Page 27 -
P. 27
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ถ้าเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพราะการไม่ช าระหนี้และถ้าใช้สิทธินั้นดังได้ระบุไว้
ในวรรคต้นไซร้ ค่าสินไหมทดแทนอันจะพึงใช้แก่เจ้าหนี้นั้นย่อมลดจ านวนลงเพียงเสมอราคมแหงของ
แทนซึ่งลูกหนี้ได้รับไว้หรือเสมอจ านวนค่าสินไหมทดแทนที่ลูกหนี้จะเรียกร้องได้นั้น”
หากเจ้าหนี้ใช้สิทธิเรียกเอาของหรือเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากบุคคลภายนอกแล้ว เจ้าหนี้
จะเรียกร้องในส่วนที่ได้รับแล้วไม่ได้ คงเรียกได้ในส่วนที่ขาดอยู่เท่านั้น ไม่ใช่ได้รับทั้งสองทาง ทั้งนี้ โดยไม่
ต้องคํานึงว่าลูกหนี้จะผิดหรือไม่ เจ้าหนี้ก็ช่วงทรัพย์ได้
ถ้าลูกหนี้เป็นผู้ผิดนัดตามมาตรา 218 หรือ 217 เจ้าหนี้ก็ย่อมมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทน
เพราะการไม่ชําระหนี้ได้ด้วย แต่ถ้าบังคับจากบุคคลภายนอกได้แล้วเพียงใด ส่วนนั้นก็เรียกเอากับลูกหนี้
ไม่ได้เท่านั้น
คําถาม โจทก์ที่ 1 ซื้อช้างจากโจทก์ที่ 2 ชําระราคาช้างและส่งมอบช้างกันเสร็จเด็ดขาดแล้ว แต่
ยังมิได้โอนตั๋วพิมพ์รูปพรรณ ต่อมาโจทก์ที่ 1 ขายฝากช้างกับจําเลยแต่ให้โจทก์ที่ 2 เป็นคู่สัญญาในการ
ทําสัญญาขายฝากที่อําเภอ เพราะชื่อเจ้าของยังเป็นโจทก์ที่ 2 ต่อมา จําเลยผู้ซื้อฝากใช้ช้างให้ทําการงาน
เกินสมควร แม้ช้างเจ็บปุวยก็ไม่ให้หยุดพักรักษาให้ช้างสมบูรณ์ดีเสียก่อนกลับใช้งานช้างจนตาย โจทก์ที่
1 จะมีมาตรการเยียวยาอย่างไร
คําตอบ โปรดดูคําพิพากษาฎีกาที่ 517/2495
(7) ผลของการช าระหนี้เป็นพ้นวิสัยเกี่ยวกับมัดจ า
หนี้ที่มีการวางมัดจํา หากการชําระหนี้เป็นพ้นวิสัยก็ต้องมีการริบหรือคืนมัดจํา สุดแต่ว่าเป็น
ความผิดของลูกหนี้หรือไม่ (ดูมาตรา 378) (2) และคําพิพากษาฎีกาที่ 9241/2539) นอกจากนี้ เจ้าหนี้ยัง
มีสิทธิเลิกสัญญาตามมาตรา 389 ได้ด้วย
3.3 ลูกหนี้ผิดนัด
3.3.1 หลักเกณฑ์
มาตรา 204 “ถ้าหนี้ถึงก าหนดช าระแล้ว และภายหลังแต่นั้นเจ้าหนี้ได้ให้ค าเตือนลูกหนี้แล้ว
ลูกหนี้ยังไม่ช าระหนี้ไซร้ ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดเพราะเขาเตือนแล้ว
ถ้าได้ก าหนดเวลาช าระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทิน และลูกหนี้มิได้ช าระหนี้ตามก าหนดไซร้ ท่านว่า
ลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัดโดยมิพักต้องเตือนเลย วิธีเดียวกันนี้ท่านให้ใช้บังคับแก่กรณีที่ต้องบอกกลาว
ล่วงหน้าก่อนการช าระหนี้ซึ่งได้ก าหนดเวลาลงไว้อาจค านวณนับได้โดยปฏิทินนับแต่วันที่ได้บอกกล่าว”
ดังนั้น หลักเกณฑ์ตามวรรคหนึ่ง ได้แก่
1. หนี้ถึงกําหนดชําระแล้ว (โปรดดูหลักเกณฑ์ตามมาตรา 203)
มาตรา 203 “ถ้าเวลาชําระหนี้ ไม่มีก าหนดไว้ หรืออนุมานจากพฤติการณ์ ทั้งปวงก็ไม่ได้ เจ้าหนี้ย่อม
เรียกให้ชําระหนี้ได้โดยพลัน และ ลูกหนี้ก็ย่อมชําระหนี้โดยพลันดุจกัน
ถ้าได้ก าหนดเวลาไว้ แต่หากกรณีเป็นที่สงสัย ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเจ้าหนี้จะเรียกให้
ชําระหนี้ก่อนถึงเวลานั้นหาได้ไม่ แต่ฝุายลูกหนี้จะชําระหนี้ก่อนกําหนดนั้นก็ได้”
ดังนั้น ตามมาตรา 203 วรรคสอง จะเห็นได้ว่าลูกหนี้ได้ประโยชน์จากเงื่อนเวลา
2. ลูกหนี้ไม่ชําระหนี้
3. เจ้าหนี้ต้องเตือนลูกหนี้แล้ว เว้นแต่หนี้มีกําหนดเวลาชําระแน่นอนตามวันแห่งปฏิทิน
4. ลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัด
27