Page 179 -
P. 179
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
คุณภาพสูงนี้มาก เนื่องจากเกษตรกรมีการลงทุนและลงแรงเป็นมูลค่าสูงกว่าการผลิตสินค้าเกษตร
ทั่วไปมาก และโดยส่วนใหญ่จะพึ่งพิงรายได้จากผลผลิตนี้เป็นหลักเนื่องจากไม่มีเวลาไปทําอาชีพ
เสริมอื่น ในกรณีที่เกิดปัญหาและทําให้เกษตรกรไม่สามารถขายผลผลิตได้ตามที่หวังไว้ จะทําให้
เกษตรกรท้อแท้และล้มเลิกการทําผลผลิตที่มีคุณภาพได้
4) การบริหารจัดการกลุ่มที่มีความพร้อมในการจัดการให้สมาชิกสามารถขายสินค้าในช่วงเวลา
เดียวกันได้ตามปริมาณที่ตกลงกันไว้กับพ่อค้า และการแบ่งปริมาณการผลิตและการขายระหว่าง
เกษตรกรในกลุ่มในกรณีที่พ่อค้ารับซื้อน้อยกว่าปริมาณผลผลิตทั้งหมด และในกรณีที่กลุ่มมี
กิจกรรมด้านการซื้อปัจจัยการผลิต จะต้องมีระบบบริหารจัดการการซื้อปัจจัยการผลิตร่วมกันด้วย
5) การพัฒนาและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในการผลิต การจัดการ และการขาย มีความสําคัญต่อ
ความสําเร็จของรูปแบบธุรกิจนี้มาก
6) ระบบการตรวจสอบคุณภาพผลผลิตเบื้องต้นในพื้นที่ ที่มีค่าใช้จ่ายไม่สูงมากและไม่สร้างภาระ
ให้กับเกษตรกรมากเกินไป ซึ่งจะทําให้ลดความเสี่ยงของเกษตรกรในการส่งสินค้าไปแล้วไม่
สามารถขายได้หรือถูกตีกลับ ทั้งนี้ ในบางพื้นที่พบว่ามีการใช้การตรวจสอบระหว่างเกษตรกรด้วย
กันเองเพื่อให้แน่ใจว่าผลผลิตของเกษตรกรในกลุ่มจะมีคุณภาพตามมาตรฐานที่กําหนดไว้ (เช่น
การดูแลตรวจสอบตลอดขั้นตอนการปลูกของเกษตรกรกลุ่มวิสาหกิจส่งออกมะม่วงบ้านป่ากลาง)
จากการลงพื้นที่พบว่า มีบางพื้นที่ที่เกษตรกรสามารถรวมกลุ่มและพัฒนาคุณภาพสินค้าของตนเองได้
ด้วยตนเองภายใต้การสนับสนุนของหน่วยงานรัฐที่มีหน้าที่ตามปกติ แต่ในพื้นที่ส่วนใหญ่เกษตรกรจะประสบ
ปัญหาในการเปลี่ยนแปลงหรือเริ่มต้นผลิตผลผลิตที่มีคุณภาพ ทั้งในแง่ขององค์ความรู้ การทําการตลาด ซึ่ง
หน่วยงานและองค์กรภายนอก ทั้งภาครัฐหรือภาคเอกชน สามารถเข้ามามีบทบาทในการสนับสนุน
องค์ประกอบที่จําเป็นในการดําเนินงานของกลุ่มที่มีการพัฒนาคุณภาพนี้ได้ เช่น การเข้ามาให้ความรู้ การ
ช่วยเหลือในการติดต่อตลาดที่มีความต้องการสินค้าคุณภาพสูงให้เกษตรกร หรือการสนับสนุนในการสร้าง
กลไกตรวจสอบคุณภาพในพื้นที่ที่เป็นที่ยอมรับของผู้ซื้อได้
6.3.4 การรวมกลุ่มเพื่อขาย โดยมีการแปรรูปผลผลิต
นอกจากการรวมกลุ่มโดยมีการพัฒนาคุณภาพของสินค้าแล้ว กลุ่มเกษตรกรบางกลุ่มพัฒนาการขาย
ผลผลิตโดยใช้การแปรรูปเพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าให้ผลผลิตตนเอง เช่น กลุ่มวิสาหกิจบ้านสันเจริญที่มีการแปร
รูปเมล็ดกาแฟสดเป็นกาแฟสารและเมล็ดกาแฟคั่ว การแปรรูปผลผลิตทําให้กลุ่มเกษตรกรมีทางเลือกในการ
ขายผลผลิตได้มากขึ้น และมีบทบาทเป็นอย่างมากในประเด็นต่างๆ ดังนี้
1) ขยายตลาด โดยเพิ่มทางเลือกในการขายและจํานวนพ่อค้าที่มารับซื้อ เนื่องจากผลผลิตมีความ
หลากหลายมากขึ้น เช่น การขายกาแฟสารและเมล็ดกาแฟคั่วแทนที่การขายเมล็ดกาแฟสดเพียง
อย่างเดียว
2) สามารถเก็บรักษาผลผลิตได้นานมากขึ้น ไม่ถูกกดราคาจากการที่เกษตรกรต้องรีบขายผลผลิต
3) ได้รับมูลค่าเพิ่มจากสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้น โดยส่วนหนึ่งมาจากราคาสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้น เช่น จากราคา
รับซื้อเมล็ดกาแฟสดที่ราคาเพียง 25 บาทต่อ กก. เมื่อมาผ่านการแปรรูปในอัตราประมาณเมล็ด
6-39