Page 25 -
P. 25
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- เป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งหรือไม่
- กรรมสิทธิ์โอนหรือยัง
- เป็นการพ้นวิสัยหรือไม่
- ถ้าไหม้ทั้งหมด กรณีจะเป็นอย่างไร
3.4 หากนาย ก กับนาย ข ตกลงจะเลือกข้าวสารวันหลัง ต่อมา ไฟไหม้โรงสีทั้งหมด
- เป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งหรือไม่
- กรรมสิทธิ์โอนหรือยัง
- เป็นการพ้นวิสัยหรือไม่
3.2.3 ผลของการช าระหนี้เป็นพ้นวิสัย
(1) กรณีที่เกิดจากพฤติการณ์ที่ ลูกหนี้ต้องรับผิดชอบ
มาตรา 218 “ถ้าการช าระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยจะท าได้เพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งลูกหนี้
ต้องรับผิดชอบไซร้ ท่านว่าลูกหนี้จะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่เจ้าหนี้เพื่อค่าเสียหายอย่างใดๆ
อันเกิดแต่การไม่ช าระหนี้นั้น
ในกรณีที่การช าระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยแต่เพียงบางส่วน ถ้าหากว่าส่วนที่ยังเป็นวิสัยจะท าได้นั้น
จะเป็นอันไร้ประโยชน์แก่เจ้าหนี้แล้ว เจ้าหนี้จะไม่ยอมรับช าระหนี้ส่วนที่ยังเป็นวิสัยจะท าได้นั้น แล้ว และ
เรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อการไม่ช าระหนี้เสียทั้งหมดทีเดียวก็ได้”
กรณีนี้อาจเกิดก่อนหรือหลัง ลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัดก็ได้ หากเกิดภายหลัง ลูกหนี้ต้องชําระ
ดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของจํานวนค่าเสียหายที่ต้องชดใช้ ตามมาตรา 224 ด้วย และถ้าเป็นหนี้ส่ง
มอบทรัพย์ก็ต้องคิดดอกเบี้ยตั้งแต่ เวลาอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการกะประมาณราคา ตามมาตรา 225
(เทียบคําพิพากษาฎีกาที่ 2625/2551)
การชําระหนี้เป็นพ้นวิสัยเพียงบางส่วนเจ้าหนี้มีสิทธิปฏิเสธไม่รับชําระหนี้ได้เมื่อการชําระหนี้เป็น
อันไร้ประโยชน์แก่เจ้าหนี้ (มาตรา 218 วรรคสอง) หรือเป็นการผิดสัญญาที่เป็นสาระสําคัญ (มาตรา
320)
(2) กรณีที่เกิดจากพฤติการณ์ที่ ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบ
มาตรา 219 “ถ้าการช าระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งเกิดขึ้น
ภายหลังที่ได้ก่อหนี้ และซึ่งลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบนั้นไซร้ ท่านว่าลูกหนี้เป็นอันหลุดพ้นจากการช าระหนี้
นั้น
ถ้าภายหลังที่ได้ก่อหนี้ขึ้นแล้วนั้น ลูกหนี้กลายเป็นคนไม่สามารถจะช าระหนี้ได้ไซร้ ท่านให้ถือ
เสมือนว่าเป็นพฤติการณ์ที่ท าให้การช าระหนี้ตกเป็นอันพ้นวิสัยฉะนั้น”
การชําระหนี้ตามมาตรา 219 อาจเป็นการพ้นวิสัยทั้งหมด/บางส่วนก็ได้ หากเพียงบางส่วน
ส่วนที่ไม่พ้นวิสัยและยังเป็นประโยชน์แก่เจ้าหนี้อยู่ เจ้าหนี้ก็ต้องรับไว้ ส่วนที่เหลือไร้ประโยชน์ เจ้าหนี้ มี
สิทธิปฏิเสธไม่รับชําระหนี้ได้ นอกจากนี้ อาจพิจารณาว่าเป็นการชําระหนี้เพียงบางส่วนตามมาตรา 320
ซึ่งให้สิทธิเจ้าหนี้ปฏิเสธได้เช่นกัน
คําพิพากษาฎีกาที่ 282/2525 สัญญาเช่าซื้อนั้น ผู้เช่าซื้อจะบอกเลิกสัญญาในเวลาใดเวลาหนึ่งก็
ได้ตาม มาตรา 573 กรณีที่การชําระหนี้เป็นพ้นวิสัยตามมาตรา 219 แม้สัญญายังไม่เลิกกัน ก็ย่อมระงับ
เพราะไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย แม้จําเลยหลุดพ้นจากการชําระหนี้ตามมาตรา 219 แต่ก็ไม่มีสิทธิได้รับ
25