Page 32 -
P. 32

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี





                          3.3.4 ผลของการที่ลูกหนี้ผิดนัด
                          3.3.4.1 ลูกหนี้ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน

                          มาตรา 215 “เมื่อลูกหนี้ไม่ช าระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ไซร้ เจ้าหนี้
                    จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การนั้นก็ได้”
                          การผิดนัดมิใช่เหตุเรียกค่าสินไหมทดแทน เพียงไม่ชําระให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่ง
                    มูลหนี้ก็เรียกให้ชําระหนี้ได้แล้ว


                          3.3.4.2 เจ้าหนี้บอกปัดไม่รับช าระหนี้ได้
                          มาตรา 216 “ถ้าโดยเหตุผิดนัด การช าระหนี้กลายเป็นอันไร้ประโยชน์แก่เจ้าหนี้ เจ้าหนี้จะบอก
                    ปัดไม่รับช าระหนี้และจะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อการไม่ช าระหนี้ก็ได้”

                           การชําระหนี้ของลูกหนี้กลายเป็นอันไร้ประโยชน์ เจ้าหนี้มีสิทธิไม่รับชําระหนี้ได้ แต่หากยังคง
                                                                                                     9
                    เป็นประโยชน์อยู่ เจ้าหนี้ต้องรับชําระหนี้ และเรียกค่าเสียหายอันเกิดจากการชําระหนี้ล่าช้า (ถ้ามี)

                          3.3.4.3 ลูกหนี้ต้องรับผิดชอบเพิ่มขึ้น

                          มาตรา 217  “ลูกหนี้ต้องรับผิดชอบในความเสียหายบรรดาที่เกิดแต่ความประมาทเลินเล่อใน
                    ระหว่างเวลาที่ตนผิดนัด ทั้งจะต้องรับผิดชอบในการที่การช าระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยเพราะอุบัติเหตุอัน
                    เกิดขึ้นในระหว่างเวลาที่ผิดนัดด้วย เว้นแต่ความเสียหายนั้น ถึงแม้ว่าตนจะได้ช าระหนี้ทันเวลาก าหนดก็

                    คงจะต้องเดิมีอยู่นั่นเอง”
                           (1) กรณี ลูกหนี้ (หรือบุคคลตามมาตรา 220) กระทําโดยประมาทเลินเล่อให้เจ้าหนี้ได้รับความ
                    เสียหาย
                           (2) กรณีการชําระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัย ต่างจากกรณีมาตรา   218  ลูกหนี้ต้องรับผิดชดใช้
                    ค่าสินไหมทดแทน ไม่อาจนํามาตรา 217 ตอนท้ายมาอ้างไม่รับผิดได้

                          คําถาม นาย ก ยืมรถนาย ข กําหนดส่งคืน 20 มิ.ย. นาย ก ไม่ส่งคืนตามกําหนด
                           1. นาย ก ผิดนัดหรือไม่
                           2. ต่อมา 21 มิ.ย. ไฟไหม้ย่านพักอาศัยของนาย ก ทําให้ไหม้รถคันดังกล่าวด้วย นาย ก ปูองกัน

                    ไม่ทัน นาย ก ต้องรับผิดอย่างไร
                           3. หากบ้านนาย ข ไหม้ด้วยทั้งหลัง กรณีจะเป็นอย่างไร
                           4. ถ้าไฟไหม้วันที่ 19 มิ.ย. กรณีจะเป็นอย่างไร
                          คําตอบ ..................................................................


                          3.3.4.4 หนี้เงินต้องเสียดอกเบี้ย
                          มาตรา 224 “หนี้เงินนั้น ท่านให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ถ้าเจ้าหนี้
                    อาจจะเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่านั้นโดยอาศัยเหตุอย่างอื่นอันชอบด้วยกฎหมาย ก็ให้คงส่งดอกเบี้ยต่อไป

                    ตามนั้น
                          ท่านห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด
                          การพิสูจน์ค่าเสียหายอย่างอื่นนอกกว่านั้น ท่านอนุญาตให้พิสูจน์ได้”


                   9
                     ซึ่งจะต่างจากกรณีมาตรา  388 ซึ่งถือ “เวลา” เป็นสําคัญ เจ้าหนี้บอกเลิกสัญญาได้ทันที จากนั้น ย่อมไม่มีหนี้ผูกพัน
                   กัน ต่อมา หากลูกหนี้ขอปฏิบัติการชําระหนี้ เจ้าหนี้ปฏิเสธไม่รับชําระหนีได้โดยไม่ต้องพิจารณาตามมาตรา 216




                                                             32
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37