Page 219 -
P. 219

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





               ตรวจสอบดูแลเพื่อไม่ให้การเลือกปลูกกาแฟกลายเป็นเครื่องมือหรือช่องทางให้การบุกรุกพื้นที่ป่าทําได้สะดวก

               ยิ่งขึ้น
                       8.1.2.2 เงื่อนไขที่เกิดขึ้นจากธุรกิจ

                       เงื่อนไขด้านสิ่งแวดล้อมสามารถเกิดขึ้นจากธุรกิจที่ทําหน้าที่เชื่อมโยงเกษตรกรกับตลาดได้เช่นกัน โดย

               เงื่อนไขที่เกิดขึ้นจากธุรกิจนี้โดยส่วนใหญ่เกิดจากความต้องการตลาดหรือผู้รับซื้อปลายทาง
                       โดยเงื่อนไขที่เกิดจากธุรกิจนี้สามารถแบ่งได้เป็น 3  ประเภทหลัก ได้แก่ เงื่อนไขที่เกษตรกรเป็น

               ผู้รับผิดชอบ และเงื่อนไขที่ภาคธุรกิจเป็นผู้รับผิดชอบ เงื่อนไขความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากธุรกิจนี้ถือ
               เป็นกุญแจสําคัญของการรักษาสิ่งแวดล้อมของเกษตรกร เนื่องจากการกําหนดเงื่อนไขผ่านระบบตลาดซึ่งมี

               ประสิทธิภาพนี้จะมีผลโดยตรงต่อแรงจูงใจของเกษตรกรในการตัดสินใจเลือกทางเลือกต่างๆ นอกจากนี้

               ประเด็นสําคัญคือการที่ภาคส่วนต่างๆ สามารถเข้าไปช่วยเหลือสนับสนุนรูปแบบธุรกิจต่างๆ หมายความว่า
               หน่วยงานหรือองค์กรภายนอกที่เข้าไปช่วยเหลือสนับสนุนสามารถมีบทบาทในการกําหนดหรือสร้างเงื่อนไขที่

               เกิดขึ้นจากธุรกิจนี้ได้ด้วยเช่นกัน ความสัมพันธ์นี้จึงเป็นปัจจัยสําคัญที่จะส่งผลต่อบทบาทของหน่วยงาน
               ภายนอกในการเข้าไปช่วยเหลือสนับสนุนเกษตรกรในพื้นที่

                       1)  เงื่อนไขที่กําหนดจากตลาดหรือผู้ที่รับซื้อปลายทางธุรกิจเห็นช่องทางทางการตลาดของสินค้า

                          คุณภาพสูง เช่น ผลผลิตอินทรีย์หรือสินค้าปลอดภัยจากสารเคมี จึงทําหน้าที่เชื่อมโยงผลผลิตของ
                          เกษตรกรสู่ตลาดและใช้ระบบมาตรฐานรับรอง (certification)  เป็นเครื่องมือในการสร้างและ

                          รักษาตลาด โดยมาตรฐานรับรองที่ใช้กันมีทั้งที่เป็นมาตรฐานการรับรองของรัฐและเอกชน เช่น 1)

                          มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม (GAP) ซึ่งเน้นให้สินค้าปลอดภัยจากสารเคมี
                          ตกค้าง 2) มาตรฐานชุมชนรับรอง  Participatory Guarantee System (PGS) ซึ่งเป็นมาตรฐาน

                          การผลิตสินค้าอินทรีย์ที่เน้นให้สมาชิกในชุมชนซึ่งเป็นผู้ผลิตเป็นผู้รับรอง อาศัยการมีส่วนร่วม
                          อย่างเข้มข้นของเกษตรกรเองไม่ต้องพึ่งพิงหน่วยงานอิสระภายนอกเป็นผู้ตรวจสอบรับรอง (third

                          party) ซึ่งช่วยลดต้นทุนการตรวจรับรองและเหมาะกับเกษตรกรรายย่อยในท้องถิ่น ระบบนี้กําลัง

                          เป็นที่นิยมในพื้นที่ที่กําลังเปลี่ยนผ่านสู่การผลผลิตสินค้าอินทรีย์ 3)  มาตรฐานสินค้าอินทรีย์ของ
                          สํานักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ซึ่งใช้มาตรฐาน International Federation of Organic

                          Agriculture Movements (IFOAM)ซึ่งมีข้อกําหนดที่เข้มงวดกว่า PGS  และต้นทุนในการได้รับ
                          การรับรองสูงกว่า เนื่องจากใช้หน่วยงานอิสระภายนอกเป็นผู้ตรวจสอบ และเหมาะกับบริษัท

                          สินค้าเกษตรขนาดใหญ่มากกว่าเกษตรกรรายย่อย  มาตรฐานเหล่านี้มีผลในการกําหนดพฤติกรรม

                          การปลูกของเกษตรกร เนื่องจากราคารับซื้อสินค้าเหล่านี้จะสูงกว่าราคารับซื้อสินค้าทั่วไป
                          เกษตรกรจะได้รับค่าตอบแทนจากการผลิตได้ตามเงื่อนไข เช่น organic premium นั่นหมายถึง

                          ว่า ระดับรายได้ของเกษตรกรถูกผูกไว้กับความสามารถในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ความ

                          แตกต่างของราคาเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรเปลี่ยนพฤติกรรม หันมาลดการใช้สารเคมีและพึ่งพา
                          ปุ๋ยอินทรีย์ในการรักษาดิน น้ํา มากขึ้น ตัวอย่างจากในพื้นที่ เช่น ระดับราคาที่ต่างกันของมะม่วง

                          ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงป่ากลางและมะม่วงที่ไม่ผ่านเกณฑ์


                                                           8-12
   214   215   216   217   218   219   220   221   222   223   224