Page 187 -
P. 187
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ต่อรอง การเงิน การมีส่วนร่วมของเกษตรกร และส่งผลต่อตัวแปรความยั่งยืนในด้านต่างๆ โดย
เกษตรกรมีรายได้สุทธิต่อไร่สูงขึ้น และในด้านสิ่งแวดล้อมพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่ที่ดี
ขึ้น มีการใช้สารเคมีและยาปราบศัตรูพืชลดลงมาก
4) สําหรับกลุ่มที่นําโดยผู้ประกอบการที่มีลักษณะการดําเนินงานเพื่อสังคมพบว่า การตกลงราคา
และปริมาณรับซื้อล่วงหน้าทําให้เกษตรกรมีความมั่นใจมากขึ้น ในขณะที่การช่วยเหลือเกษตรกร
ในด้านต่างๆ เช่น ความรู้ การเงิน การมีส่วนร่วม การรับซื้อผลผลิตโดยให้ความสําคัญกับการดูแล
คุณภาพ มีผลทําให้เกษตรกรมีรายได้สุทธิต่อไร่สูงขึ้น มีสัดส่วนหนี้ต่ํา และมีการใช้สารเคมีกับยา
ปราบศัตรูพืชน้อยกว่าเกษตรกรที่ขายให้กับพ่อค้าทั่วไปในตลาดแบบดั้งเดิม
5) การดําเนินงานของกลุ่มย่อยที่เป็นคนในพื้นที่ซึ่งมีความผูกพันเชิงสังคมกับเกษตรกรส่งผลกระทบ
ต่อตัวแปรความยั่งยืนใกล้เคียงกับการดําเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน การส่งเสริมให้มีกลุ่ม
ย่อยที่เป็นคนในพื้นที่อาจจะเป็นรูปแบบหนึ่งในการพัฒนารูปแบบธุรกิจเมื่อผลผลิตในพื้นที่มี
จํานวนมากขึ้นเกินกว่าระดับที่เหมาะสมภายใต้การบริหารงานของวิสาหกิจ และเป็นแนวทางหนึ่ง
ในการส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันระหว่างผู้รับซื้อในพื้นที่และนําไปสู่ผลดีต่อเกษตรกรได้
ความช่วยเหลือที่เกษตรกรได้รับและต้องการ
ในภาพรวม ความช่วยเหลือที่เกษตรกรได้รับในปัจจุบันอยู่ในรูปแบบของการให้องค์ความรู้ การหา
ตลาด และการช่วยเหลือในด้านปัจจัยการผลิต ในขณะที่เกษตรกรยังคงต้องการความช่วยเหลือในด้านการ
ต่อรองราคา องค์ความรู้ และการหาตลาด ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าความช่วยเหลือด้านองค์ความรู้และการหาตลาด
เป็นประเด็นที่มีความสําคัญต่อเกษตรกรค่อนข้างมากและมีการช่วยเหลือจากรูปแบบและหน่วยงานต่างๆ อยู่
ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม การต่อรองราคาผลผลิตให้เกษตรกรได้รับราคาที่สูงขึ้นเป็นประเด็นที่เกษตรกรให้
ความสําคัญมากที่สุดในขณะที่การดําเนินงานในปัจจุบันยังไม่สามารถตอบโจทย์นี้มากนัก
เมื่อพิจารณาตามรูปแบบธุรกิจพบว่า การหาตลาด การต่อรองราคา เป็นประเด็นสําคัญที่เกษตรกร
ต้องการได้รับความช่วยเหลือทั้งในตลาดดั้งเดิม พันธะสัญญา และการรวมกลุ่มขายผลผลิต แสดงให้เห็นว่า
ปัญหาในด้านตลาดและอํานาจต่อรองของเกษตรกรมีความสําคัญในตลาดดังกล่าว การรวมกลุ่มขายผลผลิต
ยังคงไม่ได้แก้ปัญหาในด้านดังกล่าวมากนัก ในขณะที่กลุ่มคุณภาพ กลุ่มแปรรูป และกลุ่มแปรรูปคุณภาพพบว่า
มีบทบาทในด้านการหาตลาดที่เพียงพอ ทําให้เกษตรกรไม่รู้สึกว่าต้องการความช่วยเหลือในด้านตลาดเพิ่มเติม
มากนัก ทั้งนี้ผลผลิตที่มีคุณภาพและมีการแปรรูปจะมีตลาดของตนเองที่ชัดเจนมากขึ้นและเกษตรกรมักจะหา
ตลาดได้ก่อนจะทําการผลิตดังกล่าว (Demand-driven) ดังนั้นแม้ว่าประเด็นการตลาดจะมีความสําคัญใน
รูปแบบธุรกิจดังกล่าวแต่มักจะได้รับการดูแลไปอย่างเพียงพอแล้ว โดยเกษตรกรในกลุ่มนี้ให้ความสําคัญเพิ่ม
ขึ้นกับประเด็นการเข้าถึงปัจจัยการผลิตและองค์ความรู้ เนื่องจากผลผลิตในกลุ่มนี้ต้นทุนการผลิตจากปัจจัย
การผลิตที่สูงขึ้นและต้องการองค์ความรู้ที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น ทั้งในแง่ของการเพิ่มคุณภาพและการแปรรูป
ผลผลิต
6-47