Page 31 -
P. 31
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ผู้ที่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยผิดนัดตั้งแต่เวลาทําละเมิดต้องเป็นผู้เสียหายโดยตรงจากการกระทําละเมิด
นายจ้างที่ต้องขาดแรงงานของลูกจ้างที่ถูกกระทําละเมิดไป ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ย (โปรดดูคําพิพากษาฎีกา
ที่ 5014/2533)
ผู้รับประกันภัยที่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยซึ่งถูกกระทําละเมิด ย่อมรับช่วง
สิทธิของผู้เอาประกันภัยมาฟูองผู้ทําละเมิดได้ตามมาตรา 880 แต่ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยตั้งแต่เวลาที่ทํา
ละเมิด คิดได้ตั้งแต่วันที่ชดใช้แทนซึ่งเป็นวันที่เกิดการรับช่วงสิทธิ 8 (โปรดดูคําพิพากษาฎีกาที่
4631/2530)
คําพิพากษาฎีกาที่ 4015/2548 จําเลยที่ 3 เป็นผู้รับประกันภัยค้ําจุนไม่ใช่ผู้ทําละเมิดหรือต้อง
ร่วมรับผิดกับผู้ทําละเมิด จําเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดในดอกเบี้ยนับแต่วันที่ทําละเมิด ประกอบหนี้ตาม
สัญญาประกันภัยค้ําจุนมิได้กําหนดเวลาชําระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทินและโจทก์ไม่ได้ทวงถามก่อนฟูอง
จําเลยที่ 3 จึงต้องชดใช้ดอกเบี้ยนับแต่วันฟูอง
คําถาม เมื่อหนี้ถึงกําหนดชําระ และ ลูกหนี้ไม่ชําระหนี้ ลูกหนี้กลายเป็นผู้ผิดนัดทันทีหรือไม่
คําตอบ.................................................................. (พิจารณามาตรา 204 ทั้งสองวรรค)
3.3.3 เหตุที่ไม่ท าให้ลูกหนี้ผิดนัด
มาตรา 205 “ตราบใดการช าระหนี้นั้นยังมิได้กระท าลงเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งลูกหนี้
ไม่ต้องรับผิดชอบ ตราบนั้นลูกหนี้ยังหาได้ชื่อว่าผิดนัดไม่”
“พฤติการณ์” อาจหมายถึง เหตุสุดวิสัยได้ หรือเกิดจากเหตุอื่นๆ เช่น จากบุคคลภายนอกหรือ
จากเจ้าหนี้ เป็นต้น
แม้เกิดพฤติการณ์ใดๆ แต่หน้าที่ที่ต้องปฏิบัติการชําระหนี้ยังคงมีอยู่และเจ้าหนี้ต้องให้เวลา
พอสมควรให้ลูกหนี้ชําระหนี้ต่อไป (โปรดดูคําพิพากษาฎีกาที่ 2189/2523)
พฤติการณ์ที่ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบอาจเกิดก่อนหรือหลังจากที่หนี้ถึงกําหนดชําระแล้วก็ได้ แต่
ต้องเกิดก่อนผิดนัด พฤติการณ์น่าจะไม่ถึงขนาดที่ทําให้การชําระหนี้เป็นพ้นวิสัย ไม่เช่นนั้นลูกหนี้ย่อม
หลุดพ้นตาม 219
คําถาม นาย ก ยืม notebook นาย ข กําหนดส่งมอบ 28 มิ.ย. 2556
นาย ก ฝากนาย ค ไปคืน นาย ค เอาไปใช้ก่อน และส่งคืนวันที่ 29 มิ.ย. 2556 (ส่งมอบล่าช้า)
1. เป็นหนี้มีกําหนดเวลาหรือไม่
2. นาย ก ต้องรับผิดกับการกระทําของนาย ค หรือไม่
3. นาย ก จะอ้างว่าไม่ใช่พฤติการณ์ที่ตนไม่ต้องรับผิดและไม่ตกเป็นผู้ผิดนัดได้หรือไม่
คําตอบ ..................................................................
คําถาม โจทก์ตกลงขายอะไหล่ให้จําเลยโดยจะต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศ การที่โจทก์ไม่สามารถ
ส่งมอบของให้จําเลยภายในกําหนดระยะเวลา เพราะของสูญหายในระหว่างทางขนส่งมายังประเทศ
ไทย เป็นเรื่องพ้นวิสัยที่โจทก์จะปูองกันได้ ถือว่าโจทก์ผิดนัดหรือไม่
คําตอบ .................................................................. (คําพิพากษาฎีกาที่ 2189/2523)
8
ผู้รับประกันภัยค้ําจุนที่ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่บุคคลภายนอกอันเนื่องมาจากการกระทําละเมิดของผู้เอา
ประกันภัย เป็นความรับผิดตามสัญญาประกันภัยค้ําจุนตามมาตรา 887 มิใช่รับผิดในมูลละเมิดตามมาตรา 420 ถ้า
บุคคลภายนอกฟูองเรียกค่าเสียหายจากผู้รับประกันภัย จะคิดดอกเบี้ยตั้งแต่เวลาที่ทําละเมิดตามมาตรา 206 ไม่ได้
31