Page 20 -
P. 20
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
อัตราแลกเปลี่ยน ศาลฎีกาให้ถือตามอัตราแลกเปลี่ยนเสรี (ของธนาคารพาณิชย์) ไม่ใช่อัตราของ
ทางราชการ ดังนั้น อัตราแลกเปลี่ยนในตลาดมืดย่อมอ้างไม่ได้ (โปรดดูคําพิพากษาฎีกาที่ 3352/2529
939/2537 4609/2540 และ 2886/2545)
คําพิพากษาฎีกาที่ 4609/2540 อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตาม ป.พ.พ. มาตรา 196 วรรคสอง
หมายถึงอัตราที่จะแลกเปลี่ยนกันได้โดยเสรีในเวลาที่ จําเลยได้ใช้เงินจริง ซึ่งตามปกติจะคิดตามอัตรา
แลกเปลี่ยนเงินโดยเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ที่ทําการขายเงินตราต่างประเทศใน กทมาตรา เป็นเกณฑ์ แต่
เพื่อความสะดวกในการบังคับคดีศาลให้คิดในวันที่อ่านคําพิพากษาของศาล ถ้าไม่มีอัตราการขายในวัน
นั้น ก็ให้ถือเอาวันสุดท้ายที่มีอัตราการขายเช่นว่านั้นก่อนมีคําพิพากษาแต่ไม่เกินอัตราแลกเปลี่ยนตามคํา
ขอของโจทก์
อย่างไรก็ตาม ภายหลัง ศาลฎีกาได้วินิจฉัยกลับแนวคําพิพากษาเดิม กล่าวคือ มิได้ระบุอัตรา
แลกเปลี่ยนในคําพิพากษา และปล่อยให้คิดตามอัตราในวันที่มีการชําระหนี้จริง เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา
196 วรรคสอง และปูองกันมิให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบในเรื่องนี้ (โปรดดูคําพิพากษาฎีกาที่
1916/2544 2669/2544 1334/2545 1933/2545 (ปช))
การเรียกค่าเสียหายอันเนื่องมาจากอัตราแลกเปลี่ยน
กรณีการซื้อขายระหว่างประเทศ ผู้ขายอาจเรียกค่าเสียหายกรณีผู้ซื้อไม่ชําระราคา เนื่องจากค่า
ของเงินบาทลดลง ศาลฎีกาถือว่าเป็น “ค่าเสียหายกรณีพิเศษ” ถ้าคาดหมายได้ล่วงหน้าก็ต้องรับผิด ตาม
มาตรา 222 วรรคสอง (โปรดดูคําพิพากษาฎีกาที่ 1310/2480 และ 847/2521)
หนี้เงินที่เป็นเงินตราชนิดเลิกใช้แล้ว
มาตรา 197 “ถ้าหนี้เงินจะพึงส่งใช้ด้วยเงินตราชนิดหนึ่งชนิดใดโดยเฉพาะอันเป็นชนิดที่ยกเลิก
ไม่ใช้กันแล้วในเวลาที่จะต้องส่งเงินใช้หนี้นั้นไซร้ การส่งใช้เงินท่านให้ถือเสมือนหนึ่งว่ามิได้ระบุให้ใช้เป็น
เงินตราชนิดนั้น”
ดังนั้น ต้องใช้เงินตราที่ใช้อยู่ จะนํามาอ้างว่าการชําระหนี้เป็นพ้นวิสัยหรือทําให้หนี้ระงับไม่ได้
เป็นหลักปูองกันมิให้ลูกหนี้หนีหนี้นั่นเอง
2.4 วัตถุแห่งหนี้ซึ่งเลือกได้
หลักเกณฑ์ของวัตถุแห่งหนี้ซึ่งเลือกได้
มาตรา 198 “ถ้าการอันมีก าหนดพึงกระท าเพื่อช าระหนี้มีหลายอย่าง แต่จะต้องกระท าเพียง
การใดการหนึ่งแต่อย่างเดียวไซร้ ท่านว่าสิทธิที่จะเลือกท าการอย่างใดนั้นตกอยู่แก่ฝ่ายลูกหนี้ เว้นแต่จะ
ได้ตกลงกันก าหนดไว้เป็นอย่างอื่น”
กรณีที่ไม่ตกอยู่ภายใต้มาตรา 198 ได้แก่
1. กรณีลูกหนี้ต้องชําระหนี้ทุกอย่าง
2. การชําระหนี้หลายอย่างตามลําดับ ต้องเป็นไปตามลําดับ เลือกไม่ได้ ส่วนมากเป็นเรื่องหนี้
ตามคําพิพากษา (โปรดดูคําพิพากษาฎีกาที่ 1988/2522 484/2525 7824/2538 และ 6404/2540)
3. กรณีตกลงไว้ว่าถ้าไม่ทําการชําระหนี้จะต้องเสียค่าปรับหรือเบี้ยปรับตามมาตรา 380-381
เป็นการเลือกตามมาตรา 198 หรือไม่
คําพิพากษาฎีกาที่ 1988/2522 ศาลพิพากษาว่าให้จําเลยแบ่งที่ดินมรดกแก่โจทก์ทั้งสามคน
คนละ 1 ใน 4 ส่วน หรือห้ําจําเลยชําระเงินค่าที่ดินแก่โจทก์ส่วนละ 1,250 บาท หรือมิฉะนั้นให้ขายที่ดิน
20