Page 44 -
P. 44

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี





                   บริษัทฯ ได้เข้าซ่อมแซมและโจทก์ได้ออกเงินค่าซ่อมให้บริษัทฯ ไปแล้ว โจทก์ย่อมเข้าสู่ฐานะเป็นผู้รับช่วง
                   สิทธิที่จะเรียกร้องให้จําเลยผู้ซึ่งจะต้องรับผิดในความเสียหายนั้นให้ชําระเงินที่จ่ายไปแล้วนั้นได้

                          ตัวอย่างคําพิพากษาฎีกาที่ไม่เป็นการรับช่วงสิทธิ
                          คําพิพากษาฎีกาที่  4590/2536  โจทก์เป็นเพียงผู้รับจ้างซ่อมรถยนต์แล้วรถยนต์ได้รับความ
                   เสียหายจากการกระทําละเมิดของจําเลยไม่ปรากฏว่ามีสัญญาระหว่างโจทก์กับผู้ว่าจ้างหรือเจ้าของ
                   รถยนต์ที่รับไว้ซ่อมว่าโจทก์ต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้น เนื่องจากความประมาทเลินเล่อของ

                   บุคคลภายนอก ทั้งไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ผู้รับจ้างรับช่วงสิทธิในกรณีนี้ได้ โจทก์จึงไม่มีอํานาจฟูองเรียก
                   ค่าเสียหายในส่วนที่โจทก์ได้จ่ายไปแทนผู้ว่าจ้างจากจําเลย
                          คําพิพากษาฎีกาที่ 3451/2524 ในการยืมใช้คงรูปนั้น มาตรา  647 ได้บัญญัติให้ผู้ยืมต้องรับผิด
                   ต่อผู้ให้ยืมเฉพาะแต่กรณีผู้ยืมเอาทรัพย์ที่ยืมไปใช้การอย่างอื่นนอกจากการอันเป็นปกติแก่ทรัพย์สินนั้น

                   หรือนอกจากการอันปรากฏในสัญญา หรือเอาไปให้บุคคลภายนอกใช้สอยหรือเอาไปไว้นานกว่าที่ควรจะ
                   เอาไว้ โจทก์เป็นแต่เพียงผู้ยืมรถคันที่ถูกชน ไม่ได้เป็นเจ้าของและไม่ปรากฏเหตุดังกล่าวที่ โจทก์จะต้อง
                   รับผิด ฉะนั้น โจทก์ในฐานะผู้ยืมจึงไม่ต้องรับผิดต่อเจ้าของรถ และแม้ว่าโจทก์จะได้ซ่อมรถคันดังกล่าว
                   แล้ว โจทก์ก็ไม่อยู่ในฐานะที่จะรับช่วงสิทธิของเจ้าของรถที่จะเรียกร้องให้จําเลยรับผิดได้ เพราะการรับ

                   ช่วงสิทธิจะมีได้ต่อเมื่อผู้รับช่วงสิทธิมีหนี้อันจะต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้คือเจ้าของรถ เมื่อ โจทก์ไม่ใช่ผู้รับช่วง
                   สิทธิ โจทก์จึงไม่มีอํานาจฟูอง
                          คําถาม    นาย ก ยืมรถนาย ข เมื่อวันที่ 1 ก.ค. กําหนดคืน 31 ก.ค. นาย ก ขับไปธุระอย่าง

                   ระมัดระวังแล้ว ปรากฏว่านาย ค ขับรถมาชนรถที่ยืมมาเสียหาย โดยนาย ก ไม่มีส่วนผิด
                    - นาย ก       James ผิดนัดหรือยัง
                    - มีมูลหนี้กี่มูลหนี้ ได้แก่อะไรบ้าง
                    - นาย ง นํารถยนต์ของนาย ข ไปซ่อมให้ นาย ง เป็นผู้มีส่วนได้เสียหรือไม่
                    - นาย ง รับช่วงสิทธิของนาย ข     มาเรียกร้องจากนาย ค ได้หรือไม่

                    - นาย ก นํารถไปซ่อมและนําไปคืนนาย ข        ค่าซ่อมรถที่ออกไป นาย ก รับช่วงสิทธิมาเรียกจาก
                   นาย ค ได้หรือไม่
                    - บริษัทประกันภัยที่นาย ข    ทําไว้ซ่อมรถแล้ว รับช่วงสิทธิไปเรียกจากนาย ค ได้หรือไม่

                          คําตอบ ..................................................................

                          (2) กรณีมีการช าระหนี้แทนลูกหนี้ตาม มาตรา 229
                          มาตรา 229 “การรับช่วงสิทธิย่อมมีขึ้นด้วยอ านาจกฎหมายและย่อมส าเร็จเป็นประโยชน์แก่

                   บุคคลดังจะกล่าวต่อไปนี้ คือ
                                 (1)  บุคคลซึ่งเป็นเจ้าหนี้อยู่เองและมาใช้หนี้ให้เจ้าหนี้อีกคนหนึ่งผู้มีสิทธิจะได้รับใช้หนี้
                   ก่อนตนเพราะเขามีบุริมสิทธิหรือมีสิทธิจ าน าจ านอง”
                                 (2)  บุคคลผู้ได้ไปซึ่งอสังหาริมทรัพย์ใดและเอาเงินราคาค่าซื้อใช้ให้แก่ผู้รับจ านอง

                   ทรัพย์นั้นเสร็จไป
                                 (3)  บุคคลผู้มีความผูกพันร่วมกับผู้อื่นหรือเพื่อผู้อื่นในอันจะต้องใช้หนี้มีส่วนได้เสียด้วย
                   ในการใช้หนี้นั้นและเข้าใช้หนี้นั้น”








                                                             44
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49