Page 208 -
P. 208
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
บทที่ 8
หลักดําเนินการของธุรกิจการเกษตรและบทบาทขององค์กรภายนอก
จากข้อมูลเชิงประจักษ์ซึ่งแสดงตัวแปรทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมของแต่ละพื้นที่และแต่ละ
รูปแบบธุรกิจ และการวิเคราะห์แนวทางการแก้ปัญหาหรือลดข้อจํากัดของการเกษตรในที่ชันและวิวัฒนาการ
การสร้างรูปแบบธุรกิจของชุมชนดังที่ได้แสดงในบทที่ 5-7 ทําให้ผู้วิจัยสามารถระบุผลลัพธ์ที่ต้องการจากธุรกิจ
การเกษตรในที่สูงตลอดจนวิธีการที่จะเสริมสร้างความยั่งยืนทั้งด้านความเป็นอยู่ของเกษตรกร (Livelihood
sustainability) และด้านสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ (Environmental sustainability) ไปพร้อมกัน และเสนอแนะ
บทบาทขององค์กรภายนอกและภาคธุรกิจในการสร้างรูปแบบธุรกิจที่เหมาะสมกับพื้นที่ โดยเนื้อหาในบทที่ 8
นี้จะแบ่งออกเป็น 2 หัวข้อหลัก ได้แก่
1) แสดงผลลัพธ์ที่ต้องการจากรูปแบบธุรกิจบนพื้นที่สูงและวิธีการที่สามารถใช้เพื่อให้ไปสู่ผลลัพธ์นั้น
และวิธีการเหล่านั้นไปแก้ปัญหาของการเกษตรบนที่ชันได้อย่างไร (8.1)
2) บทบาทขององค์กรภายนอกและภาคธุรกิจในการสร้างรูปแบบธุรกิจที่นําไปสู่ความยั่งยืนของที่ชัน
ให้เกษตรกร (8.2)
8.1 หลักดําเนินการที่ควรสนับสนุนให้เกิดขึ้นจากธุรกิจการเกษตรบนพื้นที่สูง
จากรูปที่ 4.4 ในบทที่ 4 แสดงให้เห็นว่า เกษตรกรที่อยู่ในรูปแบบธุรกิจการเกษตรแบบดั้งเดิมโดยไม่มี
วิธีลดผลกระทบของข้อจํากัดและการคานอํานาจพ่อค้าจะประสบปัญหาการขาดอํานาจต่อรองและนําไปสู่
ปัญหาการถูกกดราคารับซื้อ เกษตรกรต้องเป็นผู้แบกรับความเสี่ยงด้านต่างๆ ทั้งราคาที่ผันผวน หรือปริมาณ
การรับซื้อที่ไม่แน่นอน เกษตรกรจึงอยู่ในวังวนของการปลูกพืชเชิงเดี่ยวเพื่อหวังว่าจะได้ปริมาณผลผลิตที่มาก
และไม่คํานึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเท่าที่ควร การพัฒนาธุรกิจการเกษตรจึงจะต้องมีบทบาทในการ
ช่วยเหลือเกษตรกรให้หลุดพ้นจากกับดักของการซื้อขายแบบดั้งเดิมนี้
จากวิวัฒนาการของรูปแบบธุรกิจที่เกิดขึ้นในพื้นที่เพื่อแก้ปัญหาที่เกษตรกรประสบและการวิเคราะห์
ข้อมูลจากการวิจัยทําให้ผู้วิจัยสามารถสรุปผลลัพธ์ที่ต้องการจากการพัฒนาธุรกิจเกษตรในพื้นที่สูงได้ใน 2
ประเด็น ได้แก่ 1) การสร้างความยั่งยืนด้านความเป็นอยู่ให้กับเกษตรกร ควบคู่ไปกับ 2) การสร้างความยั่งยืน
ทางนิเวศ โดยไม่สามารถขาดอย่างใดอย่างหนึ่งได้ แม้การสร้างความยั่งยืนด้านความเป็นอยู่ทั้งในเชิงเศรษฐกิจ
และสังคมจะช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพียงพอ มีการกระจายความเสี่ยงที่พอเหมาะ เกิดการสะสมทุนทําให้ไม่
ติดอยู่ในวงจรหนี้จะช่วยลดโอกาสที่เกษตรกรจะกลับมารุกที่ป่า แต่ความยั่งยืนด้านความเป็นอยู่เพียงอย่าง
เดียวยังไม่อาจสร้างระบบการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ป่า ดิน น้ํา ที่ชัดเจน และยังไม่สามารถป้องกันการ
เข้ามาฉกฉวยผลประโยชน์จากภายนอกซึ่งเป็นประเด็นอ่อนไหวของพื้นที่สูงได้ นอกจากนี้ การส่งเสริมด้านใด
ด้านหนึ่งเพียงด้านเดียวโดยขาดการคํานึงถึงปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างความเป็นอยู่ของคนและสิ่งแวดล้อม
8-1