Page 28 -
P. 28

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี





                          คําพิพากษาฎีกาที่ 2103/2535 สัญญากู้ยืมเงินไม่ได้กําหนดเวลาชําระต้นเงินคืนไว้ โจทก์ผู้ให้กู้
                   ย่อมจะเรียกให้ จําเลยชําระหนี้ได้โดยพลันตามมาตรา  203  วรรคแรกและมีอํานาจฟูองให้ จําเลยชําระ

                   หนี้ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวตามมาตรา 652 ก่อนก็ได้
                          คําถาม นาย ก นัดนาย ข โอนที่ดินวันที่ 13 เมาตราย. 54 ถือเป็นหนี้มีกําหนดเวลาหรือไม่
                   อย่างไร ให้อธิบาย
                          คําตอบ เทียบเคียงคําพิพากษาฎีกาที่ 2225/2540


                       3.3.2 เหตุที่ลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัด
                       (1) ลูกหนี้ผิดนัดเพราะเจ้าหนี้ได้เตือนแล้ว
                        “หนี้ไม่ได้ก าหนดระยะเวลา”

                          คําพิพากษาฎีกาที่ 4573-5228/2545 ข้อบังคับของธนาคาร จําเลยที่ระบุว่า จําเลยจะพิจารณา
                   การจ่ายโบนัสให้ปีละสองครั้ง ภายหลังการปิดบัญชีประจํางวดนั้น แม้ จําเลยจะจ่ายโบนัสครั้งแรกพร้อม
                   เงินเดือนในเดือน มิ.ย. โดยตลอด ก็เป็นเพียงวิธีปฏิบัติ ถือไม่ได้ว่าเป็นกําหนดเวลาจ่ายเงินโบนัสครั้งแรก
                   หนี้ดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่ไม่มีกําหนดชําระ จําเลยจะตกเป็นลูกหนี้ผิดนัดต่อเมื่อโจทก์ได้บอกกล่าวทวงถาม

                   ก่อน
                    การผิดนัดตามมาตรา        204  แตกต่างจากมาตรา 203  ที่ว่า กําหนดเวลาตามมาตรา  203  อาจ
                   ไม่ใช่กําหนดเวลาตามวันแห่งปฏิทินก็ได้ ดังนั้น ต้องมีการเตือนก่อน จากนั้น เมื่อลูกหนี้ไม่ชําระ จึงจะตก

                   เป็นผู้ผิดนัด (โปรดดูคําพิพากษาฎีกาที่ 599/2535 4581/2548 4799/2549)

                          ก าหนดเวลาที่อนุมานจากพฤติการณ์
                          คําถาม จําเลยยืมปุ๋ยและของอื่นไปจาก โจทก์เพื่อใช้ในการทําใบยาสูบ แต่ไม่ได้ทําใบยาสูบเอง
                   โดยไม่ได้กําหนดเวลาคืนสิ่งของไว้ หลังฤดูกาลทําใบยาสูบ ของอื่นที่ยืมนั้นหมดไปครึ่งหนึ่ง แต่ จําเลยก็

                   ยังไม่คืนปุ๋ยและของอื่น โจทก์จึงมีหนังสือบอกกล่าวให้ จําเลยคืนของที่ยืมภายในวันที่ 10 มิถุนายน
                   2554 จําเลยไม่คืน โจทก์จะทําอย่างไร
                          คําตอบ.................................................................. (เทียบเคียงคําพิพากษาฎีกาที่ 599/2535)

                          การเตือน
                          -  เจ้าหนี้อาจเตือนโดยการแสดงเจตนาไปยังลูกหนี้โดยทําเป็นหนังสือหรือด้วยวาจาก็ได้ (คํา
                   พิพากษาฎีกาที่ 872/2527)
                    - หากลูกหนี้ตาย ต้องแจ้งเตือนไปยังทายาท (คําพิพากษาฎีกาที่   2183/2528)

                    - การเตือนต้องมีการกําหนดเวลาอันสมควรให้ลูกหนี้ปฏิบัติการชําระหนี้ด้วย จึงจะเป็นการ
                   เตือนโดยชอบ (คําพิพากษาฎีกาที่ 1336/2544) หรือกําหนดวันที่ที่แน่นอนก็ได้
                    - ต้องเป็นการเตือนภายหลังหนี้ถึงกําหนดชําระแล้ว หากแจ้งเตือนก่อนหนี้ถึงกําหนดชําระ ไม่
                   ถือเป็นคําเตือน/ถือว่ายังไม่เตือน ดังนั้น ลูกหนี้ยังไม่ผิดนัด

                          - การเตือนเป็นการกระทําเพื่อให้ลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัด ไม่ใช่ประโยชน์ในการฟูองคดี
                   เพราะถึงอย่างไร เจ้าหนี้ก็สามารถฟูองคดีเรียกให้ชําระหนี้ได้อยู่แล้ว (คําพิพากษาฎีกาที่   2103/2535)
                   เพียงแต่ไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยผิดนัดก่อนวันฟูองเท่านั้น (คําพิพากษาฎีกาที่ 627/2532 และคําพิพากษา
                   ฎีกาที่ 400/2545)  และการที่เจ้าหนี้ฟูองถือเป็นการเตือนตามมาตรา 204 วรรคหนึ่งด้วย ถือว่า ลูกหนี้

                   ตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันฟูอง





                                                             28
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33