Page 58 -
P. 58
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
มาตรา 245 “ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงจะเก็บดอกผลแห่งทรัพย์สินที่ยึดหน่วงไว้และจัดสรรเอาไว้
เพื่อการช าระหนี้แก่ตนก่อนเจ้าหนี้คนอื่นก็ได้
ดอกผลเช่นว่านี้จะต้องจัดสรรเอาช าระดอกเบี้ยแห่งหนี้นั้นก่อนถ้ายังมีเหลือจึงให้
จัดสรรใช้ต้นเงิน”
คําถาม รวม “ดอกเบี้ยผิดนัด” ด้วยหรือไม่
คําตอบ....................................................................................
คําถาม เมื่อชําระหนี้แล้ว ต้องส่งคืนทรัพย์สินที่ยึดหน่วงหรือไม่และต้องส่งคืนดอกผลด้วยหรือไม่
คําตอบ....................................................................................
(3) ใช้สอยทรัพย์ที่ยึดหน่วง (มาตรา 246)
มาตรา 246 วรรคสอง “อนึ่ง ทรัพย์สินซึ่งยึดหน่วงไว้นั้นถ้ามิได้รับความยินยอมของลูกหนี้
ท่านว่าผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงหาอาจจะใช้สอยหรือให้เช่าหรือเอาไปท าหลักประกันได้ไม่ แต่ความที่กล่าวนี้
ท่านมิให้ใช้บังคับไปถึงการใช้สอยเช่นที่จ าเป็นเพื่อจะรักษาทรัพย์สินนั้นเอง”
(4) เรียกให้เจ้าทรัพย์ชดใช้ค่าใช้จ่ายที่จําเป็นเกี่ยวด้วยทรัพย์สินอันตนยึดหน่วงไว้
มาตรา 247 “ถ้าผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงต้องเสียค่าใช้จ่ายไปตามที่จ าเป็นเกี่ยวด้วยทรัพย์สินอันตน
ยึดหน่วงไว้นั้นเพียงใด จะเรียกให้เจ้าทรัพย์ชดใช้ให้ก็ได้”
(5) ใช้สิทธิยึดหน่วงได้โดยไม่ทําให้อายุความสะดุดหยุดลง เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิบังคับชําระหนี้จาก
ทรัพย์ที่ยึดไว้แม้สิทธิเรียกร้องหลักจะขาดอายุความ แต่ใช้บังคับให้ชําระดอกเบี้ยที่ค้างย้อนหลังเกิน 5 ปี
ไม่ได้
มาตรา 248 “ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา 193/27 การใช้สิทธิยึดหน่วงหาท าให้อายุ
ความแห่งหนี้สะดุดหยุดลงไม่”
6.4 หน้าที่ของผู้ทรงสิทธิยึดหน่วง
(1) จัดการดูแลรักษาทรัพย์ที่ยึดหน่วงไว้ตามสมควร (มาตรา 246 วรรคหนึ่ง)
(2) งดเว้นไม่ใช้สอยหรือให้เช่าทรัพย์สินที่ยึดหน่วง หรือเอาไปทําเป็นหลักประกัน เว้นแต่จะ
ได้รับความยินยอมจากเจ้าหนี้ หรือใช้สอยเท่าที่จําเป็นเพื่อรักษาทรัพย์นั้น (มาตรา 246 วรรคสอง)
หากฝุาฝืน ลูกหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้ระงับสิทธิยึดหน่วงนั้นได้ (มาตรา 246 วรรคสาม)
มาตรา 246 “ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงจ าต้องจัดการดูแลรักษาทรัพย์สินที่ยึดหน่วงไว้นั้นตามสมควร
เช่นจะพึงคาดหมายได้จากบุคคลในฐานะเช่นนั้น
อนึ่ง ทรัพย์สินซึ่งยึดหน่วงไว้นั้นถ้ามิได้รับความยินยอมของลูกหนี้ ท่านว่าผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงหา
อาจจะใช้สอยหรือให้เช่าหรือเอาไปท าหลักประกันได้ไม่ แค่ความที่กล่าวนี้ท่านมิให้ใช้บังคับไปถึงการใช้
สอยเช่นที่จ าเป็นเพื่อจะรักษาทรัพย์สินนั้นเอง
ถ้าผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงกระท าการฝ่าฝืนบทบัญญัติใดที่กล่าวมานี้ ท่านว่าลูกหนี้จะเรียกร้องให้
ระงับสิทธินั้นเสียก็ได้”
6.5 ความระงับแห่งสิทธิยึดหน่วง
(1) เมื่อเจ้าหนี้ได้รับชําระหนี้จนสิ้นเชิง
(2) ลูกหนี้เรียกร้องให้ระงับ เพราะเจ้าหนี้ฝุาฝืนหน้าที่ในการดูแลรักษาทรัพย์และการใช้ทรัพย์
(มาตรา 246)
58