Page 178 -
P. 178

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





                       แม้ว่าการพัฒนาคุณภาพผลผลิตจะมีข้อดีสําหรับเกษตรกรมาก แต่ก็ยังคงมีข้อจํากัดในหลายๆ ด้าน

               โดยเฉพาะในด้านการตลาดที่ผลผลิตคุณภาพสูงมักจะมีตลาดที่แคบกว่าสินค้าทั่วไป ทําให้เกษตรกรยังคงมี
               ความเสี่ยงโดยเฉพาะจากปริมาณการรับซื้อของพ่อค้า (มากกว่าในแง่ของราคา) เช่น มีพ่อค้ารับซื้อผลผลิต

               คุณภาพสูงในจํานวนที่น้อยกว่าผลผลิตทั่วไป ในกรณีที่มีพ่อค้ารับซื้อน้อยมาก เกษตรกรก็ยังเผชิญความเสี่ยง

               จากการที่พ่อค้าลดปริมาณการรับซื้อลงหากมีผู้ผลิตรายอื่นหรือประเทศอื่นมาแข่งขันมากขึ้น ในบางพื้นที่
               พบว่า เกษตรกรต้องขายผลผลิตที่มีคุณภาพสูงในราคาทั่วไปเนื่องจากถูกพ่อค้ากดราคารับซื้อโดยอ้างว่านําไป

               ขายในตลาดทั่วไป
                       นอกจากนี้ ปัญหาสําคัญที่พบในพื้นที่ที่มีการรวมกลุ่มเพื่อพัฒนาคุณภาพอีกประการหนึ่งคือการ

               บริหารจัดการในกรณีที่ผลผลิตมีคุณภาพไม่ผ่านเกณฑ์ โดยในบางพื้นที่พบว่า หากพ่อค้าแจ้งว่ามีผลผลิต

               คุณภาพไม่ผ่านเกณฑ์ ผลผลิตดังกล่าวจะถูกตีกลับซึ่งเกษตรกรจะต้องแบกรับต้นทุนค่าขนส่งและผลผลิตที่
               ส่งกลับอาจจะได้รับความเสียหาย เกษตรกรอาจจะตัดสินใจทิ้งผลผลิตที่ไม่ผ่านเกณฑ์นั้นหรือขายผลผลิตที่ไม่

               ผ่านเกณฑ์ในตลาดทั่วไปในภายหลัง ซึ่งมักจะต้องขายในภาวะกดดัน รีบขายและได้ราคารับซื้อต่ํากว่าที่ควรจะ
               เป็น สําหรับปัญหานี้ การตรวจสอบระหว่างเกษตรกรร่วมกันภายในกลุ่มจึงมีความสําคัญกับการรวมกลุ่มเพื่อ

               พัฒนาคุณภาพผลผลิตนี้มาก การตรวจสอบในพื้นที่โดยมากจะเป็นการดูแลซี่งกันและกันตั้งแต่ขั้นตอนการ

               เพาะปลูกจนถึงการเก็บเกี่ยว ไม่ให้สมาชิกในกลุ่มใช้สารเคมีต้องห้ามหรือใช้วิธีการที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพที่
               ตลาดปลายทางต้องการ การดูแลตรวจสอบกันเองนี้เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทําให้การรวมกลุ่มจะเป็นไปในลักษณะ

               กลุ่มที่ไม่ใหญ่มากเกินไป

                       จากลักษณะเฉพาะของการรวมกลุ่มเพื่อขายผลผลิตที่มีคุณภาพนี้ ทําให้การรวมกลุ่มเพื่อพัฒนา
               คุณภาพของผลผลิตมีปัจจัยที่จําเป็นเพื่อให้การดําเนินงานสําเร็จมากขึ้นกว่าการรวมกลุ่มเพื่อขายทั่วไป โดย

               ปัจจัยสําคัญที่เพิ่มขึ้นมาได้แก่
                       1)  พื้นที่ต้องมีความเหมาะสมในการพัฒนาคุณภาพของผลผลิต เช่น มีน้ําเพียงพอ หรือหากพื้นที่มี

                          ความเหมาะสมน้อยก็ต้องมีการพัฒนาลงทุนเพื่อให้สามารถผลิตผลผลิตที่คุณภาพสูงได้ เช่น การ

                          สร้างโรงเรือน การทําระบบน้ําไปยังที่ไร่หรือสวน
                       2)  การพัฒนาคุณภาพของพืชที่ปลูกต้องมีความต้องการซื้อที่มากเพียงพอ มีช่องทางในการติดต่อ

                          ตลาดผู้รับซื้อที่ต้องการสินค้าคุณภาพได้ มีตัวแทนเกษตรกรที่ทําหน้าที่ติดต่อพ่อค้าหรือบริษัท
                          ต่างๆ เพื่อสร้างอํานาจการต่อรองให้เกษตรกร (ซึ่งอาจจะหายากกว่าการรวมกลุ่มขายทั่วไป

                          เนื่องจากพ่อค้าที่ต้องการสินค้าที่มีคุณภาพจะมีน้อยกว่าสินค้าทั่วไป แต่ก็มีความเจาะจงและ

                          ชัดเจนมากยิ่งขึ้น)
                       3)  ในกรณีที่มีพ่อค้าไม่มากนัก เกษตรกรจะยังเป็นผู้รับความเสี่ยงจากราคาหรือการรับซื้อของพ่อค้า

                          เกษตรกรอาจจะใช้การกระจายความเสี่ยงด้วยการหาตลาดที่หลากหลาย เช่น การปลูกผลผลิตให้

                          มีความหลากหลายมากขึ้น (เช่น กลุ่มวิสาหกิจบ้านป่ากลางที่ปลูกมะม่วงน้ําดอกไม้สีทองและ
                          น้ําดอกไม้เบอร์สี่ ซึ่งมีตลาดรับซื้อคนละประเทศกัน หรือการปลูกพืชแบบผสมผสานในบ้านแม่จ

                          ริมและโป่งคํา) ทั้งนี้ การจัดการความเสี่ยงจะมีความสําคัญกับการรวมกลุ่มเพื่อขายผลผลิต


                                                           6-38
   173   174   175   176   177   178   179   180   181   182   183