Page 26 -
P. 26

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี





                   ชําระหนี้ตอบแทนตามมาตรา 372 วรรคแรก กรณีเช่นนี้ไม่มีบทกฎหมายใดให้สิทธิจําเลย ที่จะได้รับ
                   ชําระหนี้ฝุายเดียวโดยไม่ต้องชําระหนี้ตอบแทน

                          ส่วนกรณีตามมาตรา 219 วรรคสอง   นั้น เป็นกรณีที่ลูกหนี้ ต้องปฏิบัติการด้วยตนเอง สําหรับ
                   ลูกหนี้ที่เป็นนิติบุคคล หากมีกฎหมายห้ามกระทําการอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ถือว่ากลายเป็นบุคคลที่ไม่
                   สามารถชําระหนี้ได้ (คําพิพากษาฎีกาที่ 4968-50/2543)


                          (3) กรณีที่การช าระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยภายหลังที่ลูกหนี้ผิดนัด (มาตรา 217)
                          คําพิพากษาฎีกาที่ 3614/2532 การที่โจทก์ผิดนัดไม่ชําระราคาที่ดินที่โจทก์เป็นผู้ซื้อจากการ
                   ขายทอดตลาดได้ ทําให้ต้องประกาศขายทอดตลาดที่ดินนั้นใหม่อีกหลายครั้ง ในระหว่างนั้นได้เกิดเพลิง
                   ไหม้ต้นลําไยบนที่ดินแปลงดังกล่าวทําให้ราคาที่ดินลดลง โจทก์ต้องรับผิดราคาที่ดินในส่วนที่ขาดตาม

                   มาตรา 516
                          สําหรับ กรณีที่การชําระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งลูกหนี้ไม่ต้อง
                   รับผิดชอบ ซึ่งลูกหนี้เป็นอันหลุดพ้นจากหนี้ตามมาตรา 219 นั้น ถ้าเกิดขึ้นภายหลังจากลูกหนี้ผิดนัด
                   ลูกหนี้ยังต้องรับผิดอยู่ ตามมาตรา 217 (คําพิพากษาฎีกาที่ 1074/2546) จะอ้างมาตรา 219 ไม่ต้องรับ

                   ผิดไม่ได้

                          (4) ผลของการช าระหนี้เป็นพ้นวิสัยเกี่ยวกับความผิดของตัวแทน

                    มาตรา 220        “ลูกหนี้ต้องรับผิดชอบในความผิดของตัวแทนแห่งตนกับทั้งของบุคคลที่ตนใช้ใน
                   การช าระหนี้นั้นโดยขนาดเสมอกับว่าเป็นความผิดของตนเองฉะนั้น แต่บทบัญญัติแห่งมาตรา 373 หาใช้
                   บังคับแก่กรณีเช่นนี้ด้วยไม่”
                          เจ้าหนี้กับลูกหนี้อาจจะตกลงกันยกเว้นไว้ว่าไม่ต้องรับผิดชอบในความผิดของบุคคลนั้น เป็น
                   ข้อตกลงที่ไม่ถือว่าขัดต่อกฎหมาย หรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน


                          (5) ข้อตกลงให้รับผิดแม้การช าระหนี้เป็นพ้นวิสัย
                    ข้อตกลงเช่นนี้สามารถกระทําได้ ไม่ถือว่าขัดต่อกฎหมาย หรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรม

                   อันดีของประชาชน
                          คําพิพากษาฎีกาที่ 979/2517 ข้อความในสัญญามีว่า  “แม้สัญญาฉบับนี้จะต้องผ่านการโอน
                   การต่ออายุ หรือการเปลี่ยนมืออย่างใดๆ หรือตัวยานยนต์อันเป็นวัตถุแห่งสัญญาต้องประสบความ
                   สูญเสีย เสียหาย หรือย่อยยับประการใด ผู้ซื้อก็หาหลุดพ้นจากหน้าที่รับผิดตามสัญญานี้แต่อย่างใดไม่ ”

                   ซึ่งหมายความว่า ผู้ซื้อจะต้องรับผิดใช้ราคาให้กับผู้ขาย ไม่ว่ารถยนต์จะสูญหายไปด้วยเหตุใดๆ ก็ตาม จึง
                   รวมการสูญหายไปเพราะเหตุสุดวิสัยด้วย

                          (6) ผลของการช าระหนี้เป็นพ้นวิสัยเกี่ยวกับการช่วงทรัพย์ (มาตรา 228)

                          มาตรา 228 “ถ้าพฤติการณ์ซึ่งท าให้การช าระหนี้เป็นอันพ้นวิสัยนั้นเป็นผลให้ลูกหนี้ได้มาซึ่งของ
                   แทนก็ดี หรือได้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อทรัพย์อันจะพึงได้แก่ตนนั้นก็ดี ท่านว่าเจ้านหี้จะเรียก
                   ให้ส่งมอบของแทนที่ได้รับไว้หรือจะเข้าเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเสียเองก็ได้










                                                             26
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31