Page 32 -
P. 32
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
16-23
(7) นโยบายน้ําในชวงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535-2539)
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535-2539) อยูในชวงการบริหาร
ของรัฐบาล 4 คณะ คือ รัฐบาลคณะที่ 48 มีพลเอกสุจินดา คราประยูร เปนนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีคณะที่ 49
มีนายอานันท ปนยารชุน เปนนายกรัฐมนตรี รัฐบาลคณะที่ 51 มีนายชวน หลีกภัย เปนนายกรัฐมนตรี และ
รัฐบาลคณะที่ 50 มีนายบรรหาร ศิลปอาชา เปนนายกรัฐมนตรี
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ ฉบับที่ 7 ไดสรุปปญหาความเสื่อมโทรมของ
ทรัพยากรน้ําในภาพรวมไวดังนี้
“ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม การพัฒนาที่ผานมา
ไดมีการระดมใชทรัพยากรธรรมชาติทั้งที่ดิน ปาไม แหลงน้ํา ประมง และแร อยางสิ้นเปลืองและไมประหยัด
ซึ่งยังผลใหเกิดความเสื่อมโทรมอยางรวดเร็ว และเริ่มสงผลกระทบตอการทํามาหากินของประชาชนในชนบท
ซึ่งตองพึ่งพาทรัพยากรเหลานี้เปนหลักในการยังชีพอยูแลว ผลกระทบดังกลาวทําใหการแกปญหาความ
ยากจนในชนบทยืดเยื้อและลําบากมากขึ้น นอกจากนี้การบุกรุกทําลายปา ยังสงผลใหเกิดการสูญเสียพันธุพืช
พันธุสัตวที่มีคาของประเทศไทย ” และปญหาของทรัพยากรแหลงน้ําโดยตรงดังนี้
“ทรัพยากรแหลงน้ํา มีจํากัดและมีความขัดแยงในการใชแหลงน้ําเพื่อการเกษตร
เพื่อการอุปโภคบริโภค เพื่อการอุตสาหกรรมและอื่นๆ ทั้งนี้เนื่องจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจอยางรวดเร็ว
ทําใหมีความตองการใชน้ํานอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้นมาก ประกอบกับการบริหารและจัดหาน้ํายังไมมี
ประสิทธิภาพเทาที่ควร” (สํานักคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ, 2534: 10, 230)
(7.1) สาระสําคัญของนโยบายน้ําในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ ฉบับที่ 7
การพัฒนาทรัพยากรน้ํา ในชวงแผนพัฒนาฉบับนี้มีเปาหมายใหมีการพัฒนาแหลงน้ํา
อยางเปนระบบลุมน้ํา 25 ลุมน้ํา ทั้งประเทศ โดยมีนโยบายและมาตรการ 9 ประการ คือ (1) จัดทําแผนงาน
จัดสรรงบประมาณดานการพัฒนาแหลงน้ําทุกประเภทในรูปของกลุมโครงการอยางเปนระบบลุมน้ําที่
สอดคลองกับสภาพของปญหา (2) กําหนดใหโครงการพัฒนาแหลงน้ําขนาดกลางมีการพิจารณาถึงความ
เหมาะสมดานอุทกศาสตร สภาพภูมิศาสตร และผลกระทบตอสิ่งแวดลอม (3) ใหมีการจัดสรรงบประมาณเพื่อ
การพัฒนาแหลงน้ําขนาดเล็กที่กระจายออกไปอยางทั่วถึงทุกพื้นที่ โดยเนนพื้นที่ฝนตกนอยกวาปกติ และ
พื้นที่นอกเขตชลประทาน (4) จัดรูปแบบการบริหารและจัดการโครงการแหลงน้ํา โดยใหองคกรประชาชนเขา
มามีสวนรวมในการบริหารและบํารุงรักษาโครงการ และใหหนวยงานของรัฐเปนฝายสนับสนุนดานวิชาการ (5)
เรงรัดใหมีการจัดตั้งองคกรระดับชาติ โดยมีกฎหมายรองรับ (6) กําหนดแผนงานเพื่อการจัดหาแหลงน้ําดิบ
สําหรับการประปาและจัดทํามาตรการควบคุมคุณภาพน้ําในแหลงน้ําตางๆ เพื่อรองรับการขยายตัวของชุมชน
(7) สนับสนุนใหมีการศึกษาในขั้นรายละเอียดเรื่องศักยภาพของแหลงน้ําบาดาลทั่วประเทศ และจัดทําแผน
แมบทการพัฒนาทรัพยากรน้ําบาดาล (8) สนับสนุนการจัดทําระบบขอมูลแหลงน้ํา เพื่อประโยชนในการ
วางแผนและการกําหนดนโยบายจัดสรรน้ํา ปองกันและบรรเทาอุทกภัย (9) ปรับปรุงอัตราคาใชน้ําจากการ
ชลประทานที่เก็บจากภาคเกษตรกรรมและนอกภาคเกษตรใหเหมาะสมตามปริมาณการใชและคํานึงถึงสิทธิการใชน้ํา
นโยบายจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ ฉบับที่ 7 มีความตอเนื่อง
กับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติฉบับตางๆ ที่ผานมา ในการบริหารจัดการทรัพยากรในระดับลุมน้ํา
การพัฒนาแหลงน้ําขนาดกลางที่เริ่มมาตั้งแตแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 และการพัฒนาแหลงน้ําขนาดเล็กที่เริ่ม
มาตั้งแตแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 4 การพัฒนาน้ําบาดาลที่เริ่มมาตั้งแตแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 2 การจัดทํา
ระบบขอมูลแหลงน้ํา และแผนการใชองคกรภาคประชาชนเขามามีสวนรวมในการบริหารและบํารุงรักษา