ว ประเด็นที่หน่วยงานภายนอกอาจจะเข้าไปสนับสนุนการ
                          ดําเนินงานของกลุ่มเกษตรกรได้คือ การช่วยแนะนําความรู้และช่องทางในการขาย



               6.5 สรุป
                       จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลในลักษณะต่างๆ เพื่อแสดงให้เห็นถึงบทบาทของรูปแบบธุรกิจการเกษตรใน

               พื้นที่สูงที่มีต่อผลทางความยั่งยืนรวมทั้งข้อดี ข้อจํากัด องค์ประกอบ และแนวทางในการพัฒนารูปแบบธุรกิจ

               การเกษตรดังที่ได้แสดงข้างต้น สามารถสรุปประเด็นจากผลการศึกษาได้ดังนี้
                       ผลของรูปแบบธุรกิจต่อตัวแปรความยั่งยืน

                       การเปรียบเทียบผลของรูปแบบธุรกิจเกษตรที่มีต่อตัวแปรความยั่งยืนแสดงให้เห็นว่ารูปแบบธุรกิจที่
               แตกต่างกันไปส่งผลกระทบในลักษณะที่แตกต่างกัน โดยพบว่า

                       1)  เกษตรแบบพันธะสัญญาสามารถลดความเสี่ยงในด้านการผันผวนทางราคาและปริมาณให้กับ

                          เกษตรกรได้ค่อนข้างมาก เกษตรกรมีรายได้ต่อไร่สูงขึ้น แต่พบว่ามีอัตราการพึ่งพิง (หนี้สินต่อ
                          ต้นทุน) และหนี้สินโดยเฉพาะหนี้สินนอกระบบในลักษณะการกู้วัตถุดิบที่สูง และในด้าน

                          สิ่งแวดล้อมพบว่ามีการใช้สารเคมีและยาปราบศัตรูพืชในระดับที่สูงมากและแทบไม่มีการใช้ปุ๋ย
                          อินทรีย์เลย และมีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่ที่ดีขึ้นในระดับไม่สูงมากนัก

                       2)  การรวมกลุ่มเกษตรกรเพื่อขายผลผลิตมีส่วนช่วยในการสร้างความมั่นใจให้เกษตรกรในแง่ของการ

                          รู้ราคาผลผลิตล่วงหน้าหรือมีการกําหนดราคารับซื้อขั้นต่ํา โดยเกษตรกรมีบทบาทและส่วนร่วมใน
                          การดําเนินงานของกลุ่ม นอกจากนี้ กลุ่มมีบทบาทสําคัญในการกําหนดเงื่อนไขการดําเนินงานของ

                          เกษตรกรที่จะส่งผลต่อสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในกลุ่มที่ได้รับความช่วยเหลือจาก

                          ภายนอกอย่างมีเงื่อนไข เช่น การสนับสนุนของโครงการขยายผลฯ เป็นต้น
                       3)  การรวมกลุ่มที่มีการพัฒนาคุณภาพผลผลิตมีผลค่อนข้างมากทั้งในแง่การสร้างความมั่นใจให้

                          เกษตรกรในการตกลงราคาล่วงหน้าและบทบาทการช่วยเหลือในด้านต่างๆ เช่น ความรู้ การ


                                                           6-46
   181   182   183   184   185   186   187   188   189   190   191