Page 30 -
P. 30

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี





                   ย่อมไม่สามารถ แก้ไขเหตุการณ์ได้ทัน ทั้งวันนัดโอนก็เป็นวันศุกร์ ก. จึงขอเลื่อนการจดทะเบียนการโอน
                   ไปเป็นวันจันทร์ซึ่งเป็นวันเริ่มเปิดทําการใหม่ของทางราชการ ข. อ้างว่า ก ผิดนัด จึงไม่ยอมโอน

                   กรรมสิทธิ์ในที่ดินให้ พร้อมฟูองเรียกค่าเสียหายและค่าสินไหมทดแทนจาก ก. ข้ออ้างของ ข ฟ๎งขึ้น
                   หรือไม่ (เทียบเคียง คําพิพากษาฎีกาที่  822/2538)
                          คําตอบ    ..................................................................
                          การผิดนัดในหนี้หลายราย ย่อมเป็นไปตามหนี้แต่ละราย ส่วนหนี้รายเดียวที่ผ่อนชําระเป็นงวดๆ

                   ตามวันแห่งปฏิทิน ถ้าผิดนัดงวดใดงวดหนึ่ง ก็ถือว่าผิดนัดทุกงวด ไม่ว่าจะมีข้อตกลงเช่นนั้นหรือไม่ (โปรด
                   ดูคําพิพากษาฎีกาที่ 521/2510 และ 3027/2528)
                          คําพิพากษาฎีกาที่  521/2510  จําเลยทําสัญญายอมความชําระหนี้จํานองจํานวนหนึ่ง โดยมี
                   ข้อตกลงว่า ต้องชําระภายในวันที่  1  ของทุกเดือน เดือนละ 1,000 บาทแต่ไม่มีข้อความว่าถ้าผิดนัดงวด

                   ใดงวดหนึ่งให้ถือว่าผิดนัดทั้งหมด เมื่อ จําเลยไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงนี้ ก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้ผิดนัดสัญญายอม
                   การที่ จําเลยตกลงกําหนดชําระหนี้เป็นงวดๆ นี้หาได้แยกหนี้ออกเป็นรายๆ ต่างรายกันไม่ เหตุนี้เมื่อ
                   จําเลยไม่ชําระหนี้ตามกําหนดเวลาที่ตกลงไว้ แม้แต่งวดหนึ่งงวดใด ก็ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดชําระหนี้จํานอง
                   รายนั้นทั้งหมด หาใช่ผิดนัดแต่เฉพาะงวดไม่


                          (2.2) หนี้ที่มีก าหนดเวลาช าระหนี้โดยค านวณตามปฏิทินนับจากวันบอกกล่าว
                    ส่วนใหญ่มักจะเป็นหนี้ในอนาคตที่เกิดจากการใช้บริการหรือซื้อสินค้าเชื่อ เช่น ค่า

                   โทรศัพท์มือถือรายเดือน เป็นต้น ดังนั้น จึงบอกกล่าวเมื่อใดก็ได้เมื่อเกิดหนี้แล้วโดยวิธีการบอกกล่าวจะ
                   เป็นหนังสือหรือวาจาก็ได้ และวิธีการนับ ให้นับแต่วันที่ได้รับคําบอกกล่าว แต่ถ้าบอกกล่าวเป็นหนังสือ
                   ให้นับแต่วันที่คําบอกกล่าวไปถึงลูกหนี้ ถ้าไม่มีคําบอกกล่าว หนี้นั้นย่อมไม่ถึงกําหนดชําระและลูกหนี้ไม่
                   อาจตกเป็นผู้ผิดนัดได้เลย
                          คําถาม ตามสัญญาโฆษณากําหนดวันชําระหนี้ไว้ว่าชําระหลังวันโฆษณาภายใน  30 วัน ส่วนวัน

                   โฆษณาคือวันที่ 4 และ 9 ธ.ค. 2540 ต่อมาพนักงานของ โจทก์ไปส่งใบแจ้งหนี้และใบวางบิลให้ จําเลย
                   จําเลยระบุในใบรับวางบิลว่า โปรดมารับเงินวันที่ 13 มี.ค. 2541 โจทก์มิได้ทักท้วง ในภายหลัง จําเลยไม่
                   ชําระหนี้ โจทก์คิดดอกเบี้ยผิดนัดได้หรือไม่ อย่างไร

                          คําตอบ โปรดดูคําพิพากษาฎีกาที่ 997/2551

                          (3) ลูกหนี้ผิดนัดตั้งแต่เวลาท าละเมิด
                    มาตรา 206 บัญญัติว่า      “ในกรณีหนี้อันเกิดแต่มูลละเมิด ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาที่ท า

                   ละเมิด”
                          กรณีนี้ไม่มีกําหนดเวลาบังคับโดยสภาพ จึงไม่นํามาตรา 203 มาปรับใช้ (เทียบเคียง คําพิพากษา
                   ฎีกาที่ 1812/2535) และถือเป็นการผิดนัดทันทีโดยไม่ต้องเตือน (โปรดดูคําพิพากษาฎีกาที่  5156/2542
                   และคําพิพากษาฎีกาที่ 3480/2550) ถือเป็นหนี้ที่ถึงกําหนดเวลาชําระโดยพลัน

                    ลูกหนี้ที่ต้องรับผิดในมูลละเมิด อาจเป็นผู้กระทําละเมิดเองหรือเป็นผู้ต้องรับผิดเพื่อการกระทํา
                   ของผู้อื่นก็ได้ เช่น นายจ้าง-ลูกจ้าง (คําพิพากษาฎีกาที่  174/2528) ตัวการ-ตัวแทน เป็นต้น หนี้ละเมิด
                   รวมถึงค่าเสียหายในอนาคต เช่น ค่าขาดไร้อุปการะตามมาตรา  443  เป็นต้น (โปรดดูคําพิพากษาฎีกาที่
                   2959/2529 และ 1812/2535)








                                                             30
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35