Page 33 -
P. 33

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี





                          ดอกเบี้ยตามมาตรา 224 และ 225 ซึ่งเป็นดอกเบี้ยผิดนัดนั้น ถือเป็นความเสียหายที่เจ้าหนี้อาจ
                    เรียกได้ ส่วนดอกเบี้ยเงินกู้ที่เรียกกันนั้น ถือเป็นค่าตอบแทนให้เจ้าหนี้ที่เรียกได้ คิดในอัตราเดียวกันคือ

                    ร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี (มาตรา 7)
                                                                                           10
                          ถ้าตกลงคิดดอกเบี้ยสูงกว่าร้อยละ 7.5 ต่อปีโดยมีเหตุอันจะอ้างได้ตามกฎหมาย  เมื่อผิดนัด คิด
                    ในอัตราที่กําหนดนั้นต่อไปได้ สําหรับหนี้ที่เกิดจากมูลสัญญา ถ้ามีการตกลงคิดดอกเบี้ยไว้ต่ํากว่าร้อยละ
                    7.5  ต่อปีมาก่อนผิดนัดเมื่อผิดนัด เจ้าหนี้คิดได้ในอัตราร้อยละ 7.5  ต่อปีแต่ถ้าคิดไว้สูงกว่าร้อยละ 7.5

                    ต่อปี ต่อมาผิดนัด เจ้าหนี้ยังคงคิดอัตราสูงนั้นได้ต่อไป (คําพิพากษาฎีกาที่ 1916/2544 คําพิพากษา
                    ฎีกาที่ 2064/2544) การผิดนัดไม่มีผลเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย
                          ถ้าตกลงคิดดอกเบี้ยผิดนัดสูงกว่าร้อยละ  7.5  ต่อปี ส่วนที่เกิน ถือว่าเป็นเบี้ยปรับ ศาลลดลงได้
                    ตามมาตรา 383 (โปรดดูคําพิพากษาฎีกาที่ 1021/2547) ถ้าคิดดอกเบี้ยเงินกู้ในอัตราที่ฝุาฝืนกฎหมาย

                    ข้อตกลงส่วนดอกเบี้ยถือเป็นโมฆะ ผู้ให้กู้ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยส่วนนี้ แต่ยังคงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยอัน
                    เกิดจากการผิดนัดนับแต่วันผิดนัด (คําพิพากษาฎีกาที่  2522/2540  470/2548  3375/2549  และ
                    392/2550)
                          อย่างไรก็ตาม สามารถนําสืบพิสูจน์ค่าเสียหายอย่างอื่นเพิ่มเติมได้ ตามวรรคสาม

                          คําถาม จําเลยกู้เงิน โจทก์ตกลงดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 30 ต่อปี บังคับใช้ได้หรือไม่
                          คําตอบ .................................................................. (คําพิพากษาฎีกาที่ 2522/2540)
                          ค่าเสียหายที่โจทก์ขอให้ชําระเป็นรายเดือนนับแต่วันฟูองจนกว่าจะหยุดทําละเมิดนั้นไม่ใช่หนี้ใน

                    อนาคต (โปรดดูคําพิพากษาฎีกาที่ 5208/2533) ให้คิดดอกเบี้ยตั้งแต่เดือนที่ผิดนัดจนกว่าจะชําระเสร็จ

                          การคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยตามมาตรา 224 วรรคสอง
                           ห้ามคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยระหว่างผิดนัด หากเป็นกรณีที่ลูกหนี้เป็นหนี้เงินพร้อมดอกเบี้ย
                    ต่อมามีการแปลงหนี้ใหม่ จากนั้น ลูกหนี้ผิดนัด ย่อมคิดดอกเบี้ยได้ตามมาตรา  224 วรรคหนึ่ง มิใช่การ

                    คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย (คําพิพากษาฎีกาที่  291/2544) อย่างไรก็ตาม หากมีกฎหมายให้อํานาจคิด
                    ดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยได้ ย่อมไม่ผิด (โปรดดูคําพิพากษาฎีกาที่ 5291/2540)
                          คําพิพากษาฎีกาที่ 291/2544 จําเลยเป็นลูกหนี้โจทก์ตามสัญญากู้ยืมเงินยังมิได้ชําระหนี้ การที่

                    คู่สัญญาตกลงให้แปลงหนี้ใหม่เป็นหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน จํานวนหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินจึงเป็นหนี้
                    ใหม่ โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามที่กําหนดไว้ในสัญญาใช้เงินได้ ไม่เป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย
                    ที่ต้องห้ามตามกฎหมาย
                          คําพิพากษาฎีกาที่ 5291/2540 โจทก์เป็นสถาบันการเงินคิดดอกเบี้ยการกู้เงินตาม ป.พ.พ.

                   มาตรา 655 วรรคหนึ่ง ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 24 วรรคสอง
                          คําพิพากษาฎีกาที่ 1962/2548  กรณีเป็นหนี้เงินและมีข้อตกลงว่าถ้าไม่ชําระหนี้ภายในกําหนด
                   ต้องเสียเงินเพิ่มอัตราแน่นอนเป็นรายเดือนจนกว่าจะชําระเสร็จ เงินดังกล่าวเป็นค่าเสียหายมิใช่ดอกเบี้ย
                   จากการที่ลูกหนี้ผิดนัดคิดดอกเบี้ยในเงินดังกล่าวได้ตั้งแต่วันที่ผิดนัด ตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง ไม่ถือ

                   เป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย




                   10
                      เช่น ตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.  2475 พระราชบัญญํติดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบัน
                   การเงิน พ.ศ. 2523 เป็นต้น




                                                             33
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38