Page 55 -
P. 55
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
คําพิพากษาฎีกาที่5371/2534 แม้จําเลยที่ 3 จะเป็นน้องร่วมบิดามารดาเดียวกับทนายความซึ่ง
เป็นหัวหน้า สนง. ที่แก้ต่างคดีให้แก่ จําเลยที่ 1 และจําเลยที่ 2 ในคดีเดิมก็ตาม แต่จําเลยที่ 3 มีอาชีพ
ค้าขายอยู่คนละอําเภอกับ สนง. ทนายความดังกล่าว และไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจําเลยที่ 3 ได้เกี่ยวข้อง
กับ สนง. ดังกล่าว ทั้งการซื้อขายที่ดินก็ปรากฏว่าจําเลยที่ 3 ซื้อจากจําเลยที่ 1 จํานวน 5 แปลง ซึ่งเป็น
ของภริยาจําเลยที่ 1 จํานวน 4 แปลง เป็นของ จําเลยที่ 1 1 แปลง พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่า จําเลยที่
3 ซื้อที่ดินจากจําเลยที่ 1 และจําเลยที่ 2 โดยมิได้รู้เท่าถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้
ของจําเลยที่ 1 และจําเลยที่ 2 ต้องเสียเปรียบตามมาตรา 237 วรรคแรก
(5) หากมีผู้ได้ลาภงอก ผู้ได้ลาภงอกนั้นต้องรู้ว่าเป็นทางให้เจ้าหนี้ เสียเปรียบ เว้นแต่เป็น
การให้โดยเสน่หา การรู้ของผู้ได้ลาภงอกไม่ใช่สาระส าคัญ ลูกหนี้รู้เพียงคนเดียวก็เพียงพอ
ผู้ได้ลาภงอกที่ทํานิติกรรมโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน (รวมถึงกรณีเสียค่าตอบแทนให้บุคคล
อื่นด้วย) จะได้รับความคุ้มครอง เพราะเกิดความเสียหาย
(6) เจ้าหนี้ต้องฟ้องศาล โดยฟูองทั้งตัวลูกหนี้และผู้ได้ลาภงอกเป็นจําเลยร่วมกันเพราะคํา
พิพากษาไม่อาจมีผลถึงบุคคลภายนอกที่มิใช่คู่ความได้ (ประมวลวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 และ
145)
5.2.2 ผลของการเพิกถอนการฉ้อฉล
(1) ผลต่อลูกหนี้ : ลูกหนี้ไม่ต้องผูกพันตามนิติกรรมที่ถูกเพิกถอน และทรัพย์สินของลูกหนี้ต้องชําระ
แก่เจ้าหนี้
(2) ผลระหว่างเจ้าหนี้ด้วยกัน : เจ้าหนี้ทุกคนได้ประโยชน์จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ (มาตรา 239)
(3) ผลกับผู้ได้ลาภงอก : บังคับตามนิติกรรมนั้นไม่ได้ หากผู้ได้ลาภงอกชําระราคาแก่ลูกหนี้ ก็เรียก
คืนฐานลาภมิควรได้
(4) ผลต่อบุคคลภายนอก : บุคคลภายนอกที่ได้สิทธิมาโดยสุจริตก่อนเริ่มฟูองคดีย่อมได้รับความ
คุ้มครอง แต่ถ้าได้มาโดยเสน่หา ก็เพิกถอนได้(มาตรา 238)
5.2.3 อายุความของการเพิกถอนการฉ้อฉล
มาตรา 240 “การเรียกร้องการเพิกถอนนั้น ท่านห้ามมิให้ฟ้องร้องเมื่อพ้นปีหนึ่งนับแต่เวลาที่
เจ้าหนี้ได้รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอน หรือพ้นสิบปีนับแต่ได้ท านิติกรรมนั้น”
การแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กันเป็นโมฆะตามมาตรา 155 วรรคหนึ่ง มิใช่การฉ้อฉลตามมาตรา
237 จึงไม่อยู่ในบังคับอายุความตามมาตรา 240 (คําพิพากษาฎีกาที่ 2041/2547)
คําพิพากษาฎีกาที่ 3591/2538 โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทกรม มีอธิบดีเป็นผู้แทน และมี
อํานาจฟูองคดีแทน แม้นาย ส. และนาย พ. เจ้าพนักงานของโจทก์ทราบเรื่องก่อนฟูองเกิน 1 ปี แต่
บุคคลทั้งสองก็ไม่ใช่ผู้แทนโจทก์ผู้มีอํานาจฟูองคดี จึงยังไม่เริ่มนับอายุความ
คําพิพากษาฎีกาที่ 289/2537 เมื่อโจทก์ได้ว่าจ้างสํานักงานกฎหมาย ท. สืบหาทรัพย์สินของ
ลูกหนี้ของโจทก์ สํานักงาน ท. มอบหมาย อ. ไปสืบหา เมื่อ อ. สืบทราบว่าลูกหนี้มีทรัพย์สินเป็นบ้านและ
55