Page 39 -
P. 39
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ทอดตลาดเอาเงินใช้หนี้แก่เจ้าหนี้ก็ยังถือไม่ได้ว่าสภาพแห่งการบังคับคดีไม่เปิดช่องให้กระท าได้ เพราะ
หากจะมีการขายทอดตลาดบ้านเรือนสิ่งปลูกสร้าง ผู้ซื้อก็จะต้องรื้อถอนออกไปเช่นเดียวกัน ดังนั้น โจทก์
จะเข้ารื้อถอนบ้านเรือนของจําเลยตามคําสั่งศาล แล้วเอาทรัพย์สินที่รื้อถอนมอบให้เจ้าพนักงานบังคับคดี
ยึดไว้ต่อไปก็ย่อมทําได้โดยชอบ
คําพิพากษาฎีกาที่ 315/2534 รถคันพิพาทที่โจทก์ซื้อจากจําเลยที่ 1 เป็นของจําเลยที่ 2 และ
จําเลยที่ 2 มิได้เชิดจําเลยที่ 1 เป็นตัวแทน ดังนั้น จําเลยที่ 2 จึงไม่มีนิติสัมพันธ์อันใดเกี่ยวกับรถคัน
พิพาทกับโจทก์การโอนทะเบียนรถยนต์อันเกี่ยวกับทรัพย์ซึ่งเป็นวัตถุแห่งหนี้จึงไม่อยู่ในอํานาจของ
จําเลยที่ 2 ที่จะปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายกับโจทก์ได้ต่อไป สภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้โจทก์ฟูองขอให้
บังคับจําเลย1 จดทะเบียนโอนรถคันพิพาทเป็นชื่อของโจทก์ได้
มาตรา 213 วรรคสอง (ตอนต้น) ในกรณีเป็นหนี้กระทําการที่ต้องอาศัยความสามารถของ
ลูกหนี้เช่น การวาดรูป การแต่งกลอน การร้องเพลง เป็นต้น ศาลจะ พิพากษาให้บุคคลภายนอกกระท า
การแทนโดยให้ ลูกหนี้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ไม่ได้ ได้แต่จะเรียกค่าเสียหายอันเกิดจากการไม่ชําระหนี้
เลย
คําพิพากษาฎีกาที่ 4709/2545 จําเลยเป็นตัวแทนผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทน โจทก์
ซึ่งเป็นตัวการ จําเลยจึงมีหน้าที่ต้องส่งมอบที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ในสภาพที่รับไว้ตามมาตรา 810 วรรค
หนึ่ง แต่จําเลยกลับจดทะเบียนจํานองไว้แก่ธนาคารโดยโจทก์ไม่ยินยอม จําเลยจึงต้องจดทะเบียนที่ดิน
พิพาทคืนแก่โจทก์โดยการปลอดจํานองเช่นเดิม เมื่อจําเลยไม่ได้ทําการไถ่ถอนจํานองโดยการนําเงินไป
ชําระหนี้แก่ธนาคารจนครบถ้วน จึงเป็นกรณี สภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับช าระหนี้ได้ ศาล
พิพากษาให้โจทก์ไถ่ถอนจํานองได้เองโดยให้จําเลยเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นได้
มาตรา213 วรรคสอง (ตอนปลาย) ในกรณีหนี้กระทําการเป็น การท านิติกรรมซึ่งเป็นการแสดง
เจตนานั้น ศาลสั่งให้เอาคําพิพากษาแทนการแสดงเจตนาได้หาก ลูกหนี้ไม่ทํานิติกรรม หากเป็นหนี้อย่าง
อื่น (คําพิพากษาฎีกาที่ 3859/2525 3110/2539 4920/2547) เช่น หนี้จากมูลละเมิด (โปรดดูคํา
พิพากษาฎีกาที่ 7091/2552) เป็นต้น ศาลก็จะพิพากษาแทนการแสดงเจตนาไม่ได้
คําพิพากษาฎีกาที่ 3859/2525 ศาลพิพากษาห้ามจําเลยขัดขวางการขอออกโฉนดที่พิพาทของ
โจทก์ได้ แต่จะให้ถือเอาคําพิพากษาแสดงเจตนาของจําเลยว่าไม่ขัดขวางไม่ได้ เพราะไม่ใช่กรณีที่ศาล
บังคับจําเลยให้กระทํานิติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง
คําพิพากษาฎีกาที่ 4920/2547 โจทก์ฟูองบังคับให้จําเลยส่งมอบโฉนดที่ดิน ไม่ใช่เป็นการให้
กระทํานิติกรรม ศาลจึงไม่อาจสั่งให้ถือเอาคําพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจําเลยได้
คําพิพากษาฎีกาที่ 3110/2539 การซื้อทรัพย์ในท้องตลาดหมายถึงการซื้อทรัพย์จากร้านค้าที่
ตั้งอยู่ในท้องตลาด ไม่ใช่เป็นการที่ร้านค้าเหล่านั้นซื้อทรัพย์จากบุคคลที่นํามาขายแก่ตนเท่านั้น จําเลยตั้ง
ร้านค้าอยู่ในท้องตลาดซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลของ โจทก์ที่ถูกคนร้ายลักไปจากผู้ที่นํามาขาย ถือไม่ได้ว่า
จําเลยซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลในท้องตลาด จําเลยจึงต้องคืนสลากฯ ให้โจทก์ วัตถุแห่งหนี้ในการคืนสลาก
กินแบ่งรัฐบาลมิใช่เป็นการบังคับให้กระท านิติกรรม จึงพิพากษาให้ถือเอาคําพิพากษา ของศาลแทนการ
แสดงเจตนาในกรณีที่จําเลยไม่ยอมคืนสลากฯ ให้ โจทก์ไม่ได้
ส่วนการหย่า ผู้มีส่วนได้เสียสามารถยื่นสําเนาคําพิพากษาถึงที่สุดต่อนายทะเบียนเพื่อบันทึกไว้
ได้ตาม พ.ร.บ. การจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2498 ไม่จําต้องเป็นสามีหรือภรรยา ในกรณีนี้ ศาลจึงไม่
จําต้องพิพากษาให้ใช้คําพิพากษาแทนการแสดงเจตนา (โปรดดูคําพิพากษาฎีกาที่ 2141/2531)
39