Page 46 -
P. 46

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี





                          (2.2) มาตรา 229 (2) การซื้อทรัพย์ที่ติดจ านอง
                          กรณีนี้มีมูลหนี้อยู่สองมูลหนี้ ได้แก่  (1)  หนี้จากการจํานองอสังหาฯ และ  (2)  หนี้ซื้อขาย

                   อสังหาฯ นั้น โดยทรัพย์สินดังกล่าวเป็นอันเดียวกัน ซึ่งตามหลักการโอน ทส. ที่จํานอง ไม่ทําให้จํานอง
                   ระงับ (มาตรา 702 วรรคสอง) ดังนั้น เมื่อผู้ซื้อทรัพย์ติดจํานองนั้น และเอาเงินค่าซื้อใช้ให้แก่ผู้รับจํานอง
                   ทรัพย์นั้นแล้ว ผลคือทรัพย์นั้นหลุดจากจํานองและผู้ซื้อรับช่วงสิทธิมาเรียกเอาจากลูกหนี้ได้


                       ข จํานองที่ดินกับ ก (มูลหนี้ที่ 1)
                       ก(เจ้าหนี้ผู้รับจํานอง)      ข (ลูกหนี้ผู้จํานอง)





                                                              ค ซื้อที่ดินดังกล่าวจาก ข (มูลหนี้ที่ 2)


                          ดังนี้ หาก ค เอาเงินราคาค่าซื้อใช้ให้ ก แล้ว ค ย่อมรับช่วงสิทธิจาก ก มาเรียกเอาจาก ข ได้

                          คําพิพากษาฎีกาที่ 2716/2525  การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ซื้อทรัพย์ที่จํานองได้ชําระหนี้ให้ธนาคาร ก

                       แทนจําเลยเป็นการไถ่ถอนจํานองทรัพย์พิพาทจนเป็นที่พอใจของธนาคาร ก และ ธนาคาร ก ได้จด
                       ทะเบียนไถ่ถอนจํานองให้ จําเลยแล้ว ผู้ร้องย่อมเข้ารับช่วงสิทธิจํานองของธนาคาร ก ที่อยู่เหนือ
                       ทรัพย์พิพาทในอันที่จะได้รับชําระหนี้จากทรัพย์สินพิพาทก่อนเจ้าหนี้รายอื่นตามมาตรา  226  และ
                       229(2)


                          (2.3) มาตรา 229 (3)
                          บุคคลที่มีความผูกพันร่วมกับผู้อื่น เช่น กรณีลูกหนี้ร่วม
                          โปรดดูหลักลูกหนี้ร่วม มาตรา 296


                    ข และ ค กู้เงิน ก 100,000 บาท

                   ก (จน.)                              ข (ลูกหนี้ร่วม)
                        ค (ลูกหนี้ร่วม ผู้มีส่วนได้เสีย)

                          ดังนี้ หาก ค เข้าชําระหนี้ทั้งหมดให้ ก แล้ว ค ย่อมรับช่วงสิทธิจาก ก ไปเรียกเอาจาก ข
                          คําถาม เรียกจาก ข ได้เท่าใด
                          คําตอบ..................................................................
                          คําพิพากษาฎีกาที่ 2370/2526 โจทก์เอาประกันภัยค้ําจุนรถยนต์คันเกิดเหตุไว้แก่จําเลย ลูกจ้าง
                   ของโจทก์ขับรถยนต์ดังกล่าวโดยประมาทไปชนรถยนต์ของ ร. เสียหาย ร. จึงฟูองเรียกค่าเสียหายจาก

                   โจทก์และจําเลย คดีถึงที่สุดโดยศาลพิพากษาให้โจทก์และจําเลยร่วมกันใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ ร. ต่อมา
                   โจทก์และจําเลยไม่ชําระ ร. จะบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของโจทก์ โจทก์จึงชําระหนี้ตามคําพิพากษา
                   ทั้งหมดให้ ร. ไป ดังนี้ โจทก์จึงย่อมเข้าสู่ฐานะผู้รับช่วงสิทธิของ ร. ด้วยอํานาจของกฎหมายมีสิทธิฟูอง

                   เรียกร้องเงินที่โจทก์ได้ชําระให้แก่ ร. ไปแล้วคืนจากจําเลยผู้เป็นลูกหนี้ร่วมได้




                                                             46
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51