Page 29 -
P. 29
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
คําพิพากษาฎีกาที่ 627/2532 โจทก์ฟูองขอให้จําเลยชําระค่าระวางพาหนะไม้อัดที่โจทก์ขนส่งให้
จําเลยจําเลยรับว่าได้ค้างชําระค่าระวางพาหนะดังกล่า เพราะโจทก์ไม่ส่งใบเสร็จรับเงินไปเรียกเก็บจาก
จําเลยดังนี้ เมื่อ โจทก์ได้ขนส่งไม้อัดให้จําเลยแล้ว จําเลยย่อมมีหน้าที่ชําระค่าระวางพาหนะให้ โจทก์โดย
ไม่ต้องทวงถาม เมื่อ โจทก์ฟูองคดีอันเป็นการเรียกให้ชําระหนี้แล้ว จําเลยก็มีหน้าที่ต้องชําระดอกเบี้ยนับ
แต่วันฟูอง (คําพิพากษาฎีกาที่ 2400/2545 วินิจฉัยทํานองเดียวกัน)
(2) ลูกหนี้ผิดนัดโดยเจ้าหนี้ไม่ต้องเตือน
(2.1) หนี้ที่มีก าหนดเวลาช าระตามวันแห่งปฏิทิน
“ตามวันแห่งปฏิทิน” หมายถึงการกําหนด วัน/เดือน/ปี รวมถึง กําหนดให้ชําระหนี้เป็นรายวัน
(ฎ 5008/2547) หรือภายในกี่วันนับแต่วันที่เริ่มต้นนับ (คําพิพากษาฎีกาที่ 808/2533 2075/2545) กี่
เดือน กี่ปี (คําพิพากษาฎีกาที่ 5414/2549) หรือเป็นรายเดือนนับแต่วันที่เริ่มต้นนับ หรือภายในเดือนใด
ที่ไม่ได้ระบุวันด้วย (คําพิพากษาฎีกาที่ 3359/2526)
คําถาม สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่าง โจทก์และจําเลยมีข้อความว่า จําเลยสัญญาว่า
จะชําระหนี้ให้แก่โจทก์ 30,000 บาท โดยจะผ่อนให้เป็นรายเดือน เดือนละ 500 บาทเริ่มเดือนแรกใน
วันที่ 18 พ.ย. 2524 เป็นต้นไปจนกว่าจะชําระเสร็จสิ้น เป็นการกําหนดให้ชําระเป็นรายเดือน โดยมิได้
ระบุวันที่แน่นอน คงระบุเฉพาะเดือนแรกเท่านั้น ต่อมาในเดือนที่สาม คือเดือน มาตราค. 2525 จําเลยส่ง
เงินทางธนาณัติเพื่อชําระหนี้โดยส่งในวันที่ 21 โจทก์ฟูองเรียกค่าเสียหายโดยอ้าง จําเลยผิดนัด ข้ออ้าง
ของโจทก์ฟ๎งขึ้นหรือไม่
คําตอบ กําหนดเวลาเป็นไปทุกสิ้นเดือน จะชําระหนี้ในวันใดของเดือนก็ได้ (เทียบเคียง คํา
พิพากษาฎีกาที่ 3359/2526) (คําพิพากษาฎีกาที่ 2161/2542 วินิจฉัยทํานองเดียวกัน)
คําถาม สัญญากู้ระบุว่า ผู้กู้ต้องชําระดอกเบี้ยของเงินต้นที่ค้างชําระให้แต่ละวัน เมื่อไม่ชําระใน
วันใด ย่อมถือว่าผิดนัดนับแต่วันนั้น และยังมีข้อความให้ชําระดอกเบี้ยที่ค้างชําระในวันทําการสุดท้าย
ของเดือน เมื่อผู้กู้ผิดนัด ผู้ให้กู้ฟูองให้ผู้กู้ชําระหนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยผิดนัดรายวัน แต่ผู้กู้ต่อสู้ว่าเรียก
ดอกเบี้ยผิดนัดรายวันไม่ได้ เพราะกําหนดให้ชําระในวันทําการวันสุดท้ายของเดือน ผู้ให้กู้ต้องคิดจากวัน
สุดท้าย ท่านเห็นว่าข้อต่อสู้ใดถูกต้อง (คําพิพากษาฎีกาที่ 5008/2547)
คําตอบ ..................................................................
คําถาม หาก เจ้าหนี้ยอมผ่อนผันให้ ลูกหนี้ปฏิบัติการชําระหนี้ล่าช้า ทั้งที่เป็นหนี้มีกําหนดเวลา
ชําระหนี้ตามวันแห่งปฏิทิน กรณีจะเป็นอย่างไร (คําพิพากษาฎีกาที่ 822/2538 คําพิพากษาฎีกาที่
2677/2547 คําพิพากษาฎีกาที่ 997/2551)
คําตอบ ..................................................................
คําถาม หาก เจ้าหนี้ยอม”ผ่อนเวลา” ให้ ลูกหนี้ในหนี้มีกําหนดเวลาแน่นอน กรณีผู้ค้ําประกัน
จะเป็นอย่างไร (มาตรา 700)
คําตอบ ..................................................................
คําถาม สัญญาซื้อขายที่ดินระหว่าง ก. และ ข. กําหนดโอนวันที่ 10 มิถุนายน 2554 แต่ ก. และ
ข. ตกลงเลื่อนวันนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญากันหลายครั้ง ครั้งล่าสุด ว. ผู้รับมอบ
อํานาจ ก. ได้ไปพบ ข. ที่สํานักงานที่ดินตามกําหนดวันนัดในสัญญาและได้จัดเตรียมแคชเชียร์เช็คและ
เงินสดสําหรับชําระค่าที่ดินส่วนที่เหลือให้แก่ ข. แล้ว แต่ไม่อาจโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินได้เนื่องจาก
แคชเชียร์เช็คหาย และในขณะนั้นก็เป็นเวลาประมาณ 16.00 นาฬิกาใกล้เวลาเลิกงานของทางราชการ
29