Page 43 -
P. 43
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
มูลหนี้นั้นที่จะสามารถเรียกร้องเอากับ ลูกหนี้แห่งสิทธินั้นได้ เป็นการเปลี่ยนตัว เจ้าหนี้โดยผลของ
กฎหมาย
เหตุที่ท าให้เกิดการรับช่วงสิทธิ
เหตุเฉพาะที่ทําให้เกิดการรับช่วงสิทธิ : ค้ําประกัน (มาตรา693) จํานอง (มาตรา724 725 และ
734) ประกันภัย (มาตรา 880) เป็นต้น แต่เหตุตามกฎหมายว่าด้วยหนี้มีดังนี้
(1) กรณี ลูกหนี้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่เจ้าหนี้ตาม มาตรา 227
มาตรา 227 “เมื่อเจ้าหนี้ได้รับค่าสินไหมทดแทนความเสียหายเต็มราคาทรัพย์หรือสิทธิซึ่งเป็นวัตถุ
แห่งหนี้นั้นแล้ว ท่านว่า ลูกหนี้ย่อมเข้าสู่ฐานะเป็นผู้รับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้อันเกี่ยวกับทรัพย์หรือสิทธิ
นั้นๆ ด้วยอ านาจกฎหมาย”
• ต้องมีสองมูลหนี้ และต้องเป็นมูลหนี้ที่ต้องรับผิดด้วย
• ต้องมีความเสียหายเกิดขึ้นแล้ว และมีการชดใช้ ค่าสินไหมทดแทน
• ต้องมีการชําระหนี้ก่อน จึงจะรับช่วงสิทธิได้
สุนัขของ ข กัด ก
มูลหนี้ที่ 1 (มูลละเมิด)
ก (จน.) ข (ลน.)
มูลหนี้ที่ 2
(มูลหนี้ตามสัญญา
ประกันอุบัติเหตุ)
ค (ลูกหนี้ผู้รับช่วงสิทธิ)
คําถาม
1. หาก ก ไม่ได้ทําประกันอุบัติเหตุไว้กับ ค เกิดการรับช่วงสิทธิได้หรือไม่
2. ง ภรรยา ก พา ก ไปโรงพยาบาล ง จะรับช่วงสิทธิจาก ก ไปเรียกเอาค่ารักษาพยาบาลจาก ข ได้
หรือไม่
คําตอบ ..................................................................
ตัวอย่างคําพิพากษาฎีกาที่เป็นการรับช่วงสิทธิ
คําพิพากษาฎีกาที่ 1732/2529 ผู้รับประกันภัยซึ่งได้ชําระค่าซ่อมรถยนต์คันที่รับประกันภัยไว้
แก่ผู้รับซ่อมไป เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาประกันภัยเพื่อประโยชน์ของเจ้าของรถยนต์ผู้เอา
ประกันภัย จึงรับช่วงสิทธิมาฟูองเรียกค่าซ่อมรถได้
คําพิพากษาฎีกาที่ 188/2522 โจทก์ทําสัญญาใช้สถานีบริการขายน้ํามันของบริษัท อ. ในสัญญา
ระบุว่า หาก ทส. ของบริษัทฯ ได้รับ คสห. เนื่องจากความจงใจหรือประมาทเลินเล่อของโจทก์หรือจําเลย
หรือบุคคลอื่น โจทก์ต้องรับผิดชอบค่าซ่อมแซมหรือชดใช้ราคาทรัพย์สินนั้น ต่อมา เมื่อเกิดความเสียหาย
43