Page 36 -
P. 36

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี





                          กรณีตัวอย่างตามมาตรา 208 วรรคสอง ได้แก่
                          (ก)  นาย ก สั่งซื้อข้าวสารนาย ข ถึงกําหนดส่งมอบ นาย ก บอกว่าไม่ซื้อแล้ว ดังนี้ นาย ก ผิด

                   นัด นาย ข ไม่ต้องส่งมอบข้าว เพียงบอกนาย ก ว่าเตรียมข้าวสารไว้เรียบร้อยแล้วก็เพียงพอ
                          (ข)  นาย ก ว่าจ้างนาย ข สร้างบ้านในที่ดินของตน ก มีหน้าที่ส่งมอบที่ดินนั้นให้ ข หากไม่ส่ง
                   มอบ ข เพียงบอกกล่าวว่าอุปกรณ์พร้อมสร้างบ้านแล้วก็เพียงพอ ก ตกเป็นผู้ผิดนัด


                          3.4.1.2 เจ้าหนี้ไม่กระท าการเพื่อรับช าระหนี้ภายในเวลาก าหนด
                          มาตรา 209  “ถ้าได้ก าหนดเวลาไว้เป็นแน่นอนเพื่อให้เจ้าหนี้กระท าการอันใด ท่านว่าที่จะขอ
                   ปฏิบัติการช าระหนี้นั้นจะต้องท าก็แต่เมื่อเจ้าหนี้ท าการอันนั้นภายในก าหนด”
                          ดังนี้ เจ้าหนี้จะตกเป็นผู้ผิดนัดทันทีเมื่อพ้นกําหนดเวลา  เจ้าหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัดโดยลูกหนี้ไม่ต้อง

                   ปฏิบัติการชําระหนี้ (โปรดเทียบเคียงมาตรา  207-208) แต่ถ้าเจ้าหนี้กระทําการนั้นแล้ว ลูกหนี้ได้ขอ
                   ปฏิบัติการชําระหนี้ เจ้าหนี้กลับไม่รับชําระหนี้นั้นอีก เจ้าหนี้จะตกเป็นผู้ผิดนัดตามมาตรา 207

                          3.4.1.3 เจ้าหนี้ไม่ช าระหนี้ตอบแทน

                          มาตรา 210 “ถ้าลูกหนี้จ าต้องช าระหนี้ส่วนของตนต่อเมื่อเจ้าหนี้ช าระหนี้ตอบแทนด้วยไซร้ แม้
                   ถึงว่าเจ้าหนี้จะได้เตรียมพร้อมที่จะรับช าระหนี้ตามที่ลูกหนี้ขอปฏิบัติแล้วนั้นก็ดี หากไม่เสอนที่จะท าการ
                   ช าระหนี้ตอบแทนตามที่พึงต้องท า เจ้าหนี้ก็เป็นอันได้ชื่อว่าผิดนัด”

                    กรณีนี้เป็นกรณีหนี้ต่างตอบแทน ซึ่งย่อมเป็นหนี้ที่เกิดจากสัญญา ทําให้แต่ละฝุายมีหน้าที่ที่ต้อง
                   ชําระหนี้ตอบแทนตามมาตรา 369
                          “ลูกหนี้ขอปฏิบัติการชําระหนี้” หมายถึง การขอปฏิบัติการชําระหนี้ตามมาตรา  208 วรรคหนึ่ง
                   หรือที่เสมอกับคําขอปฏิบัติการชําระหนี้ตามวรรคสอง (โปรดดูคําพิพากษาฎีกาที่  3114/2523) รวมถึง
                   กรณีไม่ต้องขอปฏิบัติการชําระหนี้ตามมาตรา 209 ด้วย

                          คําถาม โจทก์และ จําเลยทําสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโดยตกลงจะชําระราคาและจดทะเบียนโอน
                   กรรมสิทธิ์กันภายในกําหนด  6  เดือน โจทก์ผู้จะซื้อได้นัดหมายให้ จําเลยไปทํานิติกรรมโอนขายที่ดิน ณ
                   สํานักงานที่ดินภายในกําหนดแล้ว แต่จําเลยไม่กระทําการใดๆ โจทก์ในฐานะลูกหนี้จะทําอย่างไรได้บ้าง

                          คําตอบ   ........................................................  (เทียบเคียงคําพิพากษาฎีกาที่ 3114/2523)
                          คําถาม โจทก์ไม่ชําระเงินมัดจําให้ จําเลยที่ 1  ซึ่งตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกําหนดให้เงินมัด
                   จําเป็นส่วนหนึ่งของการชําระเงินตามสัญญา โจทก์ไม่เสนอชําระเงินมัดจํา จําเลยที่ 1 จะมีสิทธิอย่างไร
                          คําตอบ   ........................................................ (คําพิพากษาฎีกาที่ 8086/2538)


                          3.4.2  เหตุที่ท าให้เจ้าหนี้ไม่ตกเป็นผู้ผิดนัด
                          3.4.2.1 ลูกหนี้มิได้อยู่ในฐานะที่จะสามารถช าระหนี้ได้

                          มาตรา 211 “ในเวลาที่ลูกหนี้ขอปฏิบัติการช าระหนี้นั้นก็ดีหรือในเวลาที่ก าหนดไว้ให้เจ้าหนี้ท า
                   การอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยกรณีที่บัญญ ติไว้ในมาตรา 209 นั้นก็ดี ถ้าลูกหนี้มิได้อยู่ในฐานะที่จะสามารถ
                   ช าระหนี้ได้ไซร้ ท่านว่าเจ้าหนี้ยังหาผิดนัดไม่”









                                                             36
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41