Page 59 -
P. 59
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
(3) ลูกหนี้เรียกร้องให้ระงับ เพราะลูกหนี้ได้จัดหาประกันแห่งหนี้ตามสมควร (มาตรา 249)
(4) การครอบครองทรัพย์ของเจ้าหนี้สูญสิ้นไป เว้นแต่ทรัพย์นั้นได้เช่าไปหรือจํานําโดยความ
ยินยอมของลูกหนี้ (มาตรา 250)
(5) ทรัพย์ที่ยึดหน่วงสูญหายหรือถูกทําลาย
สําหรับ “สิทธิยึดหน่วง” นี้ยังมีบัญญัติอยู่ในกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เรื่องอื่นๆ ด้วย อาทิ ซื้อ
ขาย (มาตรา 468) ขนส่ง (มาตรา 630) ฝากทรัพย์ (มาตรา 670) เจ้าสํานักโรงแรม (มาตรา 679)
ตัวแทน (มาตรา 819) เป็นต้น
7. บุริมสิทธิ เป็นมาตรการคุ้มครองให้เจ้าหนี้ได้รับชําระหนี้ประการหนึ่ง
7.1 ความหมายและลักษณะบุริมสิทธิ
มาตรา 251 “ผู้ทรงบุริมสิทธิย่อมทรงไว้ซึ่งสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ในการที่จะได้รับ
ช าระหนี้อันค้างช าระแก่ตนจากทรัพย์สินนั้นก่อนเจ้าหนี้อื่นๆ โดยนัยดังบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายนี้
หรือบทกฎหมายอื่น”
7.2 ประเภทของบุริมสิทธิ
(1) บุริมสิทธิสามัญ : มีอยู่เหนือกองทรัพย์สินทั้งหมดของลูกหนี้
มาตรา 253 “ถ้าหนี้มีอยู่เป็นคุณแก่บุคคลผู้ใดในมูลอย่างหนึ่งอย่างใดดังจะกล่าวต่อไปนี้ บุคคล
ผู้นั้นย่อมมีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินทั้งหมดของลูกหนี้ คือ
(1) ค่าใช้จ่ายเพื่อประโยชน์ร่วมกัน 15
(2) ค่าปลงศพ 16
(3) ค่าภาษีอากร 17 และเงินที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับเพื่อการงานที่ได้ท าให้แก่ลูกหนี้ซึ่งเป็น
18
นายจ้าง
(4) ค่าอุปโภคบริโภคอันจ าเป็นประจ าวัน 19 ”
(2) บุริมสิทธิพิเศษ : มีอยู่เหนือทรัพย์สินเฉพาะเจาะจง
(2.1) บุริมสิทธิพิเศษเหนือสังหาริมทรัพย์
มาตรา 259 “ถ้าหนี้มีอยู่เป็นคุณแก่บุคคลผู้ใดในมูลอย่างหนึ่งอย่างใดดั่งจะกล่าวต่อไปนี้
บุคคลผู้นั้นย่อมมีบุริมสิทธิเหนือสังหาริมทรัพย์เฉพาะอย่างของลูกหนี้ คือ
(1) เช่าอสังหาริมทรัพย์
(2) พักอาศัยในโรงแรม
(3) รับขนคนโดยสารหรือของ
(4) รักษาสังหาริมทรัพย์
(5) ซื้อขายสังหาริมทรัพย์
15 โปรดดู มาตรา 254
16
มาตรา 255
17
มาตรา 256
18
มาตรา 257
19 มาตรา 258
59