Page 48 -
P. 48

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี





                                         ก ฟูองคดี ข และนําบังคับคดีที่ดิน ข
                     ก (จน.)                                               ข (ลน.)

                     ค เข้าชําระหนี้                                     รับช่วงสิทธิมาเรียกจาก ข
                      แทน ข



                       ค เช่า (หรือซื้อ) บ้านและที่ดิน จาก ข (บุคคลภายนอก)
                          เจ้าหนี้อาจเป็นเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาหรือเจ้าหนี้ตามกฎหมายให้อํานาจ เช่น เจ้าหนี้ภาษีอากร
                   ที่สามารถยึดทรัพย์ ลูกหนี้ได้โดยไม่ต้องฟูองศาล ทั้งนี้ ผู้ครองทรัพย์ หมายถึง ผู้ครองทรัพย์ตามความ
                   เป็นจริง


                       สรุปขั้นตอนการเกิดการรับช่วงสิทธิ
                          -  มีหนี้ระหว่าง เจ้าหนี้และ ลูกหนี้

                          -  บุคคลภายนอกมีสิทธิในทรัพย์ของ ลูกหนี้เป็นผู้มีส่วนได้เสีย (ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับหนี้
                   ระหว่าง เจ้าหนี้และ ลูกหนี้เลย)

                          -  เจ้าหนี้บังคับยึดทรัพย์นั้น

                          -  บุคคลภายนอกเสี่ยงภัยเสียสิทธิในทรัพย์นั้นหรือเสี่ยงภัยเสียสิทธิครองทรัพย์นั้น
                          -  บุคคลภายนอกเข้าชําระหนี้แทน

                          -  บุคคลภายนอกเข้ารับช่วงสิทธิจากการชําระหนี้นั้น


                   ผลของการรับช่วงสิทธิ
                       1. รับช่วงสิทธิเต็มจ านวน
                       มาตรา 226 วรรคหนึ่ง “บุคคลผู้รับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ชอบที่จะใช้สิทธิทั้งหลายบรรดาที่
                   เจ้าหนี้มีอยู่โดยมูลหนี้รวมทั้งประกันแห่งหนี้นั้นได้ในนามของตนเอง”

                          ผู้รับช่วงสิทธิ คือ  ผู้ทรงสิทธิแทนเจ้าหนี้เดิม มีสิทธิในหนี้ประธานและหนี้อุปกรณ์ เจ้าหนี้เดิม
                   หมดสิทธิเรียกร้องต่อลูกหนี้ (โปรดดูคําพิพากษาฎีกาที่ 2949/2524) ลูกหนี้ก็ชําระให้เจ้าหนี้เดิมไม่ได้


                       2. รับช่วงสิทธิบางส่วน
                          หากได้รับช่วงสิทธิมาเท่าใด ก็เรียกร้องได้เท่านั้น และการบังคับตามสิทธิเรียกร้องต้องไม่เป็นที่
                   เสื่อมเสียกับเจ้าหนี้กล่าวคือ เจ้าหนี้ยังคงมีสิทธิเรียกร้องเหลืออยู่และมีลําดับในการชําระหนี้ ก็ต้องให้
                   เจ้าหนี้นั้นได้รับชําระหนี้ก่อนผู้รับช่วงสิทธิ (มาตรา 230 วรรคสอง)
                          การรับช่วงสิทธิตามมาตรา  227 อายุความเป็นไปตามมูลหนี้เดิม แต่ถ้ารับช่วงสิทธิตาม มาตรา

                   229(3)  ใช้อายุความทั่วไปตาม มาตรา 193/30  โดยเริ่มนับอายุความตั้งแต่วันที่ชําระหนี้ให้แก่ เจ้าหนี้
                   (โปรดดูคําพิพากษาฎีกาที่ 4117/2550)
                          ผู้รับช่วงสิทธิมีสิทธิได้รับ ดอกเบี้ยนับแต่วันที่รับช่วงสิทธิ (โปรดดูคําพิพากษาฎีกาที่ 961/2535)









                                                             48
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53