Page 56 -
P. 56

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี





                   ที่ดินแต่ได้ยกให้แก่จําเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุตร อ. ก็ต้องรายงานสํานักงาน ท. เพื่อให้สํานักงาน ท. รายงานต่อ

                   โจทก์เพียงแต่ อ. ทราบมิได้ถือว่าโจทก์ทราบด้วย เมื่อสํานักงาน ท. รายงานให้โจทก์ทราบวันที่  10 มิ.ย.
                   2530  ถือว่าโจทก์ได้รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนการฉ้อฉลในวันนั้น เมื่อโจทก์ฟูองขอให้เพิกถอนการ

                   ฉ้อฉลในวันที่ 8 มิ.ย. 2531 จึงยังไม่พ้น 1 ปี คดีโจทก์ยังไม่ขาดอายุความ

                          คําพิพากษาฎีกาที่ 8033/การที่คู่สมรสฝุายหนึ่งทํานิติกรรมจําหน่ายจ่ายโอนสินสมรสโดย
                   ปราศจากความยินยอมของคู่สมรสอีกฝุายหนึ่ง คู่สมรสอีกฝุายหนึ่งนั้นมีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรม

                   ดังกล่าวได้ภายในกําหนด 1 ปี นับแต่เวลาที่รู้เหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอน หรือ 10 ปี นับแต่ได้ทํานิติกรรม
                   ดังกล่าว เมื่อปรากฏว่าช่วงเวลานับแต่วันที่เจ้ามรดกซึ่งเป็นคู่สมรสฝุายหนึ่งโอนที่ดินพิพาทซึ่งโจทก์อ้าง

                   ว่าเป็นสินสมรสระหว่างเจ้ามรดกกับโจทก์ให้แก่ฝุายจําเลย จนถึงวันที่โจทก์ยื่นฟูองขอให้เพิกถอนนิติ
                   กรรมดังกล่าวล่วงพ้นกําหนด 10 ปี นับแต่ได้ทํานิติกรรมนั้น คดีโจทก์จึงขาดอายุความ



                          6. สิทธิยึดหน่วง
                          สิทธิยึดหน่วงถือเป็นมาตรการคุ้มครองให้เจ้าหนี้ได้รับชําระหนี้ประการหนึ่ง
                          มาตรา 241 “ผู้ใดเป็นผู้ครองทรัพย์สินของผู้อื่น และมีหนี้อันเป็นคุณประโยชน์แก่ตนเกี่ยวด้วย

                   ทรัพย์สินซึ่งครองนั้นไซร้ ท่านว่าผู้นั้นจะยึดหน่วงทรัพย์สินนั้นไว้จนกว่าจะได้ช าระหนี้ก็ได้ แต่ความที่

                   กล่าวนี้ท่านมิให้ใช้บังคับเมื่อหนี้นั้นยังไม่ถึงก าหนด
                          อนึ่ง บทบัญญัติในวรรคก่อนนี้ ท่านมิให้ใช้บังคับถ้าการที่เข้าครอบครองนั้นเริ่มมาแต่ท าการอัน

                   ใดอันหนึ่งซึ่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย”


                          6.1 หลักเกณฑ์สิทธิยึดหน่วง

                          ถ้าลูกหนี้ไม่ยอมชําระหนี้เจ้าหนี้จะบังคับเอากับทรัพย์ที่ยึดหน่วงไว้ไม่ได้ มีเพียงสิทธิยึดหน่วงให้
                   ได้รับชําระหนี้เท่านั้น


                           (1) เจ้าหนี้ครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่น

                          ทรัพย์สินมักจะเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้ เช่น นาย ก สั่งทําแหวนเพชร แต่ไม่ชําระค่าแหวน เป็น

                   ต้น กรณีเป็นทรัพย์สินของผู้อื่นนอกจากลูกหนี้ เช่น นาย ก ยืมรถเพื่อนมาแต่ขับรถคันนั้นชน
                   จึงนํามาซ่อมที่อู่นาย ข เป็นต้น เมื่อการครอบครองสูญสิ้นไป สิทธิยึดหน่วงก็เป็นอันระงับไปด้วย เว้นแต่

                   ทรัพย์สินนั้นได้ให้เช่าไปหรือจํานําไว้ด้วยความยินยอมของลูกหนี้ (มาตรา 250)


                          (2) การเข้าครอบครองชอบด้วยกฎหมาย
                          การครอบครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ย่อมไม่ก่อให้เจ้าหนี้เกิดสิทธิยึดหน่วงได้ เช่น นาย ก นํา

                   รถไปซ่อม นาย ข ผู้ซ่อมซ่อมแล้ว ส่งมอบรถคืนนาย ก ไปแล้ว จะไปขโมยรถนาย ก กลับมายึดหน่วง

                   ไม่ได้ เป็นต้น






                                                             56
   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61