Page 38 -
P. 38
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
3.5 การบังคับช าระหนี้
3.5.1 การบังคับช าระหนี้โดยเฉพาะเจาะจง
มาตรา 213 “ถ้าลูกหนี้ละเลยเสียไม่ช าระหนี้ของตน เจ้าหนี้จะร้องขอต่อศาลให้สั่งบังคับช าระ
หนี้ก็ได้ เว้นแต่สภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้ท าเช่นนั้นได้
เมื่อสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับช าระหนี้ได้ ถ้าวัตถุแห่งหนี้ปํนอันให้กระท าการอันหนึ่งอัน
ใด เจ้าหนี้จะร้องขอต่อศาลให้สั่งบังคับให้บุคคลภายนอกกระท าการอันนั้นโดยให้ลูกหนี้เสียค่าใช้จ่ายให้ก็
ได้ แต่ถ้าวัตถุแห่งหนี้เป็นอันให้กระท านิติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งไซร้ ศาลจะสั่งให้ถือเอาตามค าพิพากษา
แสดงเจตนาของลูกหนี้ก็ได้
ส่วนหนี้ซึ่งมีวัตถุเป็นอันจะให้งดเว้นการอันใด เจ้าหนี้จะเรียกร้องให้รื่อถอนการที่ได้กระท าลง
แล้วนั้นโดยให้ลูกหนี้เสียค่าใช้จ่าย และให้จัดการอันสมควรเพื่อกาลภายหน้าด้วยก็ได้
อนึ่ง บทบัญญัติในวรรคทั้งหลายที่กล่าวมาก่อนนี้ หากระทบกระทั่งถึงสิทธิที่จะเรียกเอา
ค่าเสียหายไม่”
มาตรา 213 วรรคแรก ให้สิทธิเจ้าหนี้ใช้สิทธิทางศาลฟูองร้องบังคับ ลูกหนี้ที่ละเลยไม่ชําระหนี้
ตนและมีสิทธิเรียกค่าเสียหายได้ด้วย
สําหรับหนี้ที่เกิดจากมูลสัญญา การที่ลูกหนี้ไม่ชําระหนี้ เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิที่จะบังคับชําระหนี้
ตามมาตรา 213 หรือใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามมาตรา 386 – 388 อย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว
เพราะหากใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา คู่สัญญากลับสู่ฐานะเดิมตามมาตรา 391 ย่อมไม่มีมูลหนี้ที่จะเรียกร้อง
ระหว่างกัน (โปรดดูคําพิพากษาฎีกาที่ 510/2545) และหากเลือกฟูองคดี แม้สัญญาจะระบุให้เรียก
ค่าเสียหายได้เท่านั้น เจ้าหนี้ก็มีสิทธิบังคับตามมาตรา 213 ได้เสมอ (โปรดดูคําพิพากษาฎีกาที่
6705/2540)
“สภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้กระท าเช่นนั้นได้”
หากสภาพแห่งหนี้อันใดไม่สามารถบังคับชําระหนี้โดยเฉพาะเจาะจงได้หรือไม่เปิดช่องให้บังคับ
ชําระหนี้ได้ เจ้าหนี้ต้องใช้วิธีอื่นบังคับแทนตามที่มาตรา 213 กําหนดหรือเรียกให้ชดใช้ค่าเสียหายเท่านั้น
จะบังคับเป็นอย่างอื่นไม่ได้ หากเจ้าหนี้จะบังคับเป็นอย่างอื่น ต้องตกลงเป็นแปลงหนี้ใหม่ ซึ่งส่งผลให้หนี้
เดิมระงับ หากลูกหนี้ชําระหนี้เป็นอย่างอื่นและเจ้าหนี้ยอมรับ หนี้ก็ระงับไปตามมาตรา 321
คําพิพากษาฎีกาที่ 230/2533 สัญญาจะซื้อจะขายเป็นสัญญาที่กําหนดให้โอนกรรมสิทธิ์ใน
ทรัพย์สินกันภายหน้า แม้ขณะทําสัญญา ผู้จะขายยังไม่มีกรรมสิทธิ์หรือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินยังไม่
สมบูรณ์ สัญญาก็มีผลบังคับแล้ว ผู้จะซื้อที่ดินย่อมฟูองบังคับให้เจ้าของที่ดินไปจดทะเบียนโอนที่ดินแก่
ตนได้ แม้จะมีชื่อผู้อื่นในหนังสือสําคัญสําหรับที่ดินนั้นแทนเจ้าของที่อยู่ก็ตาม กรณีมิใช่สภาพแห่งหนี้ไม่
เปิดช่อง แต่เป็นเรื่องการปฏิบัติทางทะเบียนเท่านั้น
คําพิพากษาฎีกาที่ 3407/2529 ศาลพิพากษาให้จําเลยจัดการโอนกรรมสิทธิ์และส่งมอบบ้านให้
โจทก์ภายหลัง โจทก์และจําเลยตกลงกันในศาลว่าหากโจทก์มีสิทธิในการเช่าที่ปลูกบ้าน จําเลยจะมอบ
บ้านพิพาทให้โจทก์โดยไม่ต้องรื้อ หากจําเลยมีสิทธิการเช่า โจทก์ต้องรื้อถอนบ้าน เป็นการตกลงเกี่ยวกับ
วิธีการส่งมอบบ้านมีผลบังคับทั้งสองฝุาย เมื่อปรากฏว่า จําเลยเป็นผู้มีสิทธิการเช่าและโจทก์ไม่ยอมรื้อ
บ้าน ศาลชั้นต้นมีอํานาจอนุญาตให้จําเลยรื้อถอนและสั่งให้ โจทก์เสียค่าใช้จ่ายได้ตามมาตรา 213 ส่วน
ค่ารักษาทรัพย์ที่รื้อถอน หากโจทก์มิได้ตกลงด้วย ศาลชั้นต้นก็ไม่มีอํานาจสั่งให้ โจทก์ชําระ
คําพิพากษาฎีกาที่ 1396/2512 กรณีที่ศาลพิพากษาและบังคับจําเลยให้รื้อถอนเรือนสิ่งปลูก
สร้างออกไปจากที่ดินของโจทก์นั้น แม้บ้านเรือนสิ่งปลูกสร้างของจําเลยจะถูกยึดไว้ในคดีอื่นเพื่อขาย
38