Page 174 -
P. 174

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





               6.3 เปรียบเทียบข้อดีและข้อจํากัดของรูปแบบธุรกิจการเกษตร

                       6.3.1  การทําเกษตรพันธะสัญญาหรือสัญญาระหว่างเกษตรกรรายบุคคลกับพ่อค้าหรือผู้ผลิต
                              โดยตรง

                       เกษตรกรในบางพื้นที่มีการทําเกษตรแบบพันธะสัญญากับพ่อค้าหรือบริษัทโดยตรงเพื่อพยายามแก้ไข

               ปัญหาความผันผวนของราคาและปัญหาในการหาตลาดเพื่อขายผลผลิต เช่น เกษตรกรบางส่วนในบ้านแม่จริม
               มีการทําสัญญากับบริษัทในการปลูกแตงกวา แตงโม และมะระเพื่อขายเมล็ดพันธุ์ โดยมีเอกสารกํากับไว้ว่า

               เกษตรกรจะต้องขายผลผลิตกลับให้กับบริษัทที่ปริมาณเท่าไรและได้ราคาเท่าไร ซึ่งในกรณีนี้เกษตรกรจะ
               เปรียบเสมือนเป็นลูกจ้างทํางานเกษตรประณีต โดยบริษัทจะให้เกษตรกรกู้ปัจจัยการผลิตมาก่อน แล้ว

               เกษตรกรจะจ่ายคืนหลังจากได้ผลผลิต

                       ลักษณะของรูปแบบธุรกิจนี้มักจะเกิดขึ้นได้เฉพาะในกรณีที่เกษตรกรจะต้องดูแลผลผลิตอย่างเข้มข้น
               อาจจะต้องใช้ทักษะในการทําการเกษตรที่สูงกว่าพืชทั่วไป และเป็นผลผลิตที่ต้องการขั้นตอนในการปลูกและ

               การดูแลเป็นพิเศษแตกต่างจากพืชทั่วไป (เนื่องจากหากเป็นพืชทั่วไปแล้ว พ่อค้าหรือบริษัทก็สามารถหาผลผลิต
               จากที่ใดก็ได้) เกษตรกรมักจะเป็นกลุ่มที่มีที่ดินทํากินหรือลักษณะพื้นที่ตามความต้องการของบริษัทที่มาว่าจ้าง

               เช่น มีที่ดินติดถนนหลัก เพื่อให้ง่ายและสะดวกต่อการเดินทางมาตรวจแปลงปลูกของเจ้าหน้าที่บริษัท

                       ข้อดีของระบบดังกล่าวคือ ช่วยลดความเสี่ยงด้านราคาให้กับเกษตรกร เกษตรกรไม่ต้องเผชิญความ
               กดดันในการแย่งกันขายผลผลิตในช่วงฤดูเก็บเกี่ยว นอกจากนี้ โดยส่วนใหญ่ยังพบว่าเกษตรกรจะได้รับการ

               อบรม ได้รับองค์ความรู้จากบริษัทและการดูแลเอาใจใส่ช่วยเหลือในการแก้ปัญหาจากบริษัทคู่สัญญา

                       อย่างไรก็ตาม ระบบธุรกิจดังกล่าวก็มีข้อจํากัดในทางปฏิบัติที่พบได้ในพื้นที่ แม้ว่าเกษตรกรจะสามารถ
               แก้ปัญหาความผันผวนและความเสี่ยงด้านราคา แต่เกษตรกรก็ยังประสบปัญหาขาดอํานาจต่อรองกับบริษัท

               หรือพ่อค้า เนื่องจากเกษตรกรมีสถานะเหมือนเป็นเพียงลูกจ้างของบริษัท บริษัทสามารถเลือกพื้นที่ เกษตรกร
               และการกําหนดราคาได้ นอกจากนี้ เกษตรกรก็ยังประสบปัญหาความผันผวนด้านผลผลิต เนื่องจากหากมี

               เหตุการณ์ที่ทําให้กระบวนการผลิตมีปัญหา เช่น เมล็ดพันธุ์ที่ได้มาจากบริษัทเสื่อมคุณภาพ ปลูกไม่ขึ้น

               เกษตรกรจะไม่ได้รับชดเชยค่าเสียหาย เนื่องจากไม่มีสัญญาที่เป็นลายลักษณ์อักษร ปัญหาที่พบมากอีกประเด็น
               หนึ่งในกรณีการทําเกษตรพันธะสัญญานี้คือส่วนใหญ่เป็นพืชที่ต้องใช้สารเคมีมาก โดยปริมาณการใช้สารเคมีนี้

               จะขึ้นอยู่กับข้อกําหนดของบริษัท บริษัทมักเป็นผู้จัดหาปัจจัยการผลิตให้เกษตรกร โดยจะหักต้นทุนปัจจัย
               เหล่านี้จากเกษตรกรหลังจากที่เกษตรกรขายผลผลิตให้บริษัทแล้ว

                       ลักษณะการทําสัญญาเป็นรายบุคคลนี้ ไม่มีกลไกที่ทําให้เกษตรกรมีการแบ่งปันหรือพัฒนาองค์ความรู้

               ร่วมกันระหว่างเกษตรกรในชุมชน เนื่องจากไม่มีความจําเป็นต้องพึ่งพาหรือพัฒนาองค์ความรู้ร่วมกัน
               เกษตรกรแต่ละรายจะปรึกษาตัวแทนจากบริษัทที่เข้ามาดูแลเป็นหลัก และมีช่องทางรับความช่วยเหลือจาก

               ภาครัฐหรือองค์กรอื่นอย่างจํากัดและทําได้ยาก เนื่องจากเป็นการดําเนินงานรายบุคคลแยกกันไป

                       6.3.2  การรวมกลุ่มเพื่อขายผลผลิต
                       รูปแบบธุรกิจที่ได้รับการพัฒนาและดําเนินงานในหลายพื้นที่จะอยู่ในรูปแบบของการรวมกลุ่มระหว่าง

               เกษตรกรในพื้นที่ โดยในขั้นต้นของการรวมกลุ่มคือการรวมกลุ่มเกษตรกรเพื่อขายผลผลิตของตนเอง โดยการ


                                                           6-34
   169   170   171   172   173   174   175   176   177   178   179