Page 60 -
P. 60
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
(6) ค่าเมล็ดพันธุ์ ไม้พันธุ์ หรือปุ๋ย
(7) ค่าแรงงานกสิกรรมหรืออุตสาหกรรม ”
(2.2) บุริมสิทธิพิเศษเหนืออสังหาริมทรัพย์
มาตรา 273 “ถ้าหนี้มีอยู่เป็นคุณแก่บุคคลผู้ใดในมูลอย่างหนึ่งอย่างใดดั่งจะกล่าวต่อไปนี้ บุคคล
ผู้นั้นย่อมมีบุริมสิทธิเหนืออสังหาริมทรัพย์เฉพาะอย่างของลูกหนี้ คือ
(1) รักษาอสังหาริมทรัพย์
(2) จ้างท าของเป็นการงานท าขึ้นบนอสังหาริมทรัพย์
(3) ซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ”
7.3 ล าดับแห่งบุริมสิทธิ
(1) ระหว่างหนี้บุริมสิทธิกับเจ้าหนี้สามัญ (มาตรา 251) ถือว่าเจ้าหนี้บุริมสิทธิมีสิทธิ
ได้รับชําระหนี้ก่อนเจ้าหนี้สามัญ
(2) ระหว่างหนี้บุริมสิทธิสามัญด้วยกัน (มาตรา 253 277 วรรคแรก และ 280) กรณี
เจ้าหนี้ในลําดับที่จะได้รับชําระหนี้ลําดับเดียวกัน ให้เฉลี่ยสิทธิในการรับชําระหนี้เท่าๆ กัน
(3) ระหว่างหนี้บุริมสิทธิสามัญกับหนี้บุริมสิทธิพิเศษ (มาตรา 277 วรรคสอง และ 280)
ถือว่าเจ้าหนี้บุริมสิทธิพิเศษมีสิทธิได้รับชําระหนี้ก่อนเจ้าหนี้บุริมสิทธิสามัญ
(4) ระหว่างหนี้บุริมสิทธิพิเศษเหนือสังหาริมทรัพย์ (มาตรา 278 และ 280) กรณี
เจ้าหนี้ในลําดับที่จะได้รับชําระหนี้ลําดับเดียวกัน ให้เฉลี่ยสิทธิในการรับชําระหนี้เท่าๆ กัน
(5) ระหว่างหนี้บุริมสิทธิพิเศษเหนืออสังหาริมทรัพย์ (มาตรา 279 และ 280) กรณี
เจ้าหนี้ในลําดับที่จะได้รับชําระหนี้ลําดับเดียวกัน ให้เฉลี่ยสิทธิในการรับชําระหนี้เท่าๆ กัน
8. การโอนสิทธิเรียกร้อง
8.1 หลักเกณฑ์การโอนสิทธิเรียกร้อง
เจ้าหนี้ ลูกหนี้
ผู้รับโอน
เกิดจากการตกลงกันระหว่างเจ้าหนี้เดิมกับเจ้าหนี้ใหม่ ผล คือ ผู้รับโอนเข้ามาเป็นเจ้าหนี้แทนเจ้าหนี้เดิม
(เปลี่ยนตัวเจ้าหนี้โดยผลของกฎหมาย : สัญญา)
8.2 สิทธิเรียกร้องที่โอนไม่ได้
(1) สภาพแห่งสิทธินั้นเองไม่เปิดช่องให้โอนแก่กันได้ (มาตรา 303 วรรคหนึ่ง) เช่น สิทธิเก็บกิน
สิทธอาศัย เป็นต้น เป็นเรื่องเฉพาะตัว เช่น ค่าอุปการะเลี้ยงดู เป็นต้น
(2) คู่กรณีมีข้อตกลงห้ามโอนไว้ (มาตรา 303วรรคสอง) ยกต่อสู้ผู้รับโอนโดยสุจริตไม่ได้ (ผู้รับ
โอนไม่รู้ ลูกหนี้ต้องชําระ แล้วไปฟูองเรื่องผิดสัญญากันเอง)
60