Page 22 -
P. 22

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี





                   3. ผลแห่งหนี้




                          ผลแห่งหนี้โดยทั่วไป
                     - เมื่อหนี้ถึงกําหนดชําระและลูกหนี้ละเลยไม่ชําระหนี้

                      - เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ชําระหนี้ ตามมาตรา 194
                      - เจ้าหนี้มีสิทธิบังคับชําระหนี้ ตามมาตรา 213
                                 - กองทรัพย์สินของลูกหนี้เป็นหลักประกันการชําระหนี้ทั้งปวงของเจ้าหนี้ ตาม มาตรา
                   214 หรือกล่าวได้ว่า เจ้าหนี้มี “บุคคลสิทธิ” เหนือทรัพย์สินของลูกหนี้นั่นเอง

                          ผลแห่งหนี้ในประการอื่นๆ  มีหลายประการ เช่น รับช่วงสิทธิ การใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้
                   การเพิกถอนการฉ้อฉล เป็นต้น ซึ่งจะได้อธิบายในลําดับต่อไป

                          3.1 การไม่ช าระหนี้ อาจแยกพิจารณาเป็นกรณีดังต่อไปนี้

                          3.1.1 การชําระหนี้ที่เป็นไปไม่ได้  :  การชําระหนี้เป็นพ้นวิสัย เช่น ของที่ยืมมาสูญสลายหายไป
                   แล้ว เป็นต้น ทั้งนี้ อาจเป็นการพ้นวิสัยทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก็ได้ (คําพิพากษาฎีกาที่ 3939/2533)
                          3.1.2 การชําระหนี้ล่าช้า เช่น ไม่ชําระหนี้ตามกําหนดเวลาชําระหนี้ เป็นต้น

                          3.1.3 การชําระหนี้ไม่ถูกต้อง เช่น ชําระหนี้เป็นทรัพย์สินแทนเงิน เป็นต้น

                          3.2 การช าระหนี้เป็นพ้นวิสัย
                          3.2.1 เวลาที่เกิดเหตุพ้นวิสัย
                          (1)    การพ้นวิสัยที่มีมาก่อนหรือในขณะท าสัญญา

                    มาตรา  150        “การใดมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้ง โดยกฎหมายเป็นการพ้นวิสัยหรือ
                   เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การนั้นเป็นโมฆะ”
                    เมื่อสัญญาไม่ก่อให้เกิดหนี้ ก็ไม่จําต้องพิจารณาประเด็นการชําระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัย


                          (2) การพ้นวิสัยภายหลังที่เกิดหนี้แล้ว
                    คําพิพากษาฎีกาที่ 7185/2540 ขณะทําสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทสามารถโอนกรรมสิทธิ์
                   กันได้ เพียงแต่กรมที่ดินให้หมายเหตุไว้ในบัญชีอายัดและกลัดติดกับโฉนดว่า  “เมื่อมีผู้มาขอจดทะเบียน

                   เกี่ยวกับที่ดินแปลงนี้ ให้แจ้งคู่กรณีทราบว่ากองทัพบกอ้างว่าเป็นสนามบินอันเป็นสาธารณสมบัติของ
                   แผ่นดิน หากเป็นจริง ผู้รับโอนย่อมไม่ได้สิทธิในที่ดินแต่อย่างใด ถ้าคู่กรณีทราบแล้วประสงค์จะให้จด
                   ทะเบียนก็ให้บันทึกถ้อยคําไว้แล้วดําเนินการจดทะเบียนต่อไปได้  ” ดังนั้น ในขณะทําสัญญาฯ วัตถุที่
                   ประสงค์ของสัญญามิได้เป็นการพ้นวิสัยตามมาตรา 150 จึงมีผลใช้บังคับระหว่าง โจทก์และ จําเลยซึ่ง

                   เป็นคู่สัญญา
                          อย่างไรก็ตาม หนี้เงินย่อมไม่มีทางกลายเป็นพ้นวิสัย ด้วยสามารถใช้เงินอื่นใด เช่น สกุลเดียวกัน
                   แต่ละคนฉบับ หรือคนละสกุล มาชําระหนี้แทนได้ เป็นต้น
                          ในกรณีจะได้ศึกษาการชําระหนี้ที่เป็นพ้นวิสัยทั้งกรณีที่เป็นความผิดและมิใช่ความผิดของลูกหนี้

                   ตามมาตรา 218 – 219 ต่อไป





                                                             22
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27