Page 42 -
P. 42

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี





                          คําถาม นาย ก รับจ้างขนส่งกระจกซึ่งนาย ข สั่งซื้อมาจากต่างประเทศ กระจกแตกเสียหายใน
                   ระหว่างขนส่ง บุคคลใดต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการออกของและภาษีอากรขาเข้า นอกจากนี้ ยังได้

                   ว่าจ้างบุคคลภายนอกมาติดตั้งกระจกให้ทันงานเปิดศูนย์การค้า
                          คําตอบ     ..................................................................
                    1.ค่าสินไหมทดแทนตามปกติ ได้แก่
                    2.ค่าสินไหมทดแทนที่เกิดแต่พฤติการณ์พิเศษ  ได้แก่                                          .

                          มาตรา 223  “ถ้าฝ่ายผู้เสียหายได้มีส่วนท าความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งก่อให้เกิดความเสียหาย
                   ด้วยไซร้ ท่านว่าหนี้อันจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ฝ่ายผู้เสียหายมากน้อยเพียงใดนั้น ต้องอาศัย
                   พฤติการณ์เป็นประมาณ ข้อส าคัญก็คือว่าความเสียหายนั้นได้เกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่า
                   กันเพียงไร

                          วิธีเดียวกันนี้ ท่านให้ใช้แม้ทั้งที่มีความผิดของฝ่ายผู้ที่เสียหายจะมีแต่เพียง (1) ละเลยไม่เตือน
                   ลูกหนี้ให้รู้สึกถึงอันตรายแห่งการเสียหายอันเป็นอย่างร้ายแรงผิดปกติซึ่งลูกหนี้ไม่รู้หรือไม่อาจรู้ได้ หรือ
                   เพียงแต่ (2) ละเลยไม่บ าบัดปัดป้องหรือบรรเทาความเสียหายนั้นด้วย อนึ่ง บทบัญญัติแห่งมาตรา 220
                   นั้น ท่านให้น ามาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม”
                                                                                          12
                          สําหรับหนี้ที่เกิดจากมูลละเมิด ก็ให้นํามาตรา 223 มาใช้บังคับโดนอนุโลมด้วย

                          ค่าสินไหมทดแทนกรณีอื่นๆ

                          กรณีหนี้เงิน
                                 - หนี้เงินทั่วไป (มาตรา 224)
                                 - หนี้ใช้ราคาทรัพย์ (มาตรา 225)
                          เบี้ยปรับ
                                 - ค่าเสียหายที่กําหนดไว้ล่วงหน้า (มาตรา 379-385)
                                                                     13
                                 - ศาลมีอํานาจในการปรับลด (มาตรา 383)
                                 - เบี้ยปรับเรียกได้ตามที่กําหนดไว้ล่วงหน้า (ไม่ใช่การพิสูจน์ค่าเสียหาย)


                          4. รับช่วงสิทธิและช่วงทรัพย์
                          4.1 การรับช่วงสิทธิ
                          มาตรา 226  “บุคคลผู้รับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ชอบที่จะใช้สิทธิทั้งหลายบรรดาที่เจ้าหนี้มีอยู่โดย
                   มูลหนี้ รวมทั้งประกันแห่งหนี้นั้นได้ในนามของตนเอง”

                          มาตรา 227 “เมื่อเจ้าหนี้ได้รับค่าสินไหมทดแทนเต็มราคาทรัพย์หรือสิทธิซึ่งเป็นวัตถุแห่งหนี้นั้น
                   แล้ว ท่านว่าลูกหนี้ย่อมเข้าสู่ฐานะเป็นผู้รับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้อันเกี่ยวกับทรัพย์หรือสิทธินั้นๆ
                   ด้วยอ านาจกฎหมาย”
                          “การรับช่วงสิทธิ” หมายถึง การที่บุคคลผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่กฎหมาย

                   กําหนดเข้ามาชําระหนี้ให้แก่ เจ้าหนี้และมีผลให้บุคคลดังกล่าวเข้าสวมสิทธิทั้งหลายของ เจ้าหนี้ที่มีอยู่ใน


                   12
                     มาตรา 442 “ถ้าความเสียหายได้เกิดขึ้นเพราะความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งของผู้ต้องเสียหายประกอบด้วยไซร้ ท่านให้
                   นําบทบัญญัติแห่งมาตรา 223 มาใช้บังคับโดยอนุโลม”
                   13
                      สําหรับ “มัดจํา” ศาลมีอํานาจปรับลดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2542 ในกรณีสัญญา
                   ระหว่างผู้บริโภคและผู้ประกอบธุรกิจ




                                                             42
   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47