Page 35 -
P. 35

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี





                          คําถาม การที่ลูกหนี้ขอชําระหนี้บางส่วนหรือไม่เต็มตามสิทธิที่ เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับ ถือว่าเป็น
                   มูลเหตุอันจะอ้างกฎหมายได้หรือไม่

                          คําตอบ   ..................................................................
                          คําพิพากษาฎีกาที่ 1253/2530  จําเลยมีหนังสือนัดหมายโจทก์ไปทําการไถ่ถอนจํานองและรับ
                   ชําระหนี้จากจําเลยที่สํานักงานที่ดิน โดยจําเลยจะขอชําระหนี้เพียงบางส่วนไม่ครบถ้วนตามที่ต้องชําระ
                   แก่โจทก์ โจทก์ย่อมปฏิเสธไม่รับชําระหนี้ได้ และจะถือว่าโจทก์ผิดนัดไม่ได้

                          คําพิพากษาฎีกาที่ 5952/2533  จําเลยทั้งสองค้างชําระค่าสินค้าแก่ โจทก์  161,973.60  บาท
                   หนี้ครบกําหนดชําระแล้ว จําเลยจะบังคับให้ โจทก์รับชําระหนี้แต่เพียง  65,331 บาท ไม่ได้ การที่ โจทก์
                   ไม่ยอมรับชําระจึงถือไม่ได้ว่า โจทก์เป็นผู้ผิดนัด โจทก์คงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในต้นเงิน  161,973.60 บาท
                   จาก จําเลยทั้งสองได้

                          คําพิพากษาฎีกาที่ 3520/2538 การที่คู่ความตกลงกันให้จําเลยชําระค่าเช่าเข้าบัญชีเงินฝาก
                   ประจําของสามีโจทก์เป็นวิธีการชําระหนี้เพื่อความสะดวกของโจทก์และจําเลยแต่เมื่อ จําเลยนําค่าเช่าไป
                   ขอชําระที่บ้านโจทก์โดยตรงภายในเวลาที่กําหนด ถือว่าจําเลยได้ไปขอปฏิบัติการชําระหนี้โดยชอบแล้ว
                   โจทก์จะปฏิเสธไม่ยอมรับชําระหนี้หาได้ไม่ ถือไม่ได้ว่าจําเลยตกเป็นผู้ผิดนัด โจทก์ไม่อาจจะดําเนินการขอ

                   บังคับคดีแก่จําเลยได้
                          คําพิพากษาฎีกาที่ 8260/2550 จําเลยค้างชําระหนี้ โจทก์ซึ่งเป็นหนี้เงิน จําเลยต้องชําระเงิน
                   ให้แก่โจทก์โดยปราศจากเงื่อนไขใดๆ เพราะการชําระหนี้จะให้สําเร็จผลเป็นอย่างใด ลูกหนี้จะต้องขอ

                   ปฏิบัติการชําระหนี้เป็นอย่างนั้นโดยตรงตามมาตรา 208 วรรคหนึ่ง เมื่อจําเลยเสนอขอชําระหนี้โดยให้
                   โจทก์รับโอนทรัพย์จํานองแทนการชําระหนี้ด้วยเงินจึงมิใช่เป็นการขอปฏิบัติการชําระหนี้ได้ โจทก์จึงไม่
                   ตกเป็นผู้ผิดนัดตามมาตรา 207
                          การช าระหนี้โดยมีเงื่อนไข ย่อมจะถือว่าเป็นการชําระหนี้โดยไม่ชอบด้วยมาตรา 208 วรรคหนึ่ง
                   เจ้าหนี้ปฎิเสธการรับชําระหนี้ได้ ไม่ตกเป็นผู้ผิดนัดตามมาตรา 207

                          คําถาม  หากบุคคลภายนอกที่เป็นผู้มีส่วนได้เสียมาขอปฏิบัติการชําระหนี้ หาก เจ้าหนี้ไม่รับ
                   ชําระหนี้ เจ้าหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัดหรือไม่
                          คําตอบ   ..................................................................

                          คําถาม หาก ลูกหนี้ร่วมคนหนึ่งขอปฏิบัติการชําระหนี้ เจ้าหนี้ไม่ยอมรับชําระหนี้
                     (ก) เจ้าหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัดหรือไม่
                     (ข) ลูกหนี้หนี้ร่วมคนอื่น กรณีเป็นอย่างไร
                     (ค) ถ้าผู้ค้ําฯ เข้าขอปฏิบัติการชําระหนี้ กรณีจะเป็นอย่างไร

                          คําตอบ  ..................................................................
                          ดังนั้น อาจสรุปได้ว่า
                          1. หากบุคคลภายนอกที่เป็นผู้มีส่วนได้เสียมาขอปฏิบัติการชําระหนี้ หากเจ้าหนี้ไม่รับชําระหนี้
                   เจ้าหนี้ไม่ตกเป็นผู้ผิดนัดเพราะบุคคลภายนอกไม่ใช่ลูกหนี้ ดังนั้น เจ้าหนี้ไม่จําต้องรับชําระ

                    2. หากลูกหนี้ร่วมคนหนึ่งขอปฏิบัติการชําระหนี้ เจ้าหนี้ไม่ยอมรับชําระหนี้
                                 (ก)  เจ้าหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัดเฉพาะลูกหนี้ร่วมรายนั้น ตามมาตรา 207
                                 (ข)  ส่วนลูกหนี้ร่วมรายอื่นได้รับประโยชน์ตามมาตรา 294
                                 (ค)  หากผู้ค้ําประกันเป็นผู้ขอชําระหนี้ เจ้าหนี้ไม่รับ ผู้ค้ําฯ หลุดพ้นความรับผิดตาม

                   มาตรา 701 (คําพิพากษาฎีกาที่ 4479/2550)





                                                             35
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40