Page 47 -
P. 47

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี





                       •  บุคคลที่มีความผูกพันเพื่อผู้อื่นในการช าระหนี้มีส่วนได้เสีย
                    ข และ ค กู้เงิน ก    100,000 บาท

                   ก (จน.)                           ข (ลน.)


                                                      ค ผู้ค้ําประกัน(ผู้มีส่วนได้เสีย)

                          ดังนี้ หาก ค เข้าชําระหนี้ทั้งหมดให้ ก แล้ว ค ย่อมรับช่วงสิทธิจาก ก ไปเรียกเอาจาก ข
                          คําถาม เรียกจาก ข ได้เท่าใด

                          คําตอบ..................................................................
                          กรณีผู้ค้ําประกันหลายคน ยังคงต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ตาม มาตรา  682 วรรคสอง ถ้าผู้ค้ํา

                   ประกันคนหนึ่งชําระหนี้ ก็รับช่วงสิทธิไปไล่เบี้ยลูกหนี้ได้ทั้งหมด ตาม มาตรา  229 (3) นอกจากนี้ ยังรับ

                   ช่วงสิทธิไปเรียกเอาจากผู้ค้ําประกันคนอื่นๆ ได้ด้วย ตาม มาตรา 229(3) และ 296 ด้วย แล้วแต่จะเลือก
                   (คําพิพากษาฎีกาที่ 5035/2549 คําพิพากษาฎีกาที่ 2111/2551)

                          คําพิพากษาฎีกาที่ 3716/2525 เดิมจําเลยทําสัญญาเช่าซื้อรถพิพาทจากโจทก์ ต่อมา โจทก์ขาย
                   รถพิพาทให้แก่ บริษัท ค โดยให้จําเลยไปทําสัญญาเช่าซื้อกับบริษัท ค และโจทก์ทําหนังสือรับรองว่าจะ

                   ติดตามเรียกเก็บให้และจะจ่ายเงินแทนให้ก่อน หากผู้ให้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ โจทก์ต้องมีหน้าที่

                   ติดตามยึดรถ และรับซื้อรถคืนในราคาที่ จําเลยค้างชําระ ดังนี้ โจทก์จึงมีส่วนได้เสียด้วยในสัญญาเช่าซื้อ
                   ระหว่างจําเลยกับบริษัท ค โดยมีความผูกพันเพื่อจําเลยในอันจะต้องใช้หนี้และมีส่วนได้เสียด้วยในการใช้

                   หนี้นั้น เมื่อ บริษัท ค บอกเลิกสัญญาฯ และโจทก์ต้องชําระเงินให้ ค ไป  โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิมาไล่เบี้ย
                   เอาแก่จําเลยได้

                          คําพิพากษาฎีกาที่ 800/2533 เมื่อ โจทก์ซึ่งมีความผูกพันร่วมกับจําเลยที่ 1 ได้ใช้หนี้ของ จําเลย

                   ที่ 1 ให้แก่ ธนาคารผู้ให้กู้ไปแล้ว โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิของธนาคารผู้ให้กู้ที่มีต่อจําเลยทั้งสอง แม้ จําเลย
                   ที่ 2 จะไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ แต่จําเลยที่ 2 เป็นลูกหนี้ร่วมกับจําเลยที่ 1 จึงรับผิดต่อโจทก์ด้วย


                          (3) กรณีผู้จะเสียสิทธิในทรัพย์ช าระหนี้แทน ลูกหนี้ตาม มาตรา 230

                          มาตรา 230  “ถ้าในการที่เจ้าหนี้บังคับยึดทรัพย์อันหนึ่งอันใดของลูกหนี้นั้น บุคคลผู้ใดจะต้อง

                   เสี่ยงภัยเสียสิทธิในทรัพย์อันนั้นเพราะการบังคับยึดทรัพย์ไซร้ ท่านว่าบุคคลผู้นั้นมีสิทธิจะเข้าใช้หนี้เสีย
                   แทนได้ อนึ่งผู้ครองทรัพย์อันหนึ่งอันใดถ้าจะต้องเสี่ยงภัยเสียสิทธิครองทรัพย์นั้นไปเพราะการบังคับยึด

                   ทรัพย์ ก็ย่อมมีสิทธิจะท าได้เช่นเดียวกับที่ว่ามานั้น
                          ถ้าบุคคลภายนอกผู้ใดมาใช้หนี้แทนจนเป็นที่พอใจของเจ้าหนี้แล้ว บุคคลนั้นย่อมเข้ารับช่วงสิทธิ

                   เรียกร้องของเจ้าหนี้ แต่สิทธิเรียกร้องอันนี้จะบังคับให้เป็นที่เสื่อมเสียแก่เจ้าหนี้หาได้ไม่”












                                                             47
   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52