Page 45 -
P. 45
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
(2.1) มาตรา 229 (1) เจ้าหนี้ด้อยสิทธิเข้าท าการช าระหนี้
กรณีนี้ต้องมีเจ้าหนี้สองคน มีลูกหนี้คนเดียวกัน หนี้ไม่มีความเกี่ยวข้องกัน อาศัยหลักทรัพย์สิน
ของลูกหนี้เป็นประกันการชําระหนี้ตาม มาตรา 214
สิทธิจ านอง
เป็นการเอาทรัพย์สินตราไว้แก่ผู้รับจํานองเพื่อเป็นการประกันการชําระหนี้ โดยผู้รับจํานองมี
สิทธิได้รับชําระหนี้จากทรัพย์สินนั้นก่อนเจ้าหนี้สามัญ ไม่ว่ากรรมสิทธิ์นั้นจะโอนไปยังบุคคลภายนอกแล้ว
14
หรือไม่ก็ตาม (มาตรา 702)
ข กู้เงิน ก 100,000 บาท (มูลหนี้ที่ 1)
ก ข
ข กู้เงิน ค 2 ล้านบาท โดยเอาที่ดินของตนจํานองเป็น
ประกันเงินกู้ (มูลหนี้ที่ 2)
ค
ดังนี้ ก เป็นเจ้าหนี้สามัญ หาก ก ชําระหนี้ของ ข ให้ ค เจ้าหนี้จํานอง แล้ว ก ย่อมรับช่วงสิทธิ
จาก ค มาเรียกเอาจาก ข ได้
สิทธิจ าน า ได้แก่ กรณีผู้จํานําส่งมอบสังหาริมทรัพย์ให้ผู้รับจํานําเพื่อเป็นประกันการชําระหนี้
(มาตรา 747)
จํานองต้องทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ (มาตรา 714) ส่วนจํานําเพียง
ส่งมอบสังหาริมทรัพย์เท่านั้น
ข กู้เงิน ก 100,000 บาท (มูลหนี้ที่ 1)
ก ข
ข กู้เงิน ค 2 ล้านบาท โดยเอาเอาชุดเครื่องเพชรของตน
จํานําเป็นประกันเงินกู้ (มูลหนี้ที่ 2)
ค
ในกรณีนี้ ก เป็นเจ้าหนี้สามัญ หาก ก ชําระหนี้ของ ข ให้ ค เจ้าหนี้จํานํา แล้ว ก ย่อมรับช่วง
สิทธิจาก ค มาเรียกเอาจาก ข ได้
14
ทรัพย์สินที่จะจํานองได้มีดังนี้ (มาตรา 703) (1) อสังหาริมทรัพย์ (2) สังหาริมทรัพย์ดังต่อไปนี้ (2.1) เรือมีระวาง
ตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป (2.2) แพ (2.3) สัตว์พาหนะ (2.4) สังหาริมทรัพย์อื่นๆ ซึ่งกฎหมายบัญญัติไว้ให้จดทะเบียนเฉพาะการ
เช่น เครื่องจักร รถยนต์ เป็นต้น
45