Page 51 -
P. 51
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
— มาตรา 232 “ถ้าตามความในมาตราก่อนนี้เป็นอันว่าจะเอาเงินจ านวนหนึ่งให้แทนทรัพย์สินที่
ท าลายหรือบุบสลายไซร้ เงินจ านวนนี้ท่านยังมิให้ส่งมอบแก่ผู้รับจ านอง ผู้รับจ าน า หรือเจ้าหนี้มีบุริมสิทธิ
คนอื่น ก่อนที่หนี้ซึ่งได้เอาทรัพย์นี้เป็นประกันไว้นั้นจะถึงก าหนดและถ้าคู่กรณีไม่สามารถตกลงกับลูกหนี้
ได้ไซร้ ท่านว่าต่างฝ่ายต่างมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้น าเงินจ านวนนั้นไปวางไว้ ณ ส านักงานวางทรัพย์เพื่อ
ประโยชน์อันร่วมกันเว้นแต่ลูกหนี้จะหาประกันให้ไว้ตามสมควร”
—
— สรุปหลักเกณฑ์การรับช่วงสิทธิ
— 1. ผู้รับประกันภัยรู้/ควรจะรู้ถึงการจํานอง/บุริมสิทธิ
— 2. ผู้รับประกันภัยต้องบอกกล่าวเจตนาที่จะใช้เงินให้ผู้เอาประกันภัยให้ผู้รับจํานอง/เจ้าหนี้
บุริมสิทธิทราบเพื่อคัดค้าน
— 3. หากไม่คัดค้านภายใน 1 เดือนนับแต่วันบอกกล่าว ผู้รับประกันภัยใช้เงินได้
— 4. หนี้ที่เอาทรัพย์เป็นประกันต้องถึงกําหนดชําระ
— 5. การวางทรัพย์ เมื่อตกลงกันไม่ได้
—
— (2) กรณีสังหาริมทรัพย์
— มาตรา 231 วรรคสาม “ในกรณีที่เป็นสังหาริมทรัพย์ ผู้รับประกันภัยจะใช้เงินให้แก่ผู้เอา
ประกันภัยโดยตรงก็ได้ เว้นแต่ตนจะได้รู้หรือควรจะได้รู้ว่าทรัพย์นั้นตกอยู่ในบังคับจ าน าหรือบุริมสิทธิ
อย่างอื่น”
— หากทรัพย์สินที่เอาประกันภัยไว้ได้คืนกลับมาหรือมีการจัดของแทนให้ ผู้รับประกันภัยก็ไม่ต้อง
รับผิดต่อเจ้าหนี้ตามมาตรา 231 วรรคสี่
— กรณีตามมาตรา 231 วรรคหนึ่งถึงวรรคสี่ ให้นํามาใช้บังคับกับกรณีการบังคับซื้อ (เช่น การ
เวนคืนที่ดิน เป็นต้น) และกรณีที่ต้องใช้ค่าเสียหายอันควรจะได้แก่เจ้าของทรัพย์สินเพราะเหตุทรัพย์สิน
ทําลายหรือบุบสลายด้วย (มาตรา 231 วรรคห้า)
5. มาตรการคุ้มครองกองทรัพย์สินของลูกหนี้
5.1 การใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ (มาตรา 233 ถึง 236)
โดยหลักแล้ว เจ้าหนี้ย่อมใช้สิทธิเรียกร้องของตนที่มีอยู่เหนือลูกหนี้ของตนได้อยู่แล้ว โดยการ
ฟูองคดีตามมาตรา 213 ซึ่งเมื่อชนะคดี เจ้าหนี้ในฐานะเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาย่อมยึดทรัพย์สินของ
ลูกหนี้และอายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ที่มีต่อบุคคลภายนอกได้โดยผ่านเจ้าพนักงานบังคับคดี หรือ ใน
อีกทางหนึ่ง เจ้าหนี้อาจเลือกใช้สิทธิเรียกร้องของบุคคลภายนอกตามมาตรา 233 ก็ได้ (โปรดดู
คําพิพากษาฎีกาที่ 773/2549)
51