Page 183 -
P. 183

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





                       ในระยะตั้งต้น รูปแบบธุรกิจการเกษตรที่พบในพื้นที่เกือบทั้งหมดจะเป็นแบบดั้งเดิม นั่นคือมีพ่อค้าเข้า

               ไปรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรในพื้นที่ โดยพ่อค้าจะเป็นคนกําหนดราคาผลผลิตและเกษตรกรแต่ละรายจะขาย
               ผลผลิตให้พ่อค้าแยกกัน ซึ่งรูปแบบธุรกิจแบบดั้งเดิมนี้มีส่วนทําให้เกษตรกรขาดอํานาจต่อรองและประสบ

               ปัญหาต่างๆ ดังที่ได้แสดงไว้ในบทที่ 4

                       ทั้งนี้ ในบางพื้นที่ที่มีความเหมาะสม มีบริษัทหรือพ่อค้ารับซื้อได้เข้าไปทําสัญญาให้เกษตรกรผลิต
               ผลผลิตบางอย่างที่ตนเองต้องการ โดยส่วนใหญ่จะเป็นผลผลิตที่ต้องมีกระบวนการผลิตโดยเฉพาะ ต้องมีการ

               ดูแลให้ได้มาตรฐานที่ตั้งไว้ เช่น การผลิตเมล็ดพันธุ์ต่างๆ และบริษัทจะเลือกเกษตรกรบางรายที่มีคุณสมบัติ
               ตามที่ต้องการ เช่น มีทักษะในการทําเกษตร สามารถดูแลกระบวนการผลิตได้ตามที่ต้องการ ในการดําเนินงาน

               นี้ ทําให้เกษตรกรบางส่วนสามารถหลุดพ้นจากรูปแบบธุรกิจแบบดั้งเดิมที่มีความไม่แน่นอนและการแย่งกัน

               ขายสินค้าระหว่างเกษตรกรด้วยกันเองได้ อย่างไรก็ตาม ในแต่ละพื้นที่ จะมีเกษตรกรที่ได้ทําสัญญากับพ่อค้า
               เพียงจํานวนไม่มาก โดยส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่ที่เข้าถึงได้ง่าย เนื่องจากบริษัทมีเจ้าหน้าที่ที่ทําการติดตาม

               ตรวจสอบดูแลจํานวนไม่มาก จึงต้องเลือกพื้นที่ให้เหมาะกับการเดินทางและตรวจสอบ นอกจากนี้การเลือก
               เกษตรกรจากหลายพื้นที่ยังเป็นการกระจายความเสี่ยงของบริษัทด้วย ดังนั้น การพัฒนารูปแบบธุรกิจใน

               ลักษณะพันธะสัญญารายย่อยจึงเกิดขึ้นในลักษณะวงแคบ เฉพาะเจาะจงที่เกษตรกรบางราย และมีจํานวน

               ค่อนข้างจํากัดตามลักษณะผลผลิตที่พ่อค้าต้องการและลักษณะของเกษตรกรที่เข้าข่ายตามที่บริษัทต้องการ
                       การพัฒนาอีกแนวทางหนึ่งจะเริ่มที่การรวมกลุ่มของเกษตรกรในพื้นที่เพื่อเพิ่มอํานาจต่อรองในการ

               ขายผลผลิตของตนเอง โดยส่วนใหญ่จะเริ่มที่การรวมกลุ่มเพื่อขายผลผลิตเพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ตามพบว่า

               เกษตรกรที่ต้องการรวมกลุ่มในพื้นที่เองมักจะประสบกับอุปสรรคมากมาย ทั้งจากพ่อค้ารับซื้อที่พยายามตั้ง
               ราคาให้เกษตรกรแยกตัวจากกลุ่มออกมาขาย จากตัวสมาชิกเกษตรกรในกลุ่มเองที่ยังเห็นประโยชน์ของตนเอง

               มากกว่าประโยชน์ของกลุ่มหรือให้ความสําคัญกับประโยชน์เฉพาะหน้ามากกว่าประโยชน์ในระยะยาว หรือการ
               ขาดผู้นําและผู้ที่ทําหน้าที่ในการเชื่อมโยงตลาดซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สําคัญในการรวมกลุ่มให้ประสบ

               ความสําเร็จ ทั้งนี้ มีพื้นที่จํานวนไม่มากนักที่เกษตรกรประสบความสําเร็จในการรวมกลุ่มด้วยตัวเองโดยรัฐไม่

               ต้องช่วยผลักดันมากนัก โดยกลุ่มที่สําเร็จส่วนใหญ่จะต้องมีผู้นําที่มีความรู้ในด้านตลาด สามารถเชื่อมโยงพื้นที่
               กับตลาดที่ไกลออกไปได้ หรืออาจจะเคยเห็นบทเรียนที่ประสบความสําเร็จจากที่อื่น ในขณะที่พื้นที่อีกส่วนหนึ่ง

               ประสบความสําเร็จในการรวมกลุ่มจะได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานหรือองค์กรภายนอกในตอนเริ่มต้น
               ค่อนข้างมากทั้งในแง่ของบุคลากร องค์ความรู้ และการจัดการ โดยหน่วยงานที่มีส่วนช่วยเป็นได้ทั้งหน่วยงาน

               ภาครัฐโดยตรง องค์กรไม่แสดงหากําไร หรือองค์การภาคประชาชน

                       ในบางพื้นที่ การพัฒนารูปแบบธุรกิจการเกษตรอาจจะหยุดอยู่ที่การรวมกลุ่มเพื่อขายเท่านั้น โดยเน้น
               การให้ความสําคัญกับการหาตลาดหรือกระจายผลผลิตให้หลากหลายมากขึ้นเพื่อป้องกันความเสี่ยงและ

               กระจายกระแสรายได้ของสมาชิกเกษตรกรให้มีรายรับเพิ่มมากขึ้น แต่ในบางพื้นที่ที่มีองค์ประกอบที่เหมาะสม

               อาจจะมีการพัฒนากลุ่มไปมากขึ้นเช่น การพัฒนาคุณภาพ หรือการแปรรูปผลผลิต ทั้งนี้ การที่กลุ่มเกษตรกร
               จะพัฒนาไปในแนวทางใดนั้น ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของผลิตภัณฑ์และตลาดรับซื้อเป็นสําคัญ โดยกลุ่มที่มี

               การพัฒนาคุณภาพของผลผลิตมักจะเกิดจากความต้องการผลผลิตที่มีคุณภาพของพ่อค้าหรือตลาดที่มารับซื้อ


                                                           6-43
   178   179   180   181   182   183   184   185   186   187   188