Page 40 -
P. 40
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
หนี้ที่เป็นการโอนทรัพย์สิน
หากเป็นการส่งมอบทรัพย์ซึ่งเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ไปในตัว (เช่น ซื้อขายสังหาริมทรัพย์ทั่วไป
เป็นต้น) การโอนกรรมสิทธิ์เป็นไปโดยอัตโนมัติ เหลือเพียงการส่งมอบ แต่ถ้าเป็นการโอนทรัพย์สินที่ต้อง
จดทะเบียน (เช่น สังหาริมทรัพย์พิเศษ หรือ อสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น) หนี้จะมีอยู่สองอย่าง คือ หนี้ส่ง
มอบทรัพย์ และ หนี้จดทะเบียนโอน หาก ลูกหนี้ละเลยไม่ปฏิบัติการชําระหนี้ ต้องบังคับตามมาตรา 213
วรรคสอง
คําพิพากษาฎีกาที่ 483/2480 ศาลพิพากษาให้ จําเลยโอนที่ดินให้โจทก์ตามสัญญา ถ้าโอนไม่ได้
ให้ใช้ค่าเสียหาย ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าจําเลยยังสามารถกระทําการโอนให้ได้ และถ้าจําเลยไม่ปฏิบัติตามก็
ย่อมถือเอาคําพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาได้
หนี้ที่เป็นการงดเว้นกระท าการ ตามมาตรา 213 วรรคสาม เช่น ห้ามก่อสร้างอาคารปิดบังแสง
สว่างในที่ดินติดกัน หากลูกหนี้ฝุายหนึ่งไม่งดเว้น กระทําการสร้างอาคารปิดบังแสงสว่าง สิทธิตาม
กฎหมายสารบัญญัติ คือ ต้องทําการรื้อถอนโดยให้ลูกหนี้เสียค่าใช้จ่ายรวมถึงให้จัดการอันควรเพื่อกาล
ภายหน้าก็ได้ แต่ถ้ามีการฟูองคดี สิทธิตามกฎหมายวิธีสบัญญัติ ต้องให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเป็น
ผู้ดําเนินการรื้อถอน (คําพิพากษาฎีกาที่ 3486/2542) (โปรดดูประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาคดีแพ่ง
มาตรา 296 ทวิ วรรคหนึ่ง)
มาตรา 213 วรรคสี่ เป็นบทบัญญัติให้สิทธิแก่เจ้าหนี้ต่างหากจากมูลหนี้เดิม หนี้ที่เกิดจากสัญญา
จึงไม่จําเป็นต้องตกลงกันให้ชดใช้ค่าใช้จ่ายไว้ เจ้าหนี้ก็มีสิทธิเรียกได้
คําพิพากษาฎีกาที่ 3313/2525 กรณีโจทก์ฟูองเป็นเรื่องจําเลยละเลยเสียไม่ชําระหนี้ของตนตาม
มูลหนี้สัญญา Letter of Credit ที่ทําไว้กับโจทก์ โจทก์ย่อมจะฟูองศาลขอให้บังคับจําเลยชําระหนี้เต็ม
ตามมูลหนี้นั้นได้ กรณีมิใช่เป็นเรื่องฟูองเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่การไม่ชําระหนี้
3.5.2 การบังคับช าระหนี้จากทรัพย์สินของลูกหนี้
นอกจากการที่เจ้าหนี้จะมีสิทธิบังคับชําระหนี้โดยเฉพาะเจาะจง ตามมาตรา 213 แล้ว เจ้าหนี้ยัง
มีสิทธิบังคับชําระหนี้จากทรัพย์สินของลูกหนี้ตามมาตรา 214 อีกด้วย คือ ได้รับชําระหนี้จากทรัพย์สิน
ของลูกหนี้โดยสิ้นเชิง และหากลูกหนี้ตาย เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิเรียกให้ทายาทชําระหนี้จากทรัพย์สินในกอง
มรดกได้ (คําพิพากษาฎีกาที่ 3705/2551) หรืออาจกล่าวได้ว่า ทรัพย์สินของ ลูกหนี้เป็นประกันแห่งหนี้
ทั้งปวง เว้นแต่เป็นกรณีเจ้าหนี้มีประกัน
มาตรา 733 กรณีเจ้าหนี้จํานอง (1) เอาทรัพย์จ านองหลุดและราคาทรัพย์สินต่ํากว่าจํานวนเงิน
ที่ค้างชําระ หรือ (2) เอาทรัพย์จ านองขายทอดตลาด (ตามมาตรา 728) ได้เงินสุทธิน้อยกว่าจํานวนเงิน
ที่ค้างชําระ ผลก็คือ เงินขาดเท่าใด ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดในเงินจํานวนนั้นอีกต่อไป (โปรดดูคําพิพากษาฎีกา
ที่ 40/2513 คําพิพากษาฎีกาที่ 7007/2541 (ประชุมใหญ่) และ คําพิพากษาฎีกาที่ 3535/2550
เจ้าหนี้มีสิทธิเลือกฟูองคดีตามมาตรา 733 หรือ 728 ก็ได้ หากฟูองและชนะคดีก็จะเป็น เจ้าหนี้
ตามคําพิพากษามีสิทธิยึดทรัพย์สินซึ่งจํานองและทรัพย์สิน อื่นมาชําระหนี้ได้จนครบ
(โปรดดูคําพิพากษาฎีกาที่ 932/2550) กรณีนี้ แม้มิได้เป็นการฟูองบังคับจํานอง แต่ถ้าเจ้าหนี้ตามคํา
พิพากษายึดทรัพย์จํานองออกขายทอดตลาด ก็ยังคงมีบุริมสิทธิอยู่นั่นเอง
อนึ่ง คู่กรณีตกลงยกเว้นมาตรา 733 ได้ มิใช่กฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือ
ศีลธรรมอันดีของประชาชนตามมาตรา 150 กล่าวคือ ให้ลูกหนี้รับผิดในหนี้ที่ยังขาดอยู่ได้ ไม่เป็นโมฆะ
40