Page 189 -
P. 189
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมที่สําคัญในพื้นที่ ปัญหาความไม่เข้มแข็งของชุมชน โดยปัญหาเหล่านี้มีสาเหตุหลักมาจาก
การที่เกษตรกรขาดอํานาจต่อรองในการขายผลผลิต
ในขณะที่เกษตรแบบพันธะสัญญามีบทบาทมากในการให้ความมั่นใจกับเกษตรกรในการขายผลผลิต
ของตนเองผ่านกลไกต่างๆ เช่น ทําให้เกษตรกรรู้ราคาสินค้าที่จะขายล่วงหน้า ราคามีความผันผวนค่อนข้าง
น้อย และเกษตรกรไม่ต้องแข่งขันกับเกษตรกรรายอื่นๆ ในช่วงขายผลผลิต แต่ก็ยังมีปัญหาอีกหลายด้านที่ไม่ได้
รับการแก้ไข โดยในแง่เศรษฐกิจ การเกษตรแบบพันธะสัญญาไม่ได้ช่วยในเรื่องอํานาจการต่อรองของเกษตรกร
มากนัก เกษตรกรยังคงมีอํานาจต่อรองต่ํากว่าบริษัทที่รับซื้อผลผลิต ในด้านสังคม การเกษตรแบบพันธะสัญญา
ก็ไม่ได้มีบทบาทในการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนในแบบที่การรวมกลุ่มสามารถส่งเสริมได้ ในด้าน
สิ่งแวดล้อม การเกษตรแบบพันธะสัญญาไม่ได้ส่งเสริมให้เกษตรกรให้ความสําคัญกับสภาพสิ่งแวดล้อมในพื้นที่
โดยในหลายกรณียังพบว่าระบบเกษตรแบบพันธะสัญญาส่งผลกระทบทางลบต่อสิ่งแวดล้อมเนื่องจากต้องมี
การใช้ยาและสารเคมีจํานวนมากเพื่อให้ได้ผลผลิตตามแบบที่ผู้รับซื้อต้องการ
การรวมกลุ่มของเกษตรกรจะมีบทบาทมากในการช่วยส่งเสริมความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรในพื้นที่
โดยเฉพาะการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ การหาตลาด การลดต้นทุนการผลิต มีส่วนในการแก้ปัญหาการแย่งกัน
ขายผลผลิตของเกษตรกร และยังเป็นช่องทางที่ช่วยรับความช่วยเหลือจากองค์กรภายนอกอย่างเป็นรูปธรรม
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการรวมกลุ่มเกษตรกรเพื่อขายสินค้าจะช่วยสร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกรได้ แต่ไม่ได้เป็น
การรับประกันว่าเกษตรกรจะมีอํานาจต่อรองเพิ่มขึ้นมากนัก ปัญหาอํานาจต่อรองของเกษตรกรยังคงขึ้นอยู่กับ
ข้อจํากัดเชิงพื้นที่ซึ่งส่งผลต่อลักษณะของผลผลิตที่ขายและจํานวนพ่อค้าที่มารับซื้อเป็นสําคัญ ซึ่งการรวมกลุ่ม
เพื่อขายผลผลิตไม่ได้ช่วยตอบโจทย์ทั้ง 2 ด้านนี้โดยตรง (อาจจะมีบางกลุ่มที่การรวมกลุ่มสามารถตอบโจทย์ได้
บ้าง แต่ต้องมีการดําเนินงานเพิ่มเติมไปจากแค่การรวมกลุ่มเพื่อขาย) การรวมกลุ่มเพื่อขายสินค้าโดยทั่วไปยังมี
ปัญหาความเสี่ยงจากความผันผวนทางราคา มีการใช้สารเคมีในปริมาณที่มาก และปัญหาการควบคุมคุณภาพ
ผลผลิตของสมาชิกในกลุ่ม นอกจากนี้ ในระดับการดําเนินงาน กลุ่มเกษตรกรหลายแห่งยังประสบปัญหาที่
เกษตรกรบางส่วนอาจจะนําผลผลิตไปขายแยกเอง โดยเฉพาะในกรณีที่มีพ่อค้าพยายามจะมาเสนอราคาที่
สูงขึ้นเพื่อให้การดําเนินงานของกลุ่มมีปัญหาและตนเองจะได้มีอํานาจต่อรองในระยะยาว
แม้ว่าการรวมกลุ่มเพื่อขายผลผลิตจะมีข้อจํากัดในการแก้ปัญหาให้เกษตรกรในหลายด้าน แต่นับเป็น
รากฐานที่สําคัญในการพัฒนาไปในการแก้ปัญหาอื่นๆ ในภายหลัง พัฒนาการการรวมกลุ่มของเกษตรกร
สามารถพบเห็นได้ใน 2 ลักษณะใหญ่ๆ ได้แก่ การพัฒนาคุณภาพและการแปรรูป โดยหลักการแล้ว การพัฒนา
คุณภาพและการแปรรูปมีส่วนสําคัญในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า เกษตรกรมีแนวโน้มที่จะขายสินค้าของ
ตนเองได้ในราคาที่สูงขึ้นเหมือนกัน อย่างไรก็ตาม ทั้ง 2 แนวทางก็มีความแตกต่างกันในรายละเอียด โดยกลุ่ม
เกษตรกรที่พัฒนาคุณภาพผลผลิตจําเป็นที่จะต้องหาตลาดที่ต้องการผลผลิตคุณภาพสูงได้จึงจะได้รับราคาที่
สูงขึ้น (มีตัวอย่างบางพื้นที่ที่เกษตรกรสามารถผลิตผลผลิตคุณภาพสูงขึ้นได้ แต่ไม่สามารถหาพ่อค้าที่รับได้ ทํา
ให้ต้องขายผลผลิตในราคาทั่วไป) นอกจากนี้ หากเป็นการพัฒนาคุณภาพที่เกิดจากการพัฒนากระบวนการผลิต
ซึ่งมักจะพ่วงมากับการดูแลคุณภาพสิ่งแวดล้อม เช่น การทําเกษตรอินทรีย์หรือปลอดสารพิษ จะทําให้
เกษตรกรลดการใช้สารเคมีและมีชีวิตที่ปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม กลุ่ม
6-49