Page 182 -
P. 182

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





                       2)  เกษตรกรสามารถขายสินค้าได้ราคาสูงกว่าผลผลิตโดยทั่วไป ราคามีความผันผวนน้อยลงเนื่องจาก

                          มีสินค้าทดแทนได้น้อย มีการคํานึงถึงสิ่งแวดล้อมและสังคม (ตามการพัฒนาคุณภาพ)
                       3)  ผลผลิตมีมูลค่าเพิ่มสูง และเกษตรกรสามารถเลือกขายสินค้าได้ในหลายลักษณะ ทําให้สามารถ

                          กระจายกลุ่มลูกค้าและความเสี่ยงไปได้ (แม้ว่าโดยส่วนใหญ่จะเน้นการขายสินค้าที่ผ่านการแปร

                          รูปขั้นสุดท้ายเพื่อให้ได้มูลค่าเพิ่มสูงที่สุด) และสามารถเก็บรักษาผลผลิตได้นาน ทําให้สามารถ
                          หลีกเลี่ยงการถูกกดราคาในบางช่วงและการแย่งกันขายของเกษตรกรได้ (ตามการแปรรูป)

                       อย่างไรก็ตาม การรวมกลุ่มเพื่อขายและพัฒนาคุณภาพและแปรรูปผลผลิต เกษตรกรยังคงประสบ
               ความเสี่ยงความเสียหายของผลผลิตในแต่ละปี โดยเฉพาะจากปรากฏการณ์ธรรมชาติหรือโรคระบาด

               นอกจากนี้ ในพื้นที่ที่มีกลุ่มแปรรูปหลายกลุ่ม อาจจะมีปัญหาเรื่องการรักษามาตรฐานคุณภาพที่ไม่เท่ากัน ทํา

               ให้กลุ่มที่รักษาคุณภาพดีอาจจะได้รับผลกระทบจากการที่กลุ่มอื่นไม่สามารถรักษาคุณภาพได้ นําไปสู่ความ
               ล้มเหลวในการรักษาคุณภาพของผลผลิตในภายหลัง

                       แม้ว่าการรวมกลุ่มขายโดยมีการพัฒนาคุณภาพและการแปรรูปผลผลิตจะมีข้อดีหลายอย่าง แต่ไม่
               จําเป็นว่าทุกพื้นที่จะต้องตั้งเป้าหมายในการรวมกลุ่มเพื่อพัฒนาคุณภาพและแปรรูปผลผลิต เนื่องจากการ

               ดําเนินงานดังกล่าวต้องมีองค์ประกอบหลายอย่างซึ่งอาจจะไม่ได้เหมาะสมกับในทุกพื้นที่ เช่น

                       1)  พืชที่ปลูกจะต้องสามารถให้ผลผลิตที่เป็นวัตถุดิบตั้งต้นของการแปรรูปได้ และเป็นพันธุ์ที่ดีหรือ
                          พิเศษที่เป็นที่ต้องการของตลาด มีความเหมาะสมหรือใช้จุดเด่นของสภาพพื้นที่ ภูมิประเทศ และ

                          ภูมิอากาศ เพื่อลดปัญหาแมลงศัตรูพืชและโรคพืช

                       2)  ต้องมีผู้นํากลุ่มที่มีความรู้ความสามารถในการกําหนดทิศทางและควบคุมการดําเนินงานของกลุ่ม
                          ให้เป็นไปตามที่ตั้งเป้าหมายไว้

                       3)  มีกลไกในการควบคุมคุณภาพของสินค้าอย่างชัดเจน และมีกลไกในการแบ่งแยกสินค้าของกลุ่มที่
                          มีคุณภาพสูงออกจากสินค้าที่มีคุณภาพทั่วไปในตลาด

                       4)  องค์ประกอบหรือบริบทของพื้นที่ที่มีความพิเศษหรือเป็นเอกลักษณ์มากพอที่จะทําให้สร้าง

                          เรื่องราวเฉพาะเพื่อให้ตอบสนองกับความต้องการของตลาดคุณภาพ
                       5)  ควรมีการแข่งขันระหว่างกลุ่มในพื้นที่ที่เห็นคุณค่าของการสร้างคุณภาพเหมือนกัน เนื่องจากการ

                          แข่งขันจะทําให้ราคารับซื้อที่เกษตรกรได้รับสูงขึ้น แต่หากเป็นการแข่งขันระหว่างกลุ่มที่ไม่ได้ให้
                          คุณค่ากับการสร้างคุณภาพหรือการพัฒนาชุมชนที่สูงเหมือนกัน การแข่งขันที่สูงอาจทําให้กลุ่มที่

                          เน้นคุณภาพสูงต้องออกจากตลาดไปและทําลายมาตรฐานคุณภาพสินค้า


               6.4 การพัฒนารูปแบบธุรกิจการเกษตร

                       ส่วนที่ 6.3 แสดงการเปรียบเทียบลักษณะ จุดเด่น ข้อจํากัด และองค์ประกอบที่สําคัญของรูปแบบ

               ธุรกิจแบบต่างๆ ในส่วนที่ 6.4 นี้จะแสดงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในการพัฒนารูปแบบธุรกิจการเกษตรใน
               ระดับพื้นที่โดยเน้นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นแบบพลวัตเพื่อแสดงให้เห็นถึงการพัฒนาที่เกิดขึ้นจริงในพื้นที่

               และเชื่อมโยงและประยุกต์เป็นต้นแบบหรือแนวทางการพัฒนาพื้นที่อื่นๆ ในอนาคต


                                                           6-42
   177   178   179   180   181   182   183   184   185   186   187